Transformative Learning เรียนรู้จากอาจารย์ณัฐฬส วังวิญญู (กิจกรรมผู้นำสี่ทิศ)
วันที่ ๓๑ กรกฎาคม - ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไป จัดอบรมพัฒนาอาจารย์ด้าน Transformative Learning ต่อเนื่องจาก ๒ เดือนก่อนที่มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ (อ่านได้ที่นี่) วิชานี้ควรจะมีอาจารย์ผู้สอน ๕๐ ท่าน เพื่อเปิดสอนภาคการเรียนละ ๕๐ กลุ่มการเรียน ๆ ละ ๑๐๐ ที่นั่งเรียน นิสิตทุกคนได้เรียนรู้โลกภายในของตนเอง ปัจจุบันมีอาจารย์ผู้สนใจมาร่วมสอนเพียง ๑๔ ท่านเท่านั้น ... ขอนำเอาเรื่องราวความพยายามในการขยายผลมาแบ่งปันในบันทึกนี้ครับ
น้องทีมงาน ประชาสัมพันธ์โครงการไปทุกช่องทาง ทางเว็บไซต์ ฝากประชาสัมพันธ์ทางจอแอลอีดีสี่แยก (LED Screen ใกล้ไฟแดง) ช้าเร็วแตกต่างไปตามแต่ใจคนมอง แต่สำคัญสุดเราส่งตรงถึงไลน์กลุ่มอาจารย์จีอี ตั้งแต่วันท่ ๔ เดือนกรกฎาคมแล้ว มีอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยผู้สนใจ ๓๐ ท่าน ยืนยันผ่านเว็บไซต์ ถึงเวลาติดภารกิจจำเป็น มีอาจารย์มาร่วมจริงทั้งหมด ๑๘ ท่าน ได้แก่ อ.ธวัช ชินราศรี อ.มลฤดี เชาวรัตน์ อ.สุมลวรรณ ชุ่มเชื้อ อ.อินอร เลียวประเสริฐกุล อ.คันธพร ช่างประเสริฐ อ.ประไพรัตน์ สีพลไกร อ.ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ อ.สุรเชต น้อยฤทธิ์ อ.นาถชุดา สีทองเพีย อ.ปิณฑิรา เที่ยงเธียรธรรม อ.พงษ์ปรีชา มาลาเหลือง อ.กันตา วิลาชัย อ.กฤษกร อ่อนละมุน อ.นพคุณ ภักดีณรงค์ อ.อัญญารัตน์ นาถธีระพงษ์ อ.อัมพิกา ภัทรพงศานดิ์ อ.พยอม สุขเอนกนันท์ และ อ.ฤทธิไกร ไชยงาม ในจำนวนนี้เป็นอาจารย์ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ถึง ๑๑ ท่าน ส่วนอาจารย์อีก ๗ ท่าน มารับความรู้ต่อเนื่องจากเวทีก่อน นอกจากนี้ยังมีบุคลากรที่สนใจจากกองกิจการนิสิตมาร่วม ๓ ท่าน คุณพัชรากร ภูมิพฤกษ์ คุณณัฐภูมินทร์ ภูครองผา และนางสาวพรวิจิตร ศรีชื่น รวมกับบุคลากรของสำนักศึกษาทั่วไปอีก ๗ ท่าน รวมทั้งสิ้น ๒๘ คน... ผมเห็นการออกแบบกระบวนการสด ๆ ของ อ.ณัฐฬส สำหรับผู้เรียนแตกต่างเก่าใหม่ ท่านทำได้ไหลลื่นและตื่นตัวได้ตลอดกระบวนการ เห็นตัวอย่างและได้ประสบการณ์งานกระบวนกรยิ่ง
ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีประทีป ผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา Transformative Learning ในมหาวิทยาลัย ไว้ตรงนี้ครับ
ผมรู้สึกได้เติมความรู้ใหม่จากหลาย ๆ กิจกรรม และผมได้ลองนำมาปรับใช้ในการสอนแล้ว ๒ กิจกรรมคือ กิจกรรมผู้นำสี่ทิศและกิจกรรมโค้ชด้วยการ์ดความรู้สึก กิจกรรมหลังผมพลาดเวลาไปเกือบทั้งหมด วันหลังมีโอกาสจะมาสรุปบันทึกไว้แน่ แต่วันนี้ขอแบ่งปันเทคนิคการทำกิจกรรมผู้นำสี่ทิศเท่านั้น
ผมเรียนรู้กิจกรรมนี้ครั้งแรกจากการพี่ๆ อาจารย์ในทีมนานแล้ว เคยนำไปปรับใช้กับการขับเคลื่อนชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์และเคยเขียนไว้ที่นี่ และได้นำกิจกรรมผู้นำสี่ทิศมาใช้กับการขับเคลื่อนนิสิตแกนนำหลากหลายโอกาส แต่ทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยได้ใช้อิทธิพลของ "ใช้เวลาที่นานพอ" ให้ผู้ร่วมกิจกรรมทำความเข้าใจตนเองได้ดีเหมือนครั้งนี้ที่ อ.ณัฐฬส มาเป็นกระบวนกร ... ผมจึงตีความว่า การลงละเอียดให้ค่อย ๆ เรียนรู้โลกภายในของตนเอง โดยใช้สุนทรียสนทนาเวลาที่นานพอ คือปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ
กระบวนการของทีม อ.ณัฐฬส น่าจะแบ่งได้เป็น ๕ ขั้นตอน (ผมแบ่งเอง) โดยยึดระดับความเข้าใจเชื่อมโยงสู่โลกภายในของผู้เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ ทุกขั้นตอนใช้สุนทรียสนทนา (Dialogue) ตลอดกระบวนการ ได้แก่ ๑) ขั้นบัญญัติสัญลักษณ์ ๒) ขั้นวิเคราะห์พฤติกรรมตนเอง ๓) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนกลุ่มเดียวกัน ๔) เรียนรู้จากความแตกต่างและตรงข้าม และ ๕) สะท้อนการเรียนรู้สู่ความนำไปใช้ แต่ละขั้นท่านนำดังสังเขปนี้ครับ
ศาสตร์โบราณของชนเผ่าอินเดียนแดงแบ่งผู้นำประจำทิศทั้ง ๔ เหมือนสัตว์ ๔ ชนิด มีรูปธาตุประจำจิตของผู้นำแต่ละชนิด มีผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมาย เช่น ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่
๑) ขั้นบัญญัติสัญลักษณ์
บอกเรื่องราวอุปนิสัยของคนในแต่ละทิศสลับกับการตั้งคำถามให้คิดเชื่อมโยงกับโลกภายในของตนเอง โดยเขียนรูปและข้อความลงกระดาษชาร์ทดังรูป
ผมสรุปเป็นภาพรวมไว้ เผื่ออาจารย์ผู้สอนจะนำไปทำสไลด์สอนครับ (Cr. ทีมจากสถาบันขวัญแผ่นดินครับ)
๒) วิเคราะห์เปรียบเทียบกับพฤติกรรมตนเอง
พร้อม ๆ กับการเล่าบัญญัติเชื่อมโยงลักษณะพฤติกรรมของสัตว์ประจำแต่ละทิศ กระบวนกรจะตั้งคำถามให้ผู้ฟังได้เชื่อมโยงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตนกับพฤติกรรมของคนประจำแต่ละทิศและเปรียบเทียบกันกับพฤติกรรมของทิศตรงข้าม ... ผมชอบมากตอนที่ท่านเล่าพฤติกรรมของสัตว์นั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงกับผู้ฟังด้วยคำถาม
การไปจ่ายตลาดหรือซื้อของในห้างสรรพสินค้า สามารถบอกพฤติกรรมของคนสี่ประเภทนี้ได้ชัดเจนมาก หมีจะวางแผนไว้ในลิสท์ซื้อของ และคำนวณความคุ้มค่าอย่างละเอียดก่อนจะตัดสินใจเลือก บางคนถึงขั้นคำนวณความยาวของกระดาษชำระต่อบาท คำนวนจำนวนบาทต่อกรัม กระทิงจะไม่ค่อยไปเที่ยวเดินเล่นซื้อของ จะซื้ออะไรก็รีบไปรีบกลับ เห็นปุ๊บจับปั๊บฉับไวไม่จุกจิก นกอินทรีย์มักเป็นประเภทไร้เป้าหมาย มองหาของใหม่ไอเดียเจ๋ง มีแผนคร่าว ๆ จะซื้ออะไร แต่มักได้ของใหม่ทันสมัยตื่นเต้นเร้าใจมาด้วย ส่วนคนแบบหนูจะเลือกเดินเน้นเพลินชอบไม่ชอบ ดูทั้งร้านไม่ตัดสินใจสักที ซื้อของนิดเดียวใช้เวลาเป็นวัน....
การบีบหลอดยาสีฟันเป็นอีกตัวอย่างที่ต่างกัน คนแบบหมีจะเรียบร้อยค่อยรีดจากท้ายหลอด หลายคนซื้อที่รีดยาสีฟันประจำหลอด บางทีคนแบบนกอินทรีย์ก็ซื้อเหมือนกันแต่ซื้อเพราะแปลกใหม่ไอเดียเลิศ ใส่ที่รีดยาสีฟันแต่ตอนบีบก็ใช้วิธีกำกลางหลอดเหมือนเดิม คนแบบกระทิงไม่สนใจ ไม่ต้องมีอะไรให้ยุ่งยาก ทำยังไงก็ได้ให้ยาออกจากหลอดเป็นใช้ได้ ส่วนพวกหนูมักไม่รู้ว่าทำไมรู้แต่ว่าใจชอบ สวย เก๋
หลังเลิกงานคนแบบนกอินทรีย์จะไปได้ทุกที่ ๆ ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่เตร็ดแตร่แต่ร่อนเร่หาแรงบันดาลใจ หนูไม่ได้คิดเองว่าจะไปไหน แต่ถ้ามีใครมาชวนจะไปด้วยโดยไม่ปฏิเสธ กระทิงจะไปทำอะไรในใจให้เสร็จไม่เสร็จไม่กลับ ส่วนคนแบบหมีต้องเป็นไปตามแผน กลับบ้านอยู่ในพื้นที่ส่วนตัว
อีกวิธีหนึ่งคือการระลึกย้อนหลังถึงคำชมคำติจากคนอื่น เรื่องเล่าของกระทิงจะเต็มไปด้วยความสำเร็จ เรื่องเล่าของหนูอยู่ที่ความสัมพันธ์อันดี กตัญญู ความเชื่อศรัทธา เรื่องเล่าของนกอินทรีย์คือ ความสำเร็จจากไอเดียของตนเองที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนา ส่วนเรื่องเล่าของหมีคือทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยเป็นไปตามแผน
การนำเอาสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มาใคร่ครวญดู ทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะข้อบกพร่องที่ต้องพัฒนา ... ผมวาดอีกภาพด้านล่างนี้เพื่อเน้นย้ำสิ่งท่ี่จะต้องระวังและปรับปรุงตนเองเพื่อให้เป็นอิสระต่อทิศทั้ง ๔ นี้ ดังภาพครับ
๓) แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนกลุ่มเดียวกัน
ไม่น่าเชื่อว่ากระบวนการขั้น ๑) - ๒) ท่านจะใช้เวลาเป็นชั่วโมง การใคร่ครวญบ่อยซ้ำย้ำทบทวนกับกรณีต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจตนเองมาขึ้น ๆ ... ทำให้กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนทิศเดียวกัน เกิดการแบ่งปันเรียนรู้กันอย่างลุ่มลึก โดยใช้คำถามดังภาพนำอำนวยให้เกิดการสุนทรียสนทนากัน ... กิจกรรมนี้ท่านให้เวลาครึ่งเบรคบ่าย ก่อนจะแยกย้ายกันกลับ
๔) เรียนรู้จากความแตกต่างและตรงข้าม
เป็นครั้งแรกสำหรับผม สำหรับกิจกรรมผู้นำสี่ทิศที่ใช้เวลาข้ามวัน เช้าวันใหม่ ท่านให้ทีมคนแต่ละทิศเรียนรู้จากวิธีคิดที่แตกต่างกันแบบสด ๆ ให้ทิศตรงข้ามนั่งตรงข้ามกัน หันหน้าเข้าหากัน เปลี่ยนจากวิธีสุนทรียสนทนาที่ใช้ตลอดทุกกระบวนการ เป็นการโต้เถียงถกเถียงอภิปราย (Debate and Discussion) วิธีการคือ กำหนดสถานการณ์ให้ทิศหนึ่งเล่าเรื่องของตนเอง (ต่อเนื่องจากขั้นที่ ๓)) แล้วให้ทิศอื่น โดยเฉพาะทิศตรงข้าม ตั้งคำถาม โต้ตอบกันไปมา ... สนุกสนาน บันเทิง ประเทืองปัญญายิ่ง รูปด้านล่างนี้คือเหล่ากระทิงผู้นำความสำเร็จครับ
๕) สะท้อนการเรียนรู้สู่ความนำไปใช้
ประเด็นเรื่องการนำไปใช้ถูกแทรกไว้ในทุก ๆ ขั้นตอนที่ผ่านมา และแต่ละกิจกรรมย่อยที่ดำเนินไป ท่านจะให้สะท้อนการเรียนรู้และใช้คำถามขยายความรู้สู่การนำไปใช้ตลอด เช่น ถ้าหากเราเป็นลูกศิษย์เราอยากจะได้ชั้นเรียนแบบไหน สิ่งใดที่เราจะนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ฯลฯ และตอนท้ายปลายสุดของกระบวนการ จะกลับมาสะท้อนการเรียนรู้เป็นวงรวมและจบด้วยการระลึกเรียนรู้ในโลกภายในของตนเอง
...ใช่ครับ สิ่งที่สำคัญคือการนำไปใช้ โดยเฉพาะต้องไม่นำไปใช้ในการตัดสินชี้นำการกระทำของตนและคนอื่น เป้าหมายในการเรียนรู้ตนเองด้วยกิจกรรมผู้นำสี่ทิศ (หรือสัตว์สี่ทิศ หรือ กงล้อสี่ทิศ) คือ การเป็นอิสระจากการยึดติดลักษณะของสัตว์สี่ชนิดนี้ ...
ผมมีความเห็นว่า ปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไป ที่มุ่งส่งเสริมให้นิสิต "รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (มีคุณค่า)" จะสำเร็จเป็นรูปธรรมได้จริง ได้ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกิจกรรมสัตว์สี่ทิศนี้เป็นสำคัญ
ขอขอบพระคุณท่าน อ.ณัฐฬส วังวิญญู และทีมวิทยากรจากสถาบันขวัญแผ่นดิน ... สิ่งที่ได้เรียนรู้จากท่านใน ๒ วันนี้ คือวิธีการทพให้นิสิตมาสู่ "ประตูบานใหญ่" ไปสู่ประโยชน์สุขส่วนตนและส่วนรวมต่อไป
น้องทีมงาน ประชาสัมพันธ์โครงการไปทุกช่องทาง ทางเว็บไซต์ ฝากประชาสัมพันธ์ทางจอแอลอีดีสี่แยก (LED Screen ใกล้ไฟแดง) ช้าเร็วแตกต่างไปตามแต่ใจคนมอง แต่สำคัญสุดเราส่งตรงถึงไลน์กลุ่มอาจารย์จีอี ตั้งแต่วันท่ ๔ เดือนกรกฎาคมแล้ว มีอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยผู้สนใจ ๓๐ ท่าน ยืนยันผ่านเว็บไซต์ ถึงเวลาติดภารกิจจำเป็น มีอาจารย์มาร่วมจริงทั้งหมด ๑๘ ท่าน ได้แก่ อ.ธวัช ชินราศรี อ.มลฤดี เชาวรัตน์ อ.สุมลวรรณ ชุ่มเชื้อ อ.อินอร เลียวประเสริฐกุล อ.คันธพร ช่างประเสริฐ อ.ประไพรัตน์ สีพลไกร อ.ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ อ.สุรเชต น้อยฤทธิ์ อ.นาถชุดา สีทองเพีย อ.ปิณฑิรา เที่ยงเธียรธรรม อ.พงษ์ปรีชา มาลาเหลือง อ.กันตา วิลาชัย อ.กฤษกร อ่อนละมุน อ.นพคุณ ภักดีณรงค์ อ.อัญญารัตน์ นาถธีระพงษ์ อ.อัมพิกา ภัทรพงศานดิ์ อ.พยอม สุขเอนกนันท์ และ อ.ฤทธิไกร ไชยงาม ในจำนวนนี้เป็นอาจารย์ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ถึง ๑๑ ท่าน ส่วนอาจารย์อีก ๗ ท่าน มารับความรู้ต่อเนื่องจากเวทีก่อน นอกจากนี้ยังมีบุคลากรที่สนใจจากกองกิจการนิสิตมาร่วม ๓ ท่าน คุณพัชรากร ภูมิพฤกษ์ คุณณัฐภูมินทร์ ภูครองผา และนางสาวพรวิจิตร ศรีชื่น รวมกับบุคลากรของสำนักศึกษาทั่วไปอีก ๗ ท่าน รวมทั้งสิ้น ๒๘ คน... ผมเห็นการออกแบบกระบวนการสด ๆ ของ อ.ณัฐฬส สำหรับผู้เรียนแตกต่างเก่าใหม่ ท่านทำได้ไหลลื่นและตื่นตัวได้ตลอดกระบวนการ เห็นตัวอย่างและได้ประสบการณ์งานกระบวนกรยิ่ง
ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีประทีป ผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนา Transformative Learning ในมหาวิทยาลัย ไว้ตรงนี้ครับ
ผมรู้สึกได้เติมความรู้ใหม่จากหลาย ๆ กิจกรรม และผมได้ลองนำมาปรับใช้ในการสอนแล้ว ๒ กิจกรรมคือ กิจกรรมผู้นำสี่ทิศและกิจกรรมโค้ชด้วยการ์ดความรู้สึก กิจกรรมหลังผมพลาดเวลาไปเกือบทั้งหมด วันหลังมีโอกาสจะมาสรุปบันทึกไว้แน่ แต่วันนี้ขอแบ่งปันเทคนิคการทำกิจกรรมผู้นำสี่ทิศเท่านั้น
ผมเรียนรู้กิจกรรมนี้ครั้งแรกจากการพี่ๆ อาจารย์ในทีมนานแล้ว เคยนำไปปรับใช้กับการขับเคลื่อนชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์และเคยเขียนไว้ที่นี่ และได้นำกิจกรรมผู้นำสี่ทิศมาใช้กับการขับเคลื่อนนิสิตแกนนำหลากหลายโอกาส แต่ทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยได้ใช้อิทธิพลของ "ใช้เวลาที่นานพอ" ให้ผู้ร่วมกิจกรรมทำความเข้าใจตนเองได้ดีเหมือนครั้งนี้ที่ อ.ณัฐฬส มาเป็นกระบวนกร ... ผมจึงตีความว่า การลงละเอียดให้ค่อย ๆ เรียนรู้โลกภายในของตนเอง โดยใช้สุนทรียสนทนาเวลาที่นานพอ คือปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ
กระบวนการของทีม อ.ณัฐฬส น่าจะแบ่งได้เป็น ๕ ขั้นตอน (ผมแบ่งเอง) โดยยึดระดับความเข้าใจเชื่อมโยงสู่โลกภายในของผู้เข้าร่วมเป็นเกณฑ์ ทุกขั้นตอนใช้สุนทรียสนทนา (Dialogue) ตลอดกระบวนการ ได้แก่ ๑) ขั้นบัญญัติสัญลักษณ์ ๒) ขั้นวิเคราะห์พฤติกรรมตนเอง ๓) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนกลุ่มเดียวกัน ๔) เรียนรู้จากความแตกต่างและตรงข้าม และ ๕) สะท้อนการเรียนรู้สู่ความนำไปใช้ แต่ละขั้นท่านนำดังสังเขปนี้ครับ
ศาสตร์โบราณของชนเผ่าอินเดียนแดงแบ่งผู้นำประจำทิศทั้ง ๔ เหมือนสัตว์ ๔ ชนิด มีรูปธาตุประจำจิตของผู้นำแต่ละชนิด มีผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมาย เช่น ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่
๑) ขั้นบัญญัติสัญลักษณ์
บอกเรื่องราวอุปนิสัยของคนในแต่ละทิศสลับกับการตั้งคำถามให้คิดเชื่อมโยงกับโลกภายในของตนเอง โดยเขียนรูปและข้อความลงกระดาษชาร์ทดังรูป
- ทิศเหนือ เปรียบเป็นกระทิง ธาตุไฟ ใจร้อน เด่นฐานกาย เน้นใช้สมองชั้นใน เสพสุขจากความสำเร็จ
- ทิศใต เปรียบเป็นหนู ธาตุน้ำ ใจอ่อนไหวยืดหยุ่น เด่นฐานใจ สมองชั้นกลาง เสพสุขจากความสัมพันธ์ที่ดี
- ทิศตะวันออก เปรียบเป็นนกอินทรี (เหยี่ยว) ธาตุลม ใจจินตนา เด่นฐานคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้สิ่งใหม่ สมองชั้นนอกซีกขวา เสพสุขจากความแปลกใหม่-เชื่อมโยง-องค์รวม
- ทิศตะวันตก เปรียบเป็นหมี ธาตุดิน ใจหนักนิ่ง เด่นฐานคิดตรรก-เหตุผล-ขั้นตอน สมองชั้นนอกซีกซ้าย เสพสุขจากความแน่นอน-เป็นระเบียบ-สมบูรณ์แบบ
ผมสรุปเป็นภาพรวมไว้ เผื่ออาจารย์ผู้สอนจะนำไปทำสไลด์สอนครับ (Cr. ทีมจากสถาบันขวัญแผ่นดินครับ)
๒) วิเคราะห์เปรียบเทียบกับพฤติกรรมตนเอง
พร้อม ๆ กับการเล่าบัญญัติเชื่อมโยงลักษณะพฤติกรรมของสัตว์ประจำแต่ละทิศ กระบวนกรจะตั้งคำถามให้ผู้ฟังได้เชื่อมโยงพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตนกับพฤติกรรมของคนประจำแต่ละทิศและเปรียบเทียบกันกับพฤติกรรมของทิศตรงข้าม ... ผมชอบมากตอนที่ท่านเล่าพฤติกรรมของสัตว์นั้น ๆ แล้วเชื่อมโยงกับผู้ฟังด้วยคำถาม
การไปจ่ายตลาดหรือซื้อของในห้างสรรพสินค้า สามารถบอกพฤติกรรมของคนสี่ประเภทนี้ได้ชัดเจนมาก หมีจะวางแผนไว้ในลิสท์ซื้อของ และคำนวณความคุ้มค่าอย่างละเอียดก่อนจะตัดสินใจเลือก บางคนถึงขั้นคำนวณความยาวของกระดาษชำระต่อบาท คำนวนจำนวนบาทต่อกรัม กระทิงจะไม่ค่อยไปเที่ยวเดินเล่นซื้อของ จะซื้ออะไรก็รีบไปรีบกลับ เห็นปุ๊บจับปั๊บฉับไวไม่จุกจิก นกอินทรีย์มักเป็นประเภทไร้เป้าหมาย มองหาของใหม่ไอเดียเจ๋ง มีแผนคร่าว ๆ จะซื้ออะไร แต่มักได้ของใหม่ทันสมัยตื่นเต้นเร้าใจมาด้วย ส่วนคนแบบหนูจะเลือกเดินเน้นเพลินชอบไม่ชอบ ดูทั้งร้านไม่ตัดสินใจสักที ซื้อของนิดเดียวใช้เวลาเป็นวัน....
การบีบหลอดยาสีฟันเป็นอีกตัวอย่างที่ต่างกัน คนแบบหมีจะเรียบร้อยค่อยรีดจากท้ายหลอด หลายคนซื้อที่รีดยาสีฟันประจำหลอด บางทีคนแบบนกอินทรีย์ก็ซื้อเหมือนกันแต่ซื้อเพราะแปลกใหม่ไอเดียเลิศ ใส่ที่รีดยาสีฟันแต่ตอนบีบก็ใช้วิธีกำกลางหลอดเหมือนเดิม คนแบบกระทิงไม่สนใจ ไม่ต้องมีอะไรให้ยุ่งยาก ทำยังไงก็ได้ให้ยาออกจากหลอดเป็นใช้ได้ ส่วนพวกหนูมักไม่รู้ว่าทำไมรู้แต่ว่าใจชอบ สวย เก๋
หลังเลิกงานคนแบบนกอินทรีย์จะไปได้ทุกที่ ๆ ไม่ใช่บ้าน ไม่ใช่เตร็ดแตร่แต่ร่อนเร่หาแรงบันดาลใจ หนูไม่ได้คิดเองว่าจะไปไหน แต่ถ้ามีใครมาชวนจะไปด้วยโดยไม่ปฏิเสธ กระทิงจะไปทำอะไรในใจให้เสร็จไม่เสร็จไม่กลับ ส่วนคนแบบหมีต้องเป็นไปตามแผน กลับบ้านอยู่ในพื้นที่ส่วนตัว
อีกวิธีหนึ่งคือการระลึกย้อนหลังถึงคำชมคำติจากคนอื่น เรื่องเล่าของกระทิงจะเต็มไปด้วยความสำเร็จ เรื่องเล่าของหนูอยู่ที่ความสัมพันธ์อันดี กตัญญู ความเชื่อศรัทธา เรื่องเล่าของนกอินทรีย์คือ ความสำเร็จจากไอเดียของตนเองที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงพัฒนา ส่วนเรื่องเล่าของหมีคือทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยเป็นไปตามแผน
การนำเอาสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มาใคร่ครวญดู ทำให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะข้อบกพร่องที่ต้องพัฒนา ... ผมวาดอีกภาพด้านล่างนี้เพื่อเน้นย้ำสิ่งท่ี่จะต้องระวังและปรับปรุงตนเองเพื่อให้เป็นอิสระต่อทิศทั้ง ๔ นี้ ดังภาพครับ
ไม่น่าเชื่อว่ากระบวนการขั้น ๑) - ๒) ท่านจะใช้เวลาเป็นชั่วโมง การใคร่ครวญบ่อยซ้ำย้ำทบทวนกับกรณีต่าง ๆ ทำให้เราเข้าใจตนเองมาขึ้น ๆ ... ทำให้กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนทิศเดียวกัน เกิดการแบ่งปันเรียนรู้กันอย่างลุ่มลึก โดยใช้คำถามดังภาพนำอำนวยให้เกิดการสุนทรียสนทนากัน ... กิจกรรมนี้ท่านให้เวลาครึ่งเบรคบ่าย ก่อนจะแยกย้ายกันกลับ
๔) เรียนรู้จากความแตกต่างและตรงข้าม
เป็นครั้งแรกสำหรับผม สำหรับกิจกรรมผู้นำสี่ทิศที่ใช้เวลาข้ามวัน เช้าวันใหม่ ท่านให้ทีมคนแต่ละทิศเรียนรู้จากวิธีคิดที่แตกต่างกันแบบสด ๆ ให้ทิศตรงข้ามนั่งตรงข้ามกัน หันหน้าเข้าหากัน เปลี่ยนจากวิธีสุนทรียสนทนาที่ใช้ตลอดทุกกระบวนการ เป็นการโต้เถียงถกเถียงอภิปราย (Debate and Discussion) วิธีการคือ กำหนดสถานการณ์ให้ทิศหนึ่งเล่าเรื่องของตนเอง (ต่อเนื่องจากขั้นที่ ๓)) แล้วให้ทิศอื่น โดยเฉพาะทิศตรงข้าม ตั้งคำถาม โต้ตอบกันไปมา ... สนุกสนาน บันเทิง ประเทืองปัญญายิ่ง รูปด้านล่างนี้คือเหล่ากระทิงผู้นำความสำเร็จครับ
๕) สะท้อนการเรียนรู้สู่ความนำไปใช้
ประเด็นเรื่องการนำไปใช้ถูกแทรกไว้ในทุก ๆ ขั้นตอนที่ผ่านมา และแต่ละกิจกรรมย่อยที่ดำเนินไป ท่านจะให้สะท้อนการเรียนรู้และใช้คำถามขยายความรู้สู่การนำไปใช้ตลอด เช่น ถ้าหากเราเป็นลูกศิษย์เราอยากจะได้ชั้นเรียนแบบไหน สิ่งใดที่เราจะนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ฯลฯ และตอนท้ายปลายสุดของกระบวนการ จะกลับมาสะท้อนการเรียนรู้เป็นวงรวมและจบด้วยการระลึกเรียนรู้ในโลกภายในของตนเอง
...ใช่ครับ สิ่งที่สำคัญคือการนำไปใช้ โดยเฉพาะต้องไม่นำไปใช้ในการตัดสินชี้นำการกระทำของตนและคนอื่น เป้าหมายในการเรียนรู้ตนเองด้วยกิจกรรมผู้นำสี่ทิศ (หรือสัตว์สี่ทิศ หรือ กงล้อสี่ทิศ) คือ การเป็นอิสระจากการยึดติดลักษณะของสัตว์สี่ชนิดนี้ ...
ผมมีความเห็นว่า ปรัชญาของสำนักศึกษาทั่วไป ที่มุ่งส่งเสริมให้นิสิต "รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (มีคุณค่า)" จะสำเร็จเป็นรูปธรรมได้จริง ได้ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกิจกรรมสัตว์สี่ทิศนี้เป็นสำคัญ
ขอขอบพระคุณท่าน อ.ณัฐฬส วังวิญญู และทีมวิทยากรจากสถาบันขวัญแผ่นดิน ... สิ่งที่ได้เรียนรู้จากท่านใน ๒ วันนี้ คือวิธีการทพให้นิสิตมาสู่ "ประตูบานใหญ่" ไปสู่ประโยชน์สุขส่วนตนและส่วนรวมต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น