บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

SEEN อีสาน _๑๐ : "๔ มิติ จะเริ่มตรงไหน" คำถามจากนักเรียนแกนนำ ร.ร.บรบือ

รูปภาพ
วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ผมแบ่งเวลาไปช่วย โรงเรียนบรบือ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ตามคำชวนเชิญของรอง ผอ.จำรัส หรรษาวงศ์ เนื่องจากเวลามีเพียง ๑ ชั่วโมงครึ่ง ผมจึงใช้วิธีการประเมินความไม่รู้ เพื่อนำมาสู่การอธิบายให้คลายความสงสัย ... ผม AAR ว่าได้ผลมากครับ จึงนำมาแบ่งปันแลกเปลี่ยน ประเมินความไม่รู้ด้วยตนเอง  ให้นักเรียนหลับตา ยกมือ ชูกำปั้น  แล้วถามคำถามประเมิน ๕ ระดับ ให้ตอบด้วยการชูนิ้ว ถ้าไม่เข้าใจให้ชูกำปั้นไว้แทนศูนย์ เข้าใจบ้างชู ๑ นิ้ว เข้าใจปานกลางชู ๒ นิ้ว เข้าใจดีชู ๓ นิ้ว  เข้าใจดีมากชู ๔ นิ้ว และเข้าใจดีเยี่ยมชู ๕ นิ้ว ใช้คำถามง่าย ๆ ความจำเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนทุกคนเข้าใจและให้ความร่วมมือ  ผมถามว่า "ใครสามารบอกได้ว่า ๒ เงื่อนไข ๓ ห่วง ๔ มิติ คืออะไรบ้าง ?  ผลปรากฎว่านักเรียนยกกัน ๕ นิ้วเกือบทุกคน แสดงว่าเข้าใจกติกา ผมไม่แปลกใจเพราะเป็นนักเรียนแกนนำที่ท่านรองผอ.จำรัส ขับเคลื่อนฯ มาแล้วอย่างต่อเนื่อง คำถามประเมินความไม่รู้คือ "นักเรียนเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับใด?" ผลปรากฎว่ามีนิ้วที่หาย

Transformative Learning เรียนรู้จากอาจารย์ณัฐฬส วังวิญญู (กิจกรรมผู้นำสี่ทิศ)

รูปภาพ
วันที่ ๓๑ กรกฎาคม - ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไป จัดอบรมพัฒนาอาจารย์ด้าน Transformative Learning ต่อเนื่องจาก ๒ เดือนก่อนที่มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ (อ่านได้ ที่นี่ ) วิชานี้ควรจะมีอาจารย์ผู้สอน ๕๐ ท่าน เพื่อเปิดสอนภาคการเรียนละ ๕๐ กลุ่มการเรียน  ๆ ละ ๑๐๐ ที่นั่งเรียน นิสิตทุกคนได้เรียนรู้โลกภายในของตนเอง ปัจจุบันมีอาจารย์ผู้สนใจมาร่วมสอนเพียง ๑๔ ท่านเท่านั้น ... ขอนำเอาเรื่องราวความพยายามในการขยายผลมาแบ่งปันในบันทึกนี้ครับ น้องทีมงาน ประชาสัมพันธ์โครงการไปทุกช่องทาง ทางเว็บไซต์ ฝากประชาสัมพันธ์ทางจอแอลอีดีสี่แยก (LED Screen ใกล้ไฟแดง) ช้าเร็วแตกต่างไปตามแต่ใจคนมอง แต่สำคัญสุดเราส่งตรงถึงไลน์กลุ่มอาจารย์จีอี ตั้งแต่วันท่ ๔ เดือนกรกฎาคมแล้ว มีอาจารย์และบุคลากรมหาวิทยาลัยผู้สนใจ ๓๐ ท่าน ยืนยันผ่านเว็บไซต์ ถึงเวลาติดภารกิจจำเป็น มีอาจารย์มาร่วมจริงทั้งหมด ๑๘ ท่าน ได้แก่ อ.ธวัช ชินราศรี อ.มลฤดี เชาวรัตน์ อ.สุมลวรรณ ชุ่มเชื้อ อ.อินอร เลียวประเสริฐกุล อ.คันธพร ช่างประเสริฐ อ.ประไพรัตน์ สีพลไกร อ.ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ อ.สุรเชต น้อยฤทธิ์ อ.นาถชุดา ส

Transformative Learning : เรียนรู้จากอาจารย์ณัฐฬส วังวิญญู

รูปภาพ
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไป จัดเวทีอบรมพัฒนาอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ผู้สนใจใน Transformative Learning (การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง) มีอาจารย์เข้าร่วมทั้งสิ้น ๑๕ ท่าน บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป ๕ ท่าน ทีมวิทยากร ๓ ท่าน รวม ๒๓ คนผู้สนใจมาเรียนรู้ร่วมกัน ผมเข้าใจ(มั่นใจ)ว่า สิ่งที่เรากำลังทำนี้คือปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นปฏิรูปการศึกษาในมหาวิทยาลัย Transformative Learning คือชื่อใหม่หลังจากใช้คำว่า "จิตตปัญญาศึกษา" ที่กลายมาเป็นเหมือนลัทธิใหม่ในความเห็นของอาจารย์ทั่วไป... แต่ผู้ใหญ่อย่างท่านหมอประเวศ วะสี ท่านยังคงใช้และเสนอให้ "จิตตปัญญาศึกษา" เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องทำในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ (ผมสรุปสิ่งที่ท่านเสนอไว้ ที่นี่ ) การสร้างเสริมให้นิสิตที่เป็น "คนที่สมบูรณ์" ทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก ตามเจตนาของการศึกษาทั่วไปนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำเอา "จิตตปัญญาศึกษา" มาเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้นิสิตรู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมี

ครูเพื่อศิษย์อีสานดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๐

รูปภาพ
ในวันคล้ายวันสถาปนาสำนักศึกษาทั่วไป CADL สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะมอบโล่รางวัล "ครูเพื่อศิษย์อีสานดีเด่น" เป็นประจำทุกปี (จริง ๆ ต้องวงเล็บด้วยว่า (มหาสารคาม) เพราะที่ผ่านมายังไม่สามารถจะขยายกระจายไปพื้นที่จังหวัดอื่นได้) ปีนี้เรามอบรางวัลนี้แด่ครูเพื่อศิษย์อีสานสองท่านได้แก่ คุณครูจิตลัดดา ภวภูตานนท์ และ คุณครูจันทร์ เทียงดาห์  ขอบันทึกไว้เชิญชูเกียรติคุณของท่านทั้งสองสำหรับคุณความดีที่ท่านได้ทำแล้วเพื่อศิษย์ตลอดมา คุณครูจิตลัดดา ภวภูตานนท์ ประจำอยู่ที่โรงเรียนบ้านเก่าน้อยหนองเส็งหินลาด ต.แวงน่าง อ.เมือง จังหวัดมหาสารคาม  เป็นครูเพื่อศิษย์ที่สอนคนสอนชีวิตอย่างแท้จริง รูปแบบการสอนอย่างหนึ่งของท่านที่สมควรได้รับการขยายผลไปในพื้นที่ คือ "การสอนแบบเน้นนักเรียนรายบุคคลเป็นศูนย์กลาง" ท่าน ศน.สุรัมภา เพ็ชรกองกุล ให้คำนิยามที่ชัดเจนมากว่า การสอนของครูจิตลัดดา คือ "การสอนด้วยการให้เด็กเผชิญปัญหาด้วยตนเอง" ด้วยกระบวนการ ๖ ขั้น อ่านประสบการณ์และความสำเร็จที่เราเคยถอดบทเรียนท่านไว้ได้ ที่นี่ ครับ คุณครูจันทร์เพ็ญ เทียงดาห์  ประจำอยู่ที่โร

ครูเพื่อศิษย์อีสาน ดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๙

รูปภาพ
กราบขออภัยที่ผมเขียนบันทึกนี้ช้าไป ๑ ปี  วันที่ ๒๖ ก.ย. ๒๕๕๙ ของปีที่แล้ว CADL สำนักศึกษาทั่วไปได้มอบโล่เชิญชูเกียรติแด่ครูเพื่อศิษย์อีสาน ๕ ท่าน ได้แก่ ๑) คุณครูคเณศ ดวงเพียราช  ๒) ครูภาวนาดวงเพียราช และ ๓) ครูสุรียนต์ ฉิมพลี ๔) ครูสุกัญญา มะลิวัลย์ (อ่าน ที่นี่ ) และ ๕) ครูจิรนันท์ จันทยุทธ (อ่าน ที่นี่ ) ...  เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักศึกษาทั่วไป ผมได้แบ่งปันและประกาศคุณความดีท่านทั้งสามแล้วผ่านเฟสบุ๊ค  แต่เมื่อระลึกถึงที่ไรก็ให้รู้สึกคาใจทุกที วันนี้ขอนำเรื่องของทั้ง ๕ ท่านมาแบ่งปันบันทึกให้เป็นประโยชน์ต่อไป ครูคเณศ ดวงเพียรราช โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม   (ครูน้อย) กับวิธีสอนให้เกิดความกล้า อ่านรายละเอียดได้ ที่นี่ ครับ คุณครูภาวนา ดวงเพียราช ครูสอนปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ศรี สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กับรูปแบบการสอนแบบปลาดาว ที่คุณอาริษา (ก้อย) เคยถอดบทเรียนไว้ดังรูป เมื่อคิดถึงวิธีครูปุ๊กทีไร เรื่องการสอนเด็กอนุบาลโดยการเฝ้ามองการเติบโตของยุงจะผุดในหัวผมทันที  ผมเสนอว่าการสอนแบบนี้ควรบรรจุเข้าไปในหลักสูตรให้ครูทั้งประเทศทำ

สรุป "ปฏิรูปการศึกษา ๒๕๖๐ โดย ประเวศ วะสี"

รูปภาพ
การอ่านเอกสารเผยแพร่ที่ นพ.วิจารณ์ แชร์มาทาง บันทึกนี้  ผมเข้าใจว่าครูไม่มีเวลามากนักที่จะอ่านและทำความเข้าใจ จึงวาดเป็นรูปสรุปให้สั้น เพื่อแบ่งปันสิ่งสำคัญนี้ออกไป ท่านเขียนบอก ๓ ประเด็นว่า ๑) อะไรคือรากฐานของวิกฤตการศึกษา ๒) จะต้องปฏิรูปอะไร? และ ๓) จะปฏิรูปอย่างไร  ผมตีความเทียบกับ "ภูเขาไฟในมหาสมุทร" ดังรูป ผมจับเอาคำในเอกสารที่ท่านเผยแพร่ พยายามตีความคำว่า "วิกฤตการศึกษา" ในความหมายของท่านหมายถึงอะไร ? ได้ความเป็นอักฤษสี่ดำในรูป  และใช้ตัวอักษรสีน้ำเงินสื่อถึงส่วนที่เป็นกลางน้ำของปัญหาวิกฤตด้านการศึกษา และใช้ตัวอักษรสีแดง แสดงรากฐานของวิกฤตการศึกษา ท่านบอกว่า รากฐานของวิกฤต คือ ๑) การไม่พึ่งตนเองด้านการศึกษา การศึกษาไทยที่เริ่มตั้งแต่สมัย ร.๕ แม้ว่าตอนนั้นจะจำเป็นและเหมาะสม แต่ตอนนี้ต้องปฏิรูป  ท่านอธิบายการศึกษาไทยสมัยนั้นว่า เป็นการต่อท่อความรู้จากยุโรปมาที่ประเทศไทย ผลคือทำให้เราค่อยลืมรากเหง้าภูมิปัญญาของตนเอง (Cr. เอกสารเผยแพร่ นพ.ประเวศ วะสี คลิก ที่นี่ )  ๒) ระบบการศึกษาปัจจุบันเป็นระบบควบคุมซึ่งขัดแย้งกับธรรมชาติของการศึกษา ที่เป็นควา

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๓๐๐๒ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ _ ๐๑ แนวทางการปรับปรุงเอกสารประกอบการสอน

รูปภาพ
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๐  สำนักศึกษาทั่วไปร่วมกับ ผศ.ดร.อาจินต์ ไพรีรณ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๒ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ จัดประชุมอาจารย์ผู้สอน เพื่อรับฟังคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิหลัก ศาสตราจารย์ปรีชา ประเทพา และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเอกสารประกอบการสอน สำหรับปีการศึกษาที่ ๑/๒๕๖๐ เป็นต้นไป ผมเป็นตัวแทนสำนักศึกษาทั่วไป ทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้การประชุมแลกเปลี่ยนฯ เป็นไปอย่างสะดวก เช่นเดียวกับรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๓ (อ่าน ที่นี่ ) ผมมีความรู้สึกว่าตนเองได้เรียนรู้มากขึ้น เกิดไอเดียใหม่ในหัวเป็นระยะ ...  ผมสังเคราะห์แนวทางการเขียนเอกสารประกอบการสอนไว้ในผังด้านล่างนี้ ขออธิบายพอสังเขป ดังนี้ครับ บทที่ ๑ ให้เขียนให้เห็นที่มาและความสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  อ่านแล้วได้ความคิดรวบยอดจากวิทยาศาสตร์ไปสู่เทคโนโลยี โดยเน้นที่วิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โปรยให้เห็นความทันสมัยและนวัตกรรม (ใหม่) ในยุคโลกาภิวัตน์ และเห็นอิทธิพลต่อชีวิตของมนุษย์ เห็นภาพรวมของทุกบทในเอกสาร เน้นวิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิด

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๓๐๐๓ ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น _ ๐๑

รูปภาพ
วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา สำนักศึกษาทั่วไปร่วมกับอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๓ ทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผศ.ดร.สุดารัตน์ ถนนเก้ว จัดประชุมอาจารย์ผู้สอนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับทราบแนวทางการพัฒนาเอกสารประกอบการสอนของรายวิชาฯ สำหรับใช้ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ ผมทำหน้าที่เป็นทั้งคุณเอื้อและคุณอำนวยในการเรียนรู้ ผมรู้สึกเหมือนได้อ่านหนังตำราหลายเล่ม นี่คือประโยชน์อันยิ่งของการฟังบัณฑิต ฟังปราชญ์  ... ผมหมายถึง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา ท่านเป็นวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิหลัก นำพาเราพัฒนาปรับปรุงเอกสารนี้   ผมสรุปทุกอย่างไว้ในชาร์ทเดียวดังรูปครับ ขออธิบายเน้นประเด็นเด่น ๆ ดังนี้ครับ สาระหลักของการปรับปรุงเอกสาร คือ  ปรับให้คำว่า "ทรัพยากรธรรมชาติ" และคำว่า "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" เกี่ยวข้องเป็นคำเดียวกัน  เน้นว่าต้องเกี่ยวข้องกัน Must be Related  ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่มากมาย ไม่สามารถจะนำสอนได้หมด จะเลือกเอาทรัพยากรธรรมชาติอะไร ? คำตอบคือ ให้เลือกเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นภูมิปัญญาก็มีอยู่มากมาย ไม

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๓ : โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์โมเดล

รูปภาพ
วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐  ผมลาป่วย แต่ก็ยังไปทำงานตามอุดมการณ์ด้านการศึกษา ด้วยเพราะรับปากท่าน ผอ.อำนาจ โพธิ์ศรี โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ไว้ตั้งแต่คราวไปช่วย ศน.เทวา ขับเคลื่อน PLC อบจ. ขอนแก่น (ผมบันทึกไว้ ที่นี่  ) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครั้งนั้น ผอ.อำนาจ ได้เล่าถึงประสบการณ์การทำ PLC ในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และนำเอา Lesson Study มาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในแต่ละกลุ่มสาระ แสดงบนพื้นที่พื้นหลังสีฟ้าอ่อนในผังนี้ เมื่อได้ไปสัมผัสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูอาจารย์โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ พบว่า ท่านไม่ได้พูดเกินจริงครับ ท่านทำ PLC และ LS กันอย่างแข็งขัน คุยกันสัปดาห์ละอย่างน้อย ๑ ครั้งในกลุ่มสาระ (LS) และทำ PLC ระดับโรงเรียนกันเป็นประจำอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อเดือน ... คุณค่าในการมาของผมในครั้งนี้คือ การเสริมความมั่นใจให้ครูเพื่อศิษย์ และแสดงให้เห็นว่า PLC ที่ดีควรทำอย่างไร และ PLC มีประโยชน์อย่างไร อย่ายึดมั่นกับความหมายของคำว่า PLC มากเกินไป PLC คือกระบวนการทำงานเป็นทีมของครูเพื่อศิษย์ (ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เรียกว่า ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์)  ครูร่วมแ