บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2017

ติดตามชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี _ ๐๑ : ค่ายพัฒนาจิต รู้จักเป้าหมายชีวิตตนเอง ของนักเรียน English Access Program

รูปภาพ
วันที่ ๒๕-๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ผมมีโอกาสได้สังเกตการณ์อยู่ตลอดงาน "ค่ายพัฒนาจิต รู้จักเป้าหมายชีวิตตนเอง" ที่นิสิตชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี เป็นทีมวิทยากรกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนในโครงการ English Access Program จำนวน ๕๖ คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สิ่งที่ผมเห็นคือ ชมรมต้นกล้าพันธุ์ดีได้ปรับเปลี่ยนวิธีและวิถีของกิจกรรมพัฒนานิสิตไปอีกขั้นสำคัญ  ค่ายนี้ไม่ใช่ "ค่ายสร้าง" ไม่ใช่ "ค่ายสัน" (สันทนาการ) ไม่ใช่"ค่ายสอน" และไม่ใช่ "ค่ายเสริมแรง" (ปลุกพลัง) แต่เป็น "ค่ายเรียนรู้" ผมเห็นผลลัพธ์การเรียนรู้จากค่ายชัดเจนทั้งน้องนักเรียนและพี่นิสิต เป้าหมายที่ได้รับมอบจากโครงการคือ อยากให้น้องนักเรียน "รู้จักตนเอง" และ "รู้จักกันเอง" ตารางกิจกรรมที่นิสิตออกแบบขึ้นแสดงดังตารางด้านล่าง กระบวนการของชมรมต้นกล้าฯ  เชื่อมโยงต่อเนื่องกันดีมาก ๆ เริ่มตั้งแต่ ละลายพฤติกรรม -> ชวนคุยเรื่องความฝัน -> ทำให้รู้จักตนเองด้วยกิจกรรมสัตว์สี่ทิศ -> กิจรรมฐานการเรียนรู้ "ฐานคิดสู่ความฝัน" ได้แก่ ฐานเป้าหม

รายวิชาศึกษาทั่วไป_ วิชา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน _๐๘ : มหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้รายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ๒-๒๕๕๙ (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา มีการประชุมอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน  มีประเด็นแจ้งเพื่อทราบและพิจารณาเกี่ยวกับโครงการมหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป ประจำภาคเรียนที่ ๒-๒๕๕๙ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๐ นี้  เพื่อให้เข้าใจร่วมกัน จึงขอใช้บันทึกนี้สื่อสารไปยังอาจารย์และนิสิต อีกช่องทางหนึ่ง ข้อมูลเบื้องต้นในการจัดโครงการ ชื่อโครงการ "มหกรรมนำเสนอผลงานและผลการเรียนรู้ รายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๙  งานมหกรรมฯ จะจัดขึ้นวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๐ ณ อาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่)  โดยกำหนดให้นิสิตมาจัดเตรียมนิทรรศการก่อนในวันที่ ๒๒  กลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน จำนวนทั้งสิ้น ๗,๔๓๓ คน จาก ๑๒ คณะ ๒ วิทยาลัย ๖๒ หลักสูตร ๖๗ กลุ่มการเรียน  รูปแบบการนำเสนอผลงาน ผลงานที่กำหนดให้นำเสนอในงานมหากรรมฯ นี้มี ๒ ลักษณะ ได้แก่ ๑) การประกวดผลงานดีเด่นจากคณะ-วิทยาลัย และ ๒) ผลงานของนิสิตจากทุกกลุ่มการเรียน  โดยกำหนดรูปแบบ

ประเมินคุณธรรมจริยธรรม _ ๐๑ : เราไม่สามารถทำสิ่ง "นามธรรม" ให้เป็น "รูปธรรม" ได้จริงหรอกครับ

รูปภาพ
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา มีผู้เข้าไปศึกษาคลิปวีดีโอเกี่ยวกับ "พุทธวิทยาศาสตร์" ที่ผมเคยโพสท์ไว้ ซึ่งเหตุที่โพสท์ไว้ในคราวนั้นเพราะกลัวซีดีเรื่อง "พระสัพพัญญูรู้แจ้งโลก" ของมูลนิธิพัฒนาจิต ที่ได้รับมาจะหายไป (ซีดีนั้นหายไปแล้วจริง) ผู้เข้าชม มีความเห็นมากมาย บางท่านนับถือศาสนาคริสต์ หลายท่านนับถือศาสนาพุทธ บางท่านก็ถือลัทธิวิทยาศาสตร์วัตถุ  การถกเถียงเหล่านั้นทำให้ผมนึกหน้างานที่กำลังทำในวันนี้เรื่องการประเมินคุณธรรมจริยธรรม  ผมไม่มีความเห็นเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ แต่อยากตั้งประเด็นให้ทุกคน แยกคำ ๓ คำออกจากกัน แล้วศึกษาแต่ละคำดังต่อไปนี้ให้เข้าใจ คือ  "การคิด" "การรู้" และ "การเห็น"  ผมเข้าใจว่า  การเข้าใจด้วย "การคิด" จะมีคำอธิบายทุกเรื่อง  การเข้าใจด้วย "การรู้" บางเรื่องไม่สามารถอธิบาย สิ่งใดที่ต้องเข้าใจด้วย "การเห็น" จะไม่สามารถอธิบายได้  เพราะเพียงแค่เริ่มจะอธิบาย ก็กลายเป็น "บัญญัติ" หรือ "สัทธรรมปฏิรูป" ไปทันที  คงด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าท่านถึงทรงสอนเรื่อ

ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน _ ๐๑ : "มหาวิทยาลัยชั้นนำเขาเปลี่ยนวิธีสอนหมดแล้วนะ..."

ตามที่ได้ "ฟ่าวประกาศ" ไปว่า สำนักศึกษาทั่วไป ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัย ให้เป็นเจ้าภาพในการพัฒนาอาจารย์เรื่องการเรียนการสอน ในที่นี้หมายถึงเทคนิคและวิธีการสอนของอาจารย์ ซึ่งขณะนี้ทุกมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญมาก จนแทบจะเหมือนแข่งขันมากกว่าร่วุมมือด้วยซ้ำไป  ที่แน่ ๆ คือถ้ามหาวิทยาลัยใดไม่ "ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน" คงต้องตกขบวนรถไฟในไม่ช้าครับ เพื่อจะสื่อสารกับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาอาจารย์ทุกท่าน จึงขอตั้งกลุ่ม LINE ชื่อ "อาจารย์ มมส." ขึ้น (หากอาจารย์ท่านใดยังไม่ได้เป็นสมาชิก เชิญคลิก ที่นี่ ครับ)  และเริ่มบันทึกกิจกรรมและการเรียนรู้ไว้ในบันทึกชุด "ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน" โดยจะว่ากันเฉพาะเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น ขณะนี้มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกได้ลดและเลิกวิธีการสอนแบบบรรยายบอกความรู้หรือที่เราเรียก Lecture ไปหมดแล้ว ผมขออ้างอิงเรื่องนี้จากบทสนทนาระหว่างอาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (ม.ธรรมศาสตร์) กับ ศาสตราจารย์เบอร์นาร์ด แทน ( Bernard C.Y. Tan) รองอธิการบดีฝ่ายอาจารย์และการศึกษาของมหาวิทยา

โครงการนิสิต LA _ ๐๓ : ผลการสำรวจการปฏิบัติงานของนิสิต LA 2-2559 (DAR)

รูปภาพ
ผมเขียนความคิดรวบยอดเป็นนโยบายและแนวทางดำเนินงานของโครงการนิสิต LA (Lecturer Assistant) หรือนิสิตผู้ช่วยอาจารย์ ให้คุณภาณุพงศ์ คงสวัสดิ์ บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป นำไปปฏิบัติ ไว้ ที่นี่   และเขียนระบบและกลไกในการคัดเลือก รับสมัคร และพัฒนานิสิต LA ไว้ ทีนี่  ถึงวันนี้โครงการดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นภาคเรียนที่ ๔  แล้ว  วันนี้ได้อ่านรายงานการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนิสิต LA ที่คุณภาณุพงศ์ส่งมาให้อ่าน  เกิดแรงบันดาลใจที่จะเขียนรายงานและแลกเปลี่ยนไปยังอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หรือผู้สนใจ เป็นประเด็น ๆ ดังต่อไปนี้ หน้าที่หลักของนิสิต LA ที่กำหนดมี ๕ ประการคือ ๑) ช่วยตรวจสอบการเขัาเรียน (เช็คชื่อ) ๒) ช่วยกรอกคะแนน ๓) ช่วยเตรียมความพร้อมอุปกรณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ก่อนเข้าสอน ๔) ช่วยปิดอุปกรณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ ไฟฟ้า และแอร์ กรณีห้องเรียนไม่ได้ใช้  ๕) งานอื่นๆ ที่อาจารย์มอบหมายนอกเหนือจาก ๔ ข้อนี้ ผลการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ของกลุ่มนิสิต LA จำนวน ๑๘ คน ซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติงานจำวน ๙๗ กลุ่มการเรียน  พบว่า การเข้าปฏิบัติงานในชั้นเรียนจริง นิสิต LA ได้เข้าปฏิบัติงานในห้องเรี

จับประเด็น : มหาวิทยาลัย ๔.๐ โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษา รศ.นพ.โศภณ นภาธร

รูปภาพ
วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ผมไปเข้าร่วมอบรมที่จังหวัดขอนแก่น ในงาน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนครั้งที่ ๓ (The third Scholarship of Teaching and Learning)  เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงสู่มหาวิทยาลัย ๔.๐" หรือ "Transformation towards University 4.0"  (ผู้สนใจคลิกที่เว็บไซต์ของโครงการได้ ที่นี่  ผู้จัดงานได้แชร์ ppt ที่ใช้ทั้งหมดไว้แล้ว และบอกว่าจะทำการตัดต่อวิดีโอบรรยายตามมา) ผมประทับใจการบรรยายพิเศษของ รองศาสตราจารย์ นพ. โศภณ  นภาธร (คลิกดูประวัติท่าน ที่นี่ ) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมาก จึงนำมาถอดความรู้ไว้อีกครั้ง หวังให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน โดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งควรต้องได้รับทราบทั่วกัน ท่านใดไม่ชอบอ่าน ดูคลิปท่านบรรยายได้เลยครับ  และสามารถคลิกดาวน์โหลดสไลด์ที่บรรยายได้ ที่นี่ ครับ มหาวิทยาลัย ๔.๐ เป็นแนวคิดของการเปลี่ยนแปลง ที่คิดขึ้นให้สอดคล้องกับ ประเทศไทย ๔.๐ ซึ่งประเทศไทย ๔.๐ เอง เราก็คิดขึ้นให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีที่มาจาก World Economic Forum  โดย Professor Klaus Schwab บอกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม

จับประเด็น เรียนรู้จาก ผอ.กลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคล สกอ.

วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ในงาน SOTL#3 ช่วงบ่าย มีการบรรยายเรื่อง "เปิดมุมมองการสร้างกำลังคนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง" โดย คุณพันธ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู็อำนวยการกลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา  ผมจับประเด็นสดๆ  ขณะ นั่งฟัง มาฝากท่านนักเรียนรู้ทุกท่านครับ คลิกดูวีดีโอเฟสไลฟ์ มหาวิทยาลัยที่ สกอ. ดูแลอยู่ มีจำนวน ๑๕๖ มหาวิทยาลัย  อีก ๑ สถาบันกำลังจะเป็นมหาวิทยาลัย  ผลงานการสร้างองค์ความรู้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมาจากคนในมหาวิทยาลัย อีก ๑๕ หรือ ๒๐ ปีข้างหน้า รัฐบาลจะทุ่มเงินไปที่ภาคเอกชน แต่ในปีสองปีนี้  ช่วง ๕ ปีที่ผ่าน มีการตีพิมพ์อยู่ประมาณ ๗๐,๐๐๐ เรื่อง ได้รับการอ้างอิงประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ครั้ง  งานวิจัยที่มากที่สุดคือ วิจัยเรื่องยา (medicine) รองลงมาคือด้านวิศวกรรม  เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ IQS พบว่า สาขาการเกษตรของไทยค่อนข้างแข็งแกร่ง  ผลงานที่ว่ามาทั้งหมด  เกือบ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่มหาวิทยาลัยในกำกับ  คือ ๕๕,๐๐๐ เรื่อง เฉลี่ยต่อแห่งประมาณ ๒,๘๐๐ ร้อย ในขณะที่ มรภ. อยู่ที่ ๕๗  เอกชน ๔๗   ผลการจัดอันดับเรื่องความสามารถในการ

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑๑) : บรรยายพิเศษ "การประเมินผลโครงการ"

รูปภาพ
การบริหารโครงการและการดำเนินโครงการ เป็นทักษะ นั่นหมายถึง ไม่สามารถเรียนสำเร็จได้ด้วยการอ่านการฟัง แต่ต้องลงมือทำด้วยตนเองเท่านั้น ดังนั้น ผมจึงขอข้ามหัวข้อ "การบริหารโครงการ" เอาไว้เรียนรู้จากตัวอย่างการทำงานในลักษณะของการ "ถอดบทเรียน"   บันทึกนี้มุ่งให้นิสิต "คิดเรียน" เกี่ยวกับการประเมินผลโครงการ อันเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่ต้องนำไปไว้ในการรายงานโครงการต่อไป ความหมายของการประเมินผลโครงการ มีผู้ให้ความหมายของ "การประเมินโครงการ" ไว้มากมาย ท่านที่สนใจ สามารถสืบค้นได้จากงานเขียนวิทยานิพนธ์หรือเล่มงานวิจัยทางศึกษาศาสตร์ ได้ไม่ยาก (เช่น คลิก ที่นี่ )  หลังจากอ่านหลาย ๆ ความหมาย  สามารถสังเคราะห์ให้ครอบคลุ่มที่สุดได้ดังนี้ ประเภทของการประเมินโครงการ มีผู้เสนอวิธีการแบ่งประเภทของการประเมินโครงการไว้หลายแบบ (สนใจสืนค้นได้ไม่ยาก หรือ คลิก ที่นี่ ) สาระสำคัญที่น่าสนใจคือ การแบ่งประเภทตามเวลาว่า ประเมินเมื่อไหร่ การประเมินในแต่ละขั้นตอนของการบริหารโครงการ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑) การประเมินก่อนดำเนินโครงการ (Preliminary Evaluation) โดยคว

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑๐) : บรรยายพิเศษ "การเขียนโครงการ"

รูปภาพ
วันที่ ๒๑ กุมภาพันธื  ๒๕๖๐ ชั้นเรียนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ  ผศ.ดร.จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์  ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้ดูแลงานประกันคุณภาพการศึกษาทั้งหมดของมหาวิทยาลัย มาบรรยายพิเศษเรื่องการเขียน การบริหาร และการประเมินโครงการ  ท่านส่งสไลด์ให้ไว้จำนวนมาก ขออภัยนิสิตที่เข้าเรียนทุกท่านที่ไม่ได้บันทึกวีดีโอการบรรยายของท่านไว้  มีเพียงเสียงบรรยาย (ฟังได้ ที่นี่ ) และ ประเด็นสำคัญ ๆ ที่ผมบันทึกมาแบ่งปันแลกเปลี่ยน ดังต่อไปนี้ครับ ประเภทของโครงการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้กำหนดประเภทของโครงการพัฒนากิจกรรมนิสิต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ผู้ดูแลกำกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกำหนด กล่าวคือ โครงการพัฒนานิสิตออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ ๑) กิจกรรมวิชการที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๒) กิจกรรมกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ ๓) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม ๔) กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม  และ ๕) กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม และกำหนดเป็นหลักการให้สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของหลักสูตร ว่า มหาวิทยาลัย/คณะ จะต้องเปิดโอกาสให้นิสิตได้ส่วนร่วมในการกำหนดแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานิ