บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2013

PLC_CADL_017 : เมื่อ KM ยังถูกเรียกว่า KM ตอนที่ 1 (สำนักพิมพ์ มมส.)

รูปภาพ
วันที่ 28 ตุลาคม 2556 ทีม CADL จัด "KM" บุคลากรสำนักพิมพ์ มมส. (MSUP) เราสังเกตพบอย่างหนึ่งว่าตอนนี้ ทุกคนในสำนักศึกษาทั่วไปยังมีคำถามว่า "ทำไมต้องมาทำ KM" งานที่ทำในก็ "เต็มมือเต็มเวลา" ทุกคนยังเรียก "KM" ว่า "KM"...  ไมแปลกที่ทุกคนแยก "KM" ออกมาเป็นงานเพิ่มแบบนี้ เพราะแม้แต่เกณฑ์ประกันฯ หรือกรรมการตรวจประกันฯ ก็แตกต่างตามตัวตนของแต่ละคนที่มาประเมินเลย.... ผมไม่ได้ร่วมเวทีนี้ด้วยเพราะติดภารกิจประชุมโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน วันถัดมาตอนเช้าเราทำ AAR สะท้อนผลจากการฟังคน MSUP และช่วยกันมอง "ระบบ" "ปัญหา" และ "ปัญญาปฏิบัติ" สรุปได้เป็นปลาตัวนี้ครับ (วาดภาพนี้โดยคุณ Arizz..) สิ่งที่เราอภิปรายก่อนจะได้ภาพนี้ มีดังนี้ครับ เป้าหมาย 3 ประการ ที่ผู้บริหารกำหนดแน่แต่ยังไม่ชัดในใจบุคลากรคือ อยากทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ด้วยการสร้างสื่อผลิตหนังสือตำรา ที่เป็น "ปัญญาปฏิบัติ" ของคณาจารย์มหาวิทยาลัย หรือเรียกว่า "งานลิขสิทธ์" สำนักพิมพ์สามารถสร้าง "กำไร" และ "

แบบสอบถามคุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐาน TQF

รูปภาพ
การศึกษาในระดับอุดมศึกษาไทย ตอนนี้มีการประกาศใช้ระบบ TQF หรือ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา (มคอ.)  และนำระบบประกันคุณภาพการศึกษามาใช้อย่างจริงจัง (ทำเอกสารกันอย่างจริงจัง)  มีตัวชี้วัดหนึ่งที่เราต้องทำการสำรวจและประเมินว่า คุณภาพของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบ TQF เป็นอย่างไรบ้าง โดยทำแบบสอบถามไปยัง "ผู้ใช้บัณฑิต" บันทึกนี้นำตัวอย่างคำถามที่มหาวิทยาลัยใช้ในแบบสอบถาม แค่เพียรวบรวมไว้ให้ ใครๆ ที่สนใจนำไปวิพากษ์ครับ สังเกตว่า.... ระบบปรารถนาดีและมีเจตนารมณ์ที่ดี แต่มีปัญหาอะไรสักอย่างระหว่างทางที่ปฏิบัติ จริงไหมครับ...

รายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2556

รูปภาพ
ผมวิเคราะห์หาความเชื่อมโยง (บนฐานคิดคาดเดาจากชื่อรายวิชา) ว่า วิชาใดนไปสู่องค์ความรู้หลัก ทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต และคุณธรรมจริยธรรม ที่จะทำให้นิสิต "รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข" ....ได้ผลดังภาพครับ ดูไม่ยาก ฝากไปวิพากษ์และร่วมกันพัฒนาต่อครับ ผมมีคำถามในใจว่า... หากไม่เรียนวิชาใดๆ ในนี้ จะมีชีวิตที่มีความสุขได้ไหม... ท่านว่าไงครับ...

PLC_CADL_016 : ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รูปภาพ
วันที่ 7-8 กันยายน 2556  สำนักศึกษาทั่วไป จัดประชุมสัมมนาเพื่อ ระดมความคิดหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาศึกษาทั่วไป ผลสรุปส่วนหนึ่งเสนอแล้วในบันทึกที่ ๑ ๒ ๓ ๔ และ ๕ บันทึกนี้สรุปเพิ่มเติมถึงผลสรุปของกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี... เป็นสไตล์นักวิทยาศาสตร์ เป็นลิสท์ เป็นลำดับ ดังภาพครับ เช่นกันกับกลุ่มวิชาอื่นๆ   ภาพผังนี้จะถูกนำไปวิพากษ์ในวงเวทีของอาจารย์ผู้สอนทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง... สังเกตว่า Teach Less Learn More  ติดกระแสลมแล้ว.... ดูภาพทั้งหมด ที่นี่ ครับ

PLC_CADL_015 : ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

รูปภาพ
วันที่ 7-8 กันยายน 2556  สำนักศึกษาทั่วไป จัดประชุมสัมมนาเพื่อ ระดมความคิดหาแนวทางการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาศึกษาทั่วไป ผลสรุปส่วนหนึ่งเสนอแล้วในบันทึกที่ ๑ ๒ ๓ และ ๔ บันทึกนี้สรุปเพิ่มเติมถึงผลสรุปของกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์... แผนภาพนี้จะถูกนำไปเป็นเครื่องมือในการเปิดเวที KM เพื่อวิพากษ์และแลกเปลี่ยนระหว่างอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มวิชานี้ทั้งหมดในวันที่ 2-3 พฤศจิกายน  2556 นี้ ...จะนำผลมาเล่าให้ฟังครับต่อไปครับ...

โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน GE_05 : ขั้นที่ 3 "กระบวนการหลักวิชา" เรียนรู้พัฒนาจากผู้ทรงคุณวุฒิ

รูปภาพ
วันที่ 8 ตุลาคม 2556  CADL จัดเวทีวิพากษ์ร่างหลักสูตรท้องถิ่นพืชสมุนไพรในชุมชน โรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ซึ่งได้ดำเนินการมาตามบันทึกที่    ๑ ,  ๒ ,  ๓  และ   ๔    กลุ่มเป้าหมายในเวทีนี้คือ ผู้บริหาร ผู้รู้ และครูผู้ใช้หลักสูตร ผู้รู้ในที่นี้ คือ รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม ผู้เชี่่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน   อาจารย์ ดร.วิลาวัลย์ พร้อมพรม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มมส. ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสมุนไพร อาจารย์จิตรลดา คำคง อาจารย์สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ ท่านจะมาช่วยเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร ผมเองไม่ได้เชี่่ยวชาญใดๆ ผมโชคดีตรงที่ได้เรียนรู้จากครูเหล่านี้อยู่บ่อยๆ   อย่างไรก็ตาม ผมก็ภูมิใจว่าผมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ของแนวคิดครู ที่จะเปลี่ยนจากหลักสูตรเน้นเนื้อหา เน้นวิชา มาเป็นหลักสูตร "เน้นกระบวนการ"   ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างหลักสูตรทั้งสองแบบนี้คือ แบบแรกเน้นว่าเด็กจะต้องรู้อะไรในหน่วยการเรียนรู้นั้น ส่วนแบบหลังเน้นว่า ใครจะต้องมีบทบาทอย่างไรในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ   ตัวอย่างการออกแบบการเรียนรู้ใน 15 สัปห์ดา แสดงในตารางนี

โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน GE_04 : ขั้นที่ 2 กิจกรรม "ปฏิบัติเชิงสาธิตกระบวนการ" (วันงาน) เล่าด้วยภาพ

รูปภาพ
วันที่ 16 กรกฎาคม 2556  CADL ร่วมกับโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ร่วมกันจัดกิจกรรมวัน "ปฏิบัติเชิงสาธิตกระบวนการ" และ "ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ" เรื่องพืชสมุนไพรในชุมชน ซึ่งเป็น ขั้นที่ 2 ของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นพืชสมุนไพรในชุมชนเขวาใหญ่ (บันทึกนี้ต่อจากบันทึกที่ ๑ , ๒ , และ ๓ ) ขอนำเสนอด้วยภาพในแต่ละขั้นตอนที่ได้แสดงในบันทึกที่ผ่านมาแล้ว ลงทะเบียน เปิดงานและ BAR     เดินสำรวจและสืบค้น  รวบรวมข้อมูล ทำ Mind Map นำเสนอ  รับประทานอาหารร่วมกัน อบรมเชิงปฏิบัติการ "การทำลูกประคบสมุนไพร" ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำครีมจากเสลดพังพอน ดูรูปทั้งหมด ที่นี่ ครับ ผมทำ AAR ว่า เราได้รายชื่อสมุนไพรกว่า 100 ชนิด ที่มีในโรงเรียน  บรรลุเรื่องเนื้อหาที่จำนำไปใช้ทำหลักสูตร "เน้นกระบวนการ" บรรลุเรื่องการสาธิตเชิงกระบวนการ แม้ว่าหลายคนยังไม่เห็นตัวกระบวนการ แต่ผมคิดว่าครูเข้าใจ ซึ่งก็สำคัญเพียงพอที่เราจะนำหลักสูตรนี้ไปใช้ต่