โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน GE_01 : พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้านสมุนไพรในชุมชน โรงเรียเขวาใหญ่พิทยาสรรค์
โครงการหนึ่งหนักสูตรหนึ่งชุมชน เป็นตัวอย่างของความพยายามที่ดีของมหาวิทยาลัย ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับสังคม บูรณาการข้ามรอยแยกแตกต่างทางความคิด เชื่อมให้เหลื่อมติดระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสังคม วิธีการคือมหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนให้แต่ละหลักสูตรและหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ไปให้บริการวิชาการกับชุมชนในหัวเรื่องที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญและสอดคล้องกับความต้องการหรือปัญหาของชุมชนนั้นๆ
ปี 2556 สำนักศึกษาทั่วไป ร่วมกับโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ (ประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจาก มมส. พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้านสมุนไพร สืบเนื่องจากที่ได้ร่วมกันส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ให้กับชุมชนมาแล้วในปี 2555 กระบวนการพัฒนาหลักสูตร แสดงดังผังด้านล่าง
การดำเนินงานใช้เน้นที่สุดคือการ "มีส่วนร่วม" โดยยึดข้อควรระวังสำคัญคือ
ปี 2556 สำนักศึกษาทั่วไป ร่วมกับโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ (ประมาณ 7 กิโลเมตร ห่างจาก มมส. พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นด้านสมุนไพร สืบเนื่องจากที่ได้ร่วมกันส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ให้กับชุมชนมาแล้วในปี 2555 กระบวนการพัฒนาหลักสูตร แสดงดังผังด้านล่าง
การดำเนินงานใช้เน้นที่สุดคือการ "มีส่วนร่วม" โดยยึดข้อควรระวังสำคัญคือ
- เป็นหลักสูตรที่ตั้งอยู่บน "บริบท" ของ "ท้องถิ่น"
- เป็นหลักสูตรที่ผู้ใช้หลักสูตร เห็นความสำคัญ รู้เข้าใจ และมีแรงบันดาลใจที่จะนำไปใช้และพัฒนาต่อไป ซึ่งจะเป็นตามนี้ได้ต้องเป็นหลักสูตรที่
- ผู้ใช้หลักสูตรฯ และผู้เกี่ยวข้อง ได้ร่วมเป็นผู้สร้างและพัฒนาหลักสูตรนี้... จึงจะเห็นความสำคัญ
- ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการยกร่าง อภิปราย และวิพากษ์หลักสูตร... จึงจะทำให้เข้าใจ สามารถตีความได้จามเจตนารมณ์ และกล้าที่จะปรับเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นได้
- ผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมใยการกำหนดเป้าหมายและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้หลักสูตรร่วมกัน เห็นคุณค่าของหลักสูตรฯ... จึงจะมีแรงบันดาลใจในการใช้
- เป็นหลักสูตรที่ "มีชีวิต" คือ เป็นหลักสูตร "เน้นกระบวนการเรียนรู้" ไม่ใช่หลักสูตรเน้นการถ่ายทอดเนื้อหา... เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ในตนเอง หรือคือการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ไม่ใช่การถ่ายโอนหรือถ่ายทอดความรู้ ...
- ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักให้กับผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการคือ สร้างเวที "ชวนคิด" "ชวนทำ"
- ขั้นที่ 2 สร้างกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติ วิธีการคือ "พาทำ" และ/หรือ "ทำให้ดู"
- ขั้นที่ 3 สร้างชิ้นงานหรือผลงานด้วย "กระบวนการวิชการ" วิธีการคือ เปิดเวทีวิพากษ์ ร่างผลงานหรือชิ้นงานที่ร่วมกันทำใน 2 ขั้นตอนแรก โดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะสรุปและนำไปใช้ต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น