รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)
วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ในชั้นเรียนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ประจำภาคเรียนที่ ๑-๒๕๖๐ เป็นการทำกิจกรรม AAR หลังจากที่นิสิตได้ลงพื้นที่ทำโครงการแก้ปัญหาเสร็จสิ้นลงไป ช่วงท้ายของชั้นเรียน ได้มอบหมายงานและวิธีการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ (อ่านได้ที่นี่) ส่วนบันทึกนี้จะพานิสิตเรียนรู้เรื่องกระบวนการ AAR และนำเอาผลการทำ AAR ของเรามาเก็บไว้แลกเปลี่ยนกัน
คุณพีธากร ศรีบุตรวงษ์ เขียนบันทึกเรื่อง After Action Review ไว้ใน gotoknow.org ได้ดีมาก (อ่านที่นี่) นิสิตที่ไม่เคยรู้จัก AAR ควรอ่านและสืบค้นเพิ่มเติม แล้วนำมาทดลองใช้ในการทำงานในโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่เป็นนิสิต เพราะขณะนี้ AAR ถือเป็นเครื่องมือเรียนรู้มาตรฐานที่ทุกการทำงานเป็นทีมต้องนำมาใช้
ผมนำเอาภาพที่ท่านเผยแพร่มาวาดใหม่ และตีความในแบบที่ตนเองเข้าใจ เผื่อใครผู้อ่านจะนำไปใช้ก็เชิญตามสบายเถิด...
กองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในไม่กี่หน่วยงานที่ริเริ่มและนำเอาระบบการสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) และการทบทวนหลังการลงมือทำ (Review) มาใช้อย่างเป็นระบบ การทบทวนหลังปฏิบติการ หรือ After Action Review หรือ AAR เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กองทัพพัฒนาและต่อมากลายมาเป็นมาตรฐานกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
บทความเรื่อง THE U.S. ARMY’S AFTER ACTION REVIEWS: SEIZING THE CHANCE TO LEARN (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) เผยแพร่ผลการสัมภาษณ์ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (Chief of Staff of U.S. army) นายพลเอกกอร์ดอน อาร์ ซูรีแวน (Gordon R. Sullivan) และพันเอกโอริน เอ นาเจล (Orin A. Nagel) ผู้อำนวยการศูนย์ถอดบทเรียนทางการทหาร (Center of Army Lesson Learned) และนายทหารผู้เกี่ยวข้องหลายท่าน เกี่ยวกับที่มาของกระบวนการ AAR ความว่า...
ทหารได้เริ่มนำกระบวนการ AAR นี้มาใช้ในกลางปี 1970 เบื้องต้นได้ออกแบบสำหรับนำไปถอดบทเรียนประสบการณ์การต่อสู้จู่โจมของศูนย์ฝึกอบรมแห่งชาติ (National Training Center) และค่อยๆ ถูกนำไปใช้ขยายกระจายออกไปอย่างช้าๆ เป็นเวลาถึงทศวรรษกว่าที่ AAR จะกลายมาเป็นเครื่องมาตรฐานบรรจุในหลักสูตรฝึกอย่างเป็นทางการ
จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ AAR ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย คือ การทำ AAR ของทหารกลุ่มเล็กๆ ในหลุมหลบภัยหรือในรถถัง ที่กรุงเฮติ (Haiti) กลางทะเลทรายในเหตการณ์ส่งครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf war) เพื่อทบทวนภารกิจและกำหนดวิธีพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ คำว่า AAR ได้ถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก จากนั้นได้แพร่หลายไปสู่ทุกหน่วยทุกงานอย่างรวดเร็ว
การทำ AAR สามารถทำได้ทั้งแบบทางการ (formal) และไม่เป็นทางการ (informal) วิธีการคือ ใช้คำถาม ๔ คำถาม นำให้เกิดการทบทวนอภิปราย โดยคำถามอาจแตกต่างลำดับไป แต่คล้าย ๆ กัน ดังภาพ
บทความนี้บอกว่า คำถามแรกและคำถามที่สองไม่ควรใช้เวลาเกินร้อยละ ๒๕ คำถามที่ ๓ ให้ใช้เวลาประมาณร้อยละ ๒๕ และให้ไปเน้นหนักที่คำถามสุดท้ายร้อยละ ๕๐ ... ผมตีความว่า AAR นี่คือเครื่องมือเพื่อพัฒนาโดยแท้
AARs วิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำประจำปีการศึกษา ๑-๒๕๖๐
ขณะนี้ที่เขียนบันทึกนี้ นิสิตทุกกลุ่มเรียนกำลังเร่งมือกันเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ ดังที่แนะนำไปในบันทึีกที่แล้ว วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา เราทำกิจกรรม AAR ด้วย ๔ คำถามดังภาพ
แต่ละกลุ่มได้สะท้อน AAR กันภายในเวลา ๑ ชั่วโมง ได้ผลดังภาพต่อไปนี้
กลุ่มเพชร
กลุ่มดอกบัว
กลุ่มหมี
กลุ่มกำปั้น
กลุ่มบันได
กลุ่มลำธาร
กลุ่มภูเขา
กลุ่มดวงอาทิตย์
กลุ่มภาพอิสระ
กลุ่มอินทรี
กลุ่มเทียน
บันทึกนี้ขอเล่าด้วยภาพไว้เท่านี้ก่อน บันทึกหน้า หลังจากได้รายงานของแต่ละกลุ่มมาอ่าน จะเอาผลงานของนิสิตมาแบ่งปันครับ
คุณพีธากร ศรีบุตรวงษ์ เขียนบันทึกเรื่อง After Action Review ไว้ใน gotoknow.org ได้ดีมาก (อ่านที่นี่) นิสิตที่ไม่เคยรู้จัก AAR ควรอ่านและสืบค้นเพิ่มเติม แล้วนำมาทดลองใช้ในการทำงานในโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่เป็นนิสิต เพราะขณะนี้ AAR ถือเป็นเครื่องมือเรียนรู้มาตรฐานที่ทุกการทำงานเป็นทีมต้องนำมาใช้
ผมนำเอาภาพที่ท่านเผยแพร่มาวาดใหม่ และตีความในแบบที่ตนเองเข้าใจ เผื่อใครผู้อ่านจะนำไปใช้ก็เชิญตามสบายเถิด...
กองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในไม่กี่หน่วยงานที่ริเริ่มและนำเอาระบบการสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) และการทบทวนหลังการลงมือทำ (Review) มาใช้อย่างเป็นระบบ การทบทวนหลังปฏิบติการ หรือ After Action Review หรือ AAR เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่กองทัพพัฒนาและต่อมากลายมาเป็นมาตรฐานกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
บทความเรื่อง THE U.S. ARMY’S AFTER ACTION REVIEWS: SEIZING THE CHANCE TO LEARN (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) เผยแพร่ผลการสัมภาษณ์ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (Chief of Staff of U.S. army) นายพลเอกกอร์ดอน อาร์ ซูรีแวน (Gordon R. Sullivan) และพันเอกโอริน เอ นาเจล (Orin A. Nagel) ผู้อำนวยการศูนย์ถอดบทเรียนทางการทหาร (Center of Army Lesson Learned) และนายทหารผู้เกี่ยวข้องหลายท่าน เกี่ยวกับที่มาของกระบวนการ AAR ความว่า...
ทหารได้เริ่มนำกระบวนการ AAR นี้มาใช้ในกลางปี 1970 เบื้องต้นได้ออกแบบสำหรับนำไปถอดบทเรียนประสบการณ์การต่อสู้จู่โจมของศูนย์ฝึกอบรมแห่งชาติ (National Training Center) และค่อยๆ ถูกนำไปใช้ขยายกระจายออกไปอย่างช้าๆ เป็นเวลาถึงทศวรรษกว่าที่ AAR จะกลายมาเป็นเครื่องมาตรฐานบรรจุในหลักสูตรฝึกอย่างเป็นทางการ
จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ AAR ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย คือ การทำ AAR ของทหารกลุ่มเล็กๆ ในหลุมหลบภัยหรือในรถถัง ที่กรุงเฮติ (Haiti) กลางทะเลทรายในเหตการณ์ส่งครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf war) เพื่อทบทวนภารกิจและกำหนดวิธีพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ คำว่า AAR ได้ถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก จากนั้นได้แพร่หลายไปสู่ทุกหน่วยทุกงานอย่างรวดเร็ว
การทำ AAR สามารถทำได้ทั้งแบบทางการ (formal) และไม่เป็นทางการ (informal) วิธีการคือ ใช้คำถาม ๔ คำถาม นำให้เกิดการทบทวนอภิปราย โดยคำถามอาจแตกต่างลำดับไป แต่คล้าย ๆ กัน ดังภาพ
บทความนี้บอกว่า คำถามแรกและคำถามที่สองไม่ควรใช้เวลาเกินร้อยละ ๒๕ คำถามที่ ๓ ให้ใช้เวลาประมาณร้อยละ ๒๕ และให้ไปเน้นหนักที่คำถามสุดท้ายร้อยละ ๕๐ ... ผมตีความว่า AAR นี่คือเครื่องมือเพื่อพัฒนาโดยแท้
AARs วิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำประจำปีการศึกษา ๑-๒๕๖๐
ขณะนี้ที่เขียนบันทึกนี้ นิสิตทุกกลุ่มเรียนกำลังเร่งมือกันเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ ดังที่แนะนำไปในบันทึีกที่แล้ว วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา เราทำกิจกรรม AAR ด้วย ๔ คำถามดังภาพ
แต่ละกลุ่มได้สะท้อน AAR กันภายในเวลา ๑ ชั่วโมง ได้ผลดังภาพต่อไปนี้
กลุ่มเพชร
กลุ่มดอกบัว
กลุ่มหมี
กลุ่มกำปั้น
กลุ่มบันได
กลุ่มลำธาร
กลุ่มภูเขา
กลุ่มดวงอาทิตย์
กลุ่มภาพอิสระ
กลุ่มอินทรี
กลุ่มเทียน
บันทึกนี้ขอเล่าด้วยภาพไว้เท่านี้ก่อน บันทึกหน้า หลังจากได้รายงานของแต่ละกลุ่มมาอ่าน จะเอาผลงานของนิสิตมาแบ่งปันครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น