บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2014

PLC_CADL_041 : สัมมนาบุคลากร GE ประจำปี '๕๗ (๓)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑... บันทึกที่ ๒... "พระ" อีกองค์หนึ่งที่เราเข้ากราบนมัสการ คือ พระพุทธกิตติสิริชัย ตั้งอยู่ที่เขาธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์  อยู่ห่างจากที่เราไปสัมมนาไม่ไกลนัก  ทันทีที่ไปถึง ได้ข่าวว่า มีเรื่อง "ระทึก" ว่า รถทัวร์ที่เราเหมาไป คนขับไม่ได้หยุดให้ลงเดินเพื่อลดน้ำหนักของตัวรถ ขณะที่กำลังขึ้นเขาธงชัย กำลังรถจึงดูเหมือนจะไม่ไหว ต้องใช้เบรค คลัช และคันเร่งเบ่งแรงรีดพลังจนกลิ่นเหม็นไหม้ตลบอบอวล โชคดีที่ประสบการณ์ของคนขับ ช่วยให้รอดมาได้อย่างปลอดภัย... เหตุการณ์เป็นอย่างไร ต้องให้คนที่อยู่บนรถเล่าให้ฟังนะครับ ...  อย่างไรก็ตาม ควรเก็บไว้เป็นบทเรียนว่า ต้องระวังมากขึ้น ควรจะขอลงเดินในช่วงที่รถขึ้นทางชันมากๆ ก่อนจะถึงหน้าวัด ... พระพุทธกิตติสิริชัย คลิปรายการของหมอลักษณ์ "ฟันธง" และบันทึกของครูทิพย์ บอกไว้อย่างละเอียด ที่นี่ จึงไม่จำเป็นต้องเขียนเกี่ยวกับ พระพุทธกิตติสิริชัย ใดๆ อีก เพียงขอตีความสิ่งที่ประทับใจ ไว้เพิ่มเติม นิดหน่อย ดังนี้   ด้านล่างคือ "หัวใจพระพุทธ"    พระพุทธกิตติสิริช

PLC_CADL_040 : สัมมนาบุคลากร GE ประจำปี '๕๗ (๒)

รูปภาพ
สิ่งที่ประทับใจอันดับ ๑ (ไม่นับเรื่องเกี่ยวกับงาน) ในการเดินทางไปสัมมนาครั้งนี้เกิดจากความ "อิ่มใจ" ที่ได้กราบนมัสการ "พระ" ตลอดทางที่ไป ขอขอบคุณหัวหน้าสำนักงานฯ และทีมจัดงานที่ได้วางแผนฯส่งเสริมการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไว้ในใจบุคลากรของเรา บุญกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อรำลึกถึงและอนุโมทนาบุญกับทุกคนอีกครั้ง จึงอยากบันทึกความทรงจำนี้ไว้อีกครั้งหนึ่ง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม "พระ" องค์แรกที่เราเข้ากราบนมัสการคือหลวงพ่อวัดบ้านแหลม การสืบค้นประวัติของหลวงพ่อบ้านแหลม (เช่นจาก ที่นี่ หรือ ที่นี่ ) ทำให้ได้รู้ประวัติของอีก ๔ "พระ" ได้แก่ หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต (วัดบางพลีใน) และหลวงพ่อ(ทอง)วัดเขาตะเครา จากตำนาน "หลวงพ่อลอยน้ำ ๕ พี่น้อง" หรือ " พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหารย์ "  พบว่า บางอย่างก็สมเหตุสมผล บางอย่างก็ยากจะเชื่อ ดังจะตีความให้"ฟัง" ดังต่อไปนี้ครับ มี "พระ" หลายองค์ หลายแบบ แทบจะแยกได้ยากยิ่งว่า องค์ไหนที่ ลอยไหลมาตามน้ำตามตำนาน หลวงพ่อวัดบ้านแหลมองค์จริงที่เอาขึ้นจากน้ำ น่าจะเป็นองค์นี

PLC_CADL_039 : สัมมนาบุคลากร GE ประจำปี '๕๗ (๑)

รูปภาพ
หนึ่งอาทิตย์ก่อนเดินทางไป สัมมนาประจำปี ของชาว GE มมส. ผมนั่งสนทนา ทำ BAR (Before Action Review) กับ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ว่า ผมคาดหวัง ๓ ประการ จากการดำเนินโครงการสัมมนาประจำปี ๒๕๕๗ นอกสถานที่ปี้นี้ ได้แก่ ๑) นำปัญหาที่ได้จาก KM-กลุ่มงาน (ซึ่งสรุปบางส่วนไว้ ที่นี่ ) มาอธิบายอย่างเชื่อมโยงประสานระหว่างกลุ่มงานให้เข้าใจในปัญหาร่วมกัน ๒) รวมกันหาวิธีแก้ไขให้ง่ายและบูรณาการสอดเสริมกันระหว่างกลุ่มงาน โดยใช้ฐานข้อมูลและเทคโนไอซีทีให้เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมโยงระบบต่างๆ ๓) ทำให้เรารัก เข้าใจ และจริงใจ ไม่ให้มีกำแพงระหว่างกัน โดยเน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ GE ที่ตึก RN  มาวันนี้ ผ่านวันสัมมนา (วันที่ ๒๘-๓๑ มิถุนายน ๒๕๕๗) มาแล้วหนึ่งอาทิตย์ ผม AAR (After Action Review) ว่า อาจจะยังไม่บรรลุสักข้อข้างต้น แต่น่าจะประสบผลสำเร็จในข้อที่ ๓) มากที่สุด ในเรื่องการบูรณาการ "คน GE" เข้าด้วยกัน ผมคิดว่า ความก้าวหน้าที่ว่านี้ จะเป็น "คีย์" สำคัญให้ ๒ ข้อข้างต้นประสบผลฯ ตามมา... ผมตัดสินใจว่า จะไม่ "บังคับ" ให้ทุกคนต้องเขียน "

PLC_CADL_038 : ประเมินคุณภาพภายใน วงรอบการศึกษา ๒๕๕๖

รูปภาพ
วันที่ ๑๖ มิถุนาย ๒๕๕๗ สำนักศึกษาทั่วไป ต้อนรับคณะผู้ประเมินภายใน ได้แก่ ดร.สุมลวรรณ ชุ่มเชื้อ จากคณะเทคโนฯ ผศ.ดร.สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ จากคณะบัญชีฯ และ อ.พวงผกา คณาสิทธิ์ จาก มรภ. ดูข่าวย่อได้ ที่นี่   ผมรับหน้าที่เป็นผู้นำเสนอภาพรวมต่อคณะกรรมการฯ ก่อนจะเริ่มกระบวนการประเมินฯ สำนักศึกษาทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตบัณฑิต รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต ตามประกาศของกระทรวงฯ ภายใต้ พ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะวิชา กำหนดนโยบายและกำกับติดตามโดยบอร์ด GE  บริหารจัดการด้วยผู้บริหารที่นำโดยผู้อำนวยการสำนักฯ (เทียบเท่าคณบดี) ใช้ระบบประกันคุณภาพภายใน และให้ความร่วมมือเป็นผู้รับผิดชอบ KPI (Key Performance Index) บางตัวของประกันคุณภาพภายนอก (ตามกฎหมาย) ปีการศึกษา ๒๕๕๖ สำนักศึกษาทั่วไป มีตัวชี้วัดตามเกณฑ์ประกันภายในทั้งสิ้น ๑๔ ตัว ใน ๗ องค์ประกอบ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ผมขอเปลี่ยนเป็นภาษา "คำถาม"  ดังนี้ องค์ฯที่ ๑.๑  มีเป้าหมายชัดเจน แผนที่ดี และพัฒนาแผนอย่างเป็นกระบวนการอย่างมีส่วนร่วมหรือไม่? องค์ฯที่ ๒.๔ มีระบบ กลไก