บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2013

PLC_CADL_005: KM บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป_3

วันนี้วันที่ 30 สิงหาคม 2556 อีกเพียง 2 วันเราจะถึงกำหนดเดินทางไปสัมมนากันที่นอกสถานที่  กิจกรรมดีๆ ที่บุคลากรในราชการ โดยเฉพาะพนักงานสนับสนุนที่ไม่ค่อยมี "ทุน" ให้ไปไหนมาไหนร่วมกันบ่อยนัก ผมรับทราบจากคุณก้อยและคุณอ้อว่า ทุกฝ่ายทุกคนเตรียมงานของตนตามที่ได้มอบหมายไว้เมื่อ KM ครั้งที่แล้ว (อ่านได้ ที่นี่ )  แสดงถึงวัฒนธรรมการทำงานที่ทุกคน รับผิดชอบตามมอบหมาย ผมมั่นใจว่า หากทุกคนเตรียมได้แบบนี้ เราจะมีอะไรแลกเปลี่ยนกันเยอะเป็นแน่ ผมชวนคุณอ้อย (เลขานุการฝ่ายกุมบังเหียน) ไปทำ BAR (Before Action Review) กันก่อนในห้องประชุมท่าน ผอ. (ถือวิสาสะ...กราบขออภัยท่านไว้ด้วยครับ)  เราคุยกันถึงเรื่องความคาดหวังที่อยากเห็นในการไปคราวนี้เป็น 3 คำคือ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ เข้าใจ -> อธิบายได้ เข้าใจว่าเราจะต้อง "ทำอะไร" ต่อไปในปี 2557 ทุกคนที่ได้ลงมือ "ถอดแผนงาน" ลงบน ฟลิปชาร์ท และนำไปเสนอในคราวนี้ น่าจะบรรลุข้อนี้ทุกคน เข้าใจว่าโครงการต่างๆ ที่เราจะทำนั้น "ทำอย่างไร" เข้าใจว่า "ทำไมต้องทำ" คือ เห็นความสำคั

PLC_CADL_004: KM บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป_2

รูปภาพ
วันที่ 23 สิงหาคม 2556 CADL เราจัดกิจกรรม KM แบบง่ายๆ ด้วยการมอบหมายให้แต่ละคน เขียนคลิปชาร์ทดังตัวอย่างดังรูป แถวแรกด้านบนแสดงตัวเลขแผน 5 วัน ตั้งแต่ก่อนถึงหลังการเดินทางไปสัมมนาบุคลากร ประจำปี 2556 ในวันที่ 2-3-4 5 ที่พัทยา  โดยออกแบบกิจกรรมดังนี้  วันที่ 23 นี้ ให้แต่ละคนที่รับผิดชอบ "ตัวชี้วัด" ตาม แผนการปฏิบัติราชการประจำปี 2557 (ฉบับร่าง)  ได้จัดทำตาราง "ถอดแผนงาน" ตามตาราง 6 คอลัมน์ ได้แก่ นโบาย ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ โครงการ และ "ตัวชี้วัด"  โดยให้ศึกษาแผนฯ ด้วยตนเอง (ย้ำว่าด้วยตนเอง) แล้วเขียน "คำย่อ" ของข้อความยาวๆ ที่อยู่ในแผน ให้ได้ใจความสำคัญ ผมเรียกกระบวนการนี้ว่า "ถอดแผนงาน"  สำหรับใครที่ไม่ได้รับผิดชอบตัวชี้วัดหลัก แต่เป็นผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดร่วมกับกลุ่ม ให้เข้าไปร่วมกันทำเป็นกลุ่มงานได้ แต่สำคัญว่า ทุกคนต้องมีส่วนร่วม ..... ผมตั้งใจว่า ตอนไปนำเสนอที่พัทยา ผมจะจี้ถามทุกคนให้ได้มากที่สุด และรายงานให้ ผอ.ทราบรายบุคคลให้จงได้  ผมใช้สัญลักษณ์ "ย่อเวลา" ยึกยือ... เพื่อแสดงว่าเรามีเวลาประมาณหนึ่

3 บทบาทสำคัญของ CADL ในการขับเคลื่อน ปศพพ.พศ.

พันธกิจหลักของ CADL ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยคือ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษา (ปศพพ.พศ.) ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นที่พึ่งด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของสังคมและชุมชน โดยดำเนินการด้วยหลัก “7 ประการ” ได้แก่ ส่งเสริมการบริหารจัดการเชิงราบ  พัฒนาระบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรด้วยการจัดการความรู้ (นิเทศแบบ KMยกกำลังสอง)  ใช้จิตวิทยาเชิงบวก  เน้นเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ สร้างชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Commnunity) หรือ PLC  พัฒนาระบบมาตรฐานการประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้ และ  สร้างเครือข่าย LLEN CADL กำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองออกเป็น 3 บทบาทหลัก ครอบคลุมหลักทั้ง 7 ประการ บทบาทนักขับเคลื่อน ในบทบาทนักขับเคลื่อน CADL ทำหน้าที่เป็นทั้ง "กระบวนกร" เอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ เป็นทั้ง "วิทยากร" ในการเติมเต็มความรู้ เป็นทั้งครูผู้สอน (ทอลองสอน) กับนักเรียนจริงๆ ในห้องเรียนจริง โดยเน้นลงพื้นที่จริง สัมผัสปัญหาจริง สามารถติดตามเบันทึกและรายงานผลการดำเนินแต่ละกิจกรรมไว้ใน เว็บไซต์ของมูลนิธิสยามกัมมาจล และบล็