บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2017

LLEN มหาสารคาม : คิดการใหญ่ "สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม" (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ช่วยเย็นหลังจากรับประทานอาหารค่ำ ที่ศูนย์การศีกษาลำปาว ผมมีโอกาสได้ร่วมสนทนากับ ทีมแกนนำของ "สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์" ฟังท่าน ๆ คุยแลกเปลี่ยนนำเสนอกัน ใจผมก็ได้แต่ฝันไปว่า จังหวัดมหาสารคาม น่าจะมี "สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดมหาสารคาม" บ้าง ท่านประธานสภาฯ บอกว่า ระบบและกลไกของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ กศจ. จะมีภาระเกี่ยวกับงานบุคคล โยก ย้าย แต่งตั้ง จัดหาบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัด หากจะแก้ปัญหาทางการศึกษาได้อย่างเท่าทัน น่าจะมียุทธศาสตร์และการพัฒนาที่แหลมคม และแม่นตรงกับปัญหา  ท่านบอกหลายรอบว่า ท่านบอกว่า เมื่อท่านทราบปัญหาด้านการศึกษาของจังหวัดบ้านเกิดแล้ว ยากยิ่งที่จะน่งดูดาย เท่าที่ผมจับประเด็นได้  หากเปรียบเทียบกับระดับประเทศแล้ว สภาการศึกษาฯ จะแตกต่างกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ตรงที่ ไม่ได้มีแค่ฝ่าย "บุ๋น" ทำวิจัยเสนอยุทธศาสตร์ ประเมินผล และสะท้อนผลการบริหารงานของฝ่ายขับเคลื่อนเท่านั้น แต่สภาการศึกษาฯ ยังจะทำหน้าที่เป็นฝ่าย "บู๊" ด้วย โดยร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งในและนอกระบบ ทั้งภาครัฐ มีศึกษานิเ

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_23 : ค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี (๒) โครงงานบนฐานปัญหาชุมชน

รูปภาพ
บันทึกนี้เขียนสำหรับนักเรียนที่สนใจจะเข้าร่วม "โครงการเด็กดีมีที่เรียน" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) โดยเฉพาะนักเรียนที่เข้าร่วมค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี (อ่าน ที่นี่ ) โครงการเด็กดีมีที่เรียนก่อเกิดขึ้นด้วยนโยบายระดับประเทศ มีข้อตกลงความร่วมมือ (MOU, Memorandum of Understanding) ระหว่าง สพฐ. สกอ. และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ  มีเจตนารมณ์ที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เป็นคนดี มีคุณธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียน "นักกิจกรรม" หรือ "ผู้นำ" ได้โควต้าเข้าเรียนในสาขาวิชาหรือคณะที่เหมาะสมกับตนเอง โดยไม่ต้องสอบข้อเขียนแข่งขันกับนักเรียนในลู่วิ่งโรงเรียนติวทั่วไป การรับนิสิตนักศึกษาในโครงการเด็กดีมีที่เรียนของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันไปตามแต่นโยบาย ส่วนใหญ่จะรับในลักษณะโควต้าพิเศษสำหรับนักเรียนทั่วประเทศ แต่สำหรับ มมส. จะรับเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามเพื่อส่งเสริมให้คนในพื้นที่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยในบ้านเกิด และโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคอีสานเพื่อสรรหาและส่งเสริมให้มีนิสิตแกนนำขับเคลื

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_22 : ค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๑๘-๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ สำนักศึกษาทั่วไป จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ในชื่อโครงการค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี ครั้งที่ ๑ มีนักเรียนที่กำลังจะขึ้นชั้น ม.๖ จำนวน ๙๖ คน จาก ๖๘ โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ๕๘ โรงเรียน และโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐ โรงเรียน หลักคิดและวัตถุประสงค์ของค่ายฯ นี้ อยู่ในร่างคำกล่าวรายงานละคำกล่าวเปิดด้านล่างนี้ครับ   ขอขอบพระคุณ ผอ.ไพทูล พรมมาลา ผู้อำนวยการโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงาน  รวมถึงคณะครูผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทุกประการในงานค่ายครั้งนี้ คำกล่าวรายงาน โครงการค่ายอาสาพัฒนาต้นกล้าพันธุ์ดี ครั้งที่ ๑ วันอังคารที่ 18-20 พฤษภาคม 2560 ณ ค่ายลูกเสือดงใหญ่ ร.ร.ดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อ.วาปี จ.มหาสารคาม -------------------------------------- โดย   ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก           กระผมในนามของผู้จัดโครงการขอขอบค

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_21: Clearing House มาแล้ว ปี ๖๑ เด็กดีเตรียมตัว

รูปภาพ
วัน ๑๘-๒๐ พฤษภาคม สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดค่ายอาสาพัฒนาตนกล้าพันธุ์ดี ครั้งที่ ๑ โดยรุ่นพี่ในโครงการเด็กดีมีที่เรียน ซึ่งตอนนี้มีศูนย์รวมเป็นชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี ก่อนจะเดินทางไปร่วมค่าย ผมได้รับจดหมายด่วนให้ไปร่วมประชุม เรื่อง "แนวทางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" หลังจากนั่งฟังการนำเสนอของ ผอ.กองบริการการศึกษา ผอ.อ้อย (ท่านดูดีจริง ๆ)   ผมรู้สึกว่า น่าจะนำเอาสาระในการประชุม มาแบ่งปันนักเรียนที่กำลังจะมาร่วมค่ายฯ เกือบร้อยคนที่รออยู่ที่ดงใหญ่ พร้อม ๆ กับการอธิบายถึงกระบวนการรับนิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียนประจำปี ๒๕๖๑ ... นี่คือแรงบันดาลใจให้เขียนบันทึกนี้ครับ ปีการศึกษา ๒๕๖๑  มหาวิทยาลัยของรัฐ  ที่ดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน ๑๕๗ แห่ง จะคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้วยระบบ เอนทรานซ์ ๔.๐ (Entrance 4.0)  สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนมาเป็นเอนทรานซ์แบบใหม่ เพราะแบบเดิมที่ใช้โควตารับตรงและแอดมิทชั่น (Admission) มีปัญหาการ "กั๊กที่นั่ง" นักเรียนบางคนไปสมัครไว้ ๕ ม

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_20: ค่ายพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ปี ๒๕๖๐ "รับน้องสร้างสรรค์" (๓)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑)   บันทึกที่ ๒)  (เข้าใจว่า) พี่น้องโครงการเด็กดีมีที่เรียน ออกเดินทางจากสำนักศึกษาทั่วไปประมาณเที่ยง กินข้าวกล่องบนรถ และไปถึงค่ายลูกเสือดงใหญ่ โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ประมาณบ่ายโมงเศษ ระยะทางจาก ร.ร.ดงใหญ่ ถึงมหาวิทยาลัย ม.ใหม่ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร  ทุกอย่างเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ขอนำตารางมาวางไว้ตรงนี้อีก กิจกรรมบังคับ คือ ทุกครั้งทุกค่าย นิสิตจะต้องจับมาเล่นคือเป็นประจำ ได้แก่  การจับบัดบี้-บัดเดอร์  ให้ได้แอบดูแลเทคแคเพื่อนหรือพี่โดยมีกติกาว่า ต้องไม่ให้รู้จนกระทั่งวันลาจาก ค่อยเปิดเผยเฉลยว่าบัดดี้ขจองตนเป็นใคร กิจกรรมบังคับที่ทำกันเยอะมาก คือ สันทนาการ ได้แก่ ร้องเพลง เต้นรำ ทำท่าตลก น้อง ๆ จะสนุกละชอบกันมาก  เป็นกิจกรรมขั้นต้นตามโมเดลกิจกรรม "๓ กำลัง ส." ที่เสนอโดยแสน ธีระวุฒิ ศรีมังคละ (อ่านได้ ที่นี่ ) ลักษณะเด่นของค่าย ที่น่าจะทำอีกในปีการศึกษาถัดไป  (ต่อ) ๒) กิจกรรมนำเรียนรู้ ลักษณะเฉพาะของค่ายของนิสิตเด็กดีมีที่เรียนคือ จะไม่ใช่เฉพาะสันทนาการ ไม่ใช่ค่ายสร้าง และไม่ใช่ค่ายสอน แต่เป็นค่ายที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ หรือผมเ