ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_28 : ร่วมด้วยช่วย ดร.นุชรัตน์ (๒)
อ่านบันทึกฯ (๑) ที่นี่ครับ
วันที่ ๔-๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสอนแบบโครงงาน ๓PBL" เกิดขึ้นตามแผนที่วางไว้ ณ ศูนย์ศึกษาลำปาว เขื่อนลำปาว กาฬสินธุ์ มีครูกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาฬสินธุ์ เขต ๑ ประมาณ ๕๐ ท่าน จาก ๒๕ โรงเรียน วิทยากรเป็นทีมครูเพื่อศิษย์อีสาน ๔ ท่าน คือ ครูเพ็ญศรี ใจกล้า และครูสุกัญญา มะลิวัลย์ จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ครูเพ็ญศรี กานุมาร จากโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ครูศิริลักษณ์ ชมภูคำ จากโรงเรียนบ้านหินลาด หากรวมผม เสือ และแสน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะเป็น ๗ คน ไม่เพียงเท่านี้ครับ ยังมีทีมวิทยากรจาก สพป.กาฬสินธุ์ อีกหลายท่าน โดยเฉพาะครูอิ๋ว จิตตริกา หลาวมา จากโรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์ และครูนุ่ม ศักรินทร์ ภูละมุล (ขออภัยหากชื่อเล่นผิดนะครับ) จากโรงเรียนหนองพอกวิทยายน ที่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในพื้นที่ ที่ยังไม่มีโรงเรียนใดทำมาก่อน (วันหลังจะมาเล่าให้ฟังครับ) ผมมาทราบภายหลังว่า ปัจจัยหนุนที่กำลังจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่พื้นที่คือ สภาการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งน่าสนใจมากเช่นกัน ตั้งใจว่าจะนำมาแบ่งปันวันหลังเช่นกัน
๑) สถานที่เหมาะมาก
การอบรมเป็นแบบ Active Learning ทั้งกระบวนการ สถานที่เหมาะสมยิ่ง ที่พักก็สะดวก หากพื้นที่ใดกำลังมองหาสถานที่ใกล้ ๆ ลองติดต่อประสานที่ศูนย์ศึกษาลำปาว เขื่อนลำปาวด้วยตนเองเลยครับ ขอแนะนำครับ ... เสริมเศรษฐกิจในพื้นที่
ห้องประชุมน่าจะจุได้ถึง ๒๐๐ คน แต่จัดกิจกรรมแบบนี้ น่าจะไม่เกิน ๑๐๐ ครับ
พื้นที่ริมลำปาว เหมาะสำหรับสนทนาประสาครู ... แบบผ่อนคลาย สบาย ๆ ท่ามกลางหาดทรายและสายลม ... บุ๋ย...
อาคารที่พักหลังใหม่ รองรับได้น่าจะเป็นร้อยครับ
ห้องประชุมกลางแจ้ง คราวนี้ไม่ได้ใช้ครับ หากจัดค่ายนิสิตคราวหน้า มาใช้แน่...
๒) หลักสูตร 3PBL
หลักสูตร 3PBL เป็นเพียง "แนวคิด" ของการจัดการเรียนรู้ คล้ายกับที่ STEM ที่เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในยุคใหม่ การจัดการเรียนรู้แบบ ๓PBL เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (ทักษะการเรียนรู้ (การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม) ทักษะชีวิต และทักษะการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาและสื่อสาร) ดังนั้น รูปแบบประสบการณ์แห่งความสำเร็จหรือ BP ของแต่ละโรงเรียนอาจแตกต่างกันไป เกิดโมเดลหรือรูปแบบใหม่ ๆ ตามแต่การนำไปใช้ในบริบทที่ต่างกัน
BP ที่นำมาเสนอในการอบรมพัฒนาครูในเวทีนี้ คือ 3PBL ของทีมครูเพ็ญศรี ใจกล้า และทีมงานจากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ท่านนำเสนอโมเดลนี้ดังสไลด์ด้านล่าง
เพื่อให้เข้าใจและนำไปใช้ในง่ายขึ้น ผมวาดรูปขึ้นมาสองรูป รูปแรกเสนอหลักการของ 3PBL รูปที่สองเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการนำ 3PBL ไปใช้ในกรณีของครูเพ็ญศรีและทีม ผมเพิ่มเติมอีกนิดเดียวในขั้นตอนท้าย ๆ เพื่อเน้นย้ำเป้าหมายให้ผู้เรียนคิด ทำ นำเสนอ ด้วยตนเองจริง ๆ
ในการอบรม ๒ วันนี้ เราพยายามจะสื่อสาร "กระบวนการ" ให้ครูเข้าใจและสามารถนำไปใช้กับนักเรียนของตนเอง ดังนั้นกิจกรรมเปิดใจสร้างแรงบันดาลใจ หรือรวมถึงละลายพฤติกรรม จึงเน้นเป็นเพียงการสาธิต
ผมคิดว่า ครูที่เข้าร่วมอบรมจะเข้าเมื่อได้อ่านบันทึกนี้ แม้จะไม่มีรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม แต่น่าจะทำให้ท่านได้ทบทวนและมีไฟที่จะเริ่มลงมือทำได้แน่
๓) กิจกรรมเรียกสติ รวมสมาธิ สร้างความสนุก (กิจกรรมละลายพฤติกรรม)
มีหลายกิจกรรมที่แสน (ธีระวุฒิ ศรีมังคละ) ลูกศิษย์ครูเพ็ญศรี และครูกุ้ง สุกัญญา นำมาใช้ในการละลายพฤติกรรม เรียงลำดับดังนี้
๔) กิจกรรมเรียนรู้ด้วยกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยกิจกรรม เป็นวิธีหนึ่งของการจัดการเรียนรู้แบบตื่นตัว (Active Learning) ที่กำลังเป็นกระแสสุด ๆ ในตอนนี้ หลักคิดคือ ตั้งเป้าหมายหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ก่อนว่าต้องการ ความรู้ ทักษะ หรือเจตคติอะไร จากนั้นก็คิดออกแบบกิจกรรมที่หนุนให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำ ไดร่วมสะท้อน แลกเปลี่ยน และนำเสนออภิปรายในเรื่องนั้น ๆ เช่น กิจกรรมดังต่อไปนี้ ที่แสนและครูกุ้งนำมาใช้
วันที่ ๔-๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การสอนแบบโครงงาน ๓PBL" เกิดขึ้นตามแผนที่วางไว้ ณ ศูนย์ศึกษาลำปาว เขื่อนลำปาว กาฬสินธุ์ มีครูกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาฬสินธุ์ เขต ๑ ประมาณ ๕๐ ท่าน จาก ๒๕ โรงเรียน วิทยากรเป็นทีมครูเพื่อศิษย์อีสาน ๔ ท่าน คือ ครูเพ็ญศรี ใจกล้า และครูสุกัญญา มะลิวัลย์ จากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ครูเพ็ญศรี กานุมาร จากโรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ ครูศิริลักษณ์ ชมภูคำ จากโรงเรียนบ้านหินลาด หากรวมผม เสือ และแสน จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะเป็น ๗ คน ไม่เพียงเท่านี้ครับ ยังมีทีมวิทยากรจาก สพป.กาฬสินธุ์ อีกหลายท่าน โดยเฉพาะครูอิ๋ว จิตตริกา หลาวมา จากโรงเรียนดงพยุงสงเคราะห์ และครูนุ่ม ศักรินทร์ ภูละมุล (ขออภัยหากชื่อเล่นผิดนะครับ) จากโรงเรียนหนองพอกวิทยายน ที่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก้าวสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในพื้นที่ ที่ยังไม่มีโรงเรียนใดทำมาก่อน (วันหลังจะมาเล่าให้ฟังครับ) ผมมาทราบภายหลังว่า ปัจจัยหนุนที่กำลังจะนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่พื้นที่คือ สภาการศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งน่าสนใจมากเช่นกัน ตั้งใจว่าจะนำมาแบ่งปันวันหลังเช่นกัน
๑) สถานที่เหมาะมาก
การอบรมเป็นแบบ Active Learning ทั้งกระบวนการ สถานที่เหมาะสมยิ่ง ที่พักก็สะดวก หากพื้นที่ใดกำลังมองหาสถานที่ใกล้ ๆ ลองติดต่อประสานที่ศูนย์ศึกษาลำปาว เขื่อนลำปาวด้วยตนเองเลยครับ ขอแนะนำครับ ... เสริมเศรษฐกิจในพื้นที่
ห้องประชุมน่าจะจุได้ถึง ๒๐๐ คน แต่จัดกิจกรรมแบบนี้ น่าจะไม่เกิน ๑๐๐ ครับ
พื้นที่ริมลำปาว เหมาะสำหรับสนทนาประสาครู ... แบบผ่อนคลาย สบาย ๆ ท่ามกลางหาดทรายและสายลม ... บุ๋ย...
อาคารที่พักหลังใหม่ รองรับได้น่าจะเป็นร้อยครับ
ห้องประชุมกลางแจ้ง คราวนี้ไม่ได้ใช้ครับ หากจัดค่ายนิสิตคราวหน้า มาใช้แน่...
๒) หลักสูตร 3PBL
หลักสูตร 3PBL เป็นเพียง "แนวคิด" ของการจัดการเรียนรู้ คล้ายกับที่ STEM ที่เป็นแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในยุคใหม่ การจัดการเรียนรู้แบบ ๓PBL เป็นหลักคิดและหลักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (ทักษะการเรียนรู้ (การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม) ทักษะชีวิต และทักษะการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาและสื่อสาร) ดังนั้น รูปแบบประสบการณ์แห่งความสำเร็จหรือ BP ของแต่ละโรงเรียนอาจแตกต่างกันไป เกิดโมเดลหรือรูปแบบใหม่ ๆ ตามแต่การนำไปใช้ในบริบทที่ต่างกัน
BP ที่นำมาเสนอในการอบรมพัฒนาครูในเวทีนี้ คือ 3PBL ของทีมครูเพ็ญศรี ใจกล้า และทีมงานจากโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ท่านนำเสนอโมเดลนี้ดังสไลด์ด้านล่าง
เพื่อให้เข้าใจและนำไปใช้ในง่ายขึ้น ผมวาดรูปขึ้นมาสองรูป รูปแรกเสนอหลักการของ 3PBL รูปที่สองเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการนำ 3PBL ไปใช้ในกรณีของครูเพ็ญศรีและทีม ผมเพิ่มเติมอีกนิดเดียวในขั้นตอนท้าย ๆ เพื่อเน้นย้ำเป้าหมายให้ผู้เรียนคิด ทำ นำเสนอ ด้วยตนเองจริง ๆ
ในการอบรม ๒ วันนี้ เราพยายามจะสื่อสาร "กระบวนการ" ให้ครูเข้าใจและสามารถนำไปใช้กับนักเรียนของตนเอง ดังนั้นกิจกรรมเปิดใจสร้างแรงบันดาลใจ หรือรวมถึงละลายพฤติกรรม จึงเน้นเป็นเพียงการสาธิต
ผมคิดว่า ครูที่เข้าร่วมอบรมจะเข้าเมื่อได้อ่านบันทึกนี้ แม้จะไม่มีรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม แต่น่าจะทำให้ท่านได้ทบทวนและมีไฟที่จะเริ่มลงมือทำได้แน่
๓) กิจกรรมเรียกสติ รวมสมาธิ สร้างความสนุก (กิจกรรมละลายพฤติกรรม)
มีหลายกิจกรรมที่แสน (ธีระวุฒิ ศรีมังคละ) ลูกศิษย์ครูเพ็ญศรี และครูกุ้ง สุกัญญา นำมาใช้ในการละลายพฤติกรรม เรียงลำดับดังนี้
- ปรบมือเรียกสติ มีหลากหลายวิธี หลักการคือ สร้างสัญลักษณ์วจนะภาษาขึ้นมานำการกระทำทางกาย เช่น ถ้าได้ยินคำว่า "แปะ" ให้ปรบมือ ได้ยินคำว่า "แกะ" ไม่ปรบมือ เป็นต้น
- ปรบมือดึงสมาธิ หลักคือ เชื่อมโยงเอาความรู้เดิมที่ผู้เรียนรู้ทุกคน มานำการกระทำทางกาย เหมือนการกระทำเรียกสติ แต่ให้ผู้เรียนได้ตั้งใจคิดมากขึ้น เช่น ปรบมือตามจำนวนขาของสัตว์ที่ได้ยิน "ปรบมือหมา" คือปรบมือ ๔ ครั้ง "ปรบมือกิ๊งกือ" คือ ปรบมือรัว ๆ เป็นต้น
- กิจกรรมคู่แข่งขัน คือ กิจกรรมอะไรก็ได้ที่ใส่การแข่งขันระหว่างคู่ที่หันหน้าหากัน เช่น สัตว์บกสัตวน้ำ เอามือสลับหว่างกัน ให้คนหนึ่งเลือกสัตว์บก อีกคนเลือกสัตว์น้ำ เมื่อกระบวนกรพูดสัตว์ขึ้นมา หากเป็นสัตว์ที่ตนเลือกให้ปรบตีมือเพื่อนแรงๆ หากไม่ใช่ให้ยกมือออก ความสำเร็จและความผิดพลาดจากการแข่งขันนิด ๆ ทำให้สนุกพอสมควร
- กิจกรรมทำให้รู้จักกัน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น
- กิจกรรมดอกไม้ ๕ กลีบ เริ่มด้วยการแจกกระดาษ A4 ให้คนละแผ่นพร้อมสี ให้วาดดอกไม้มี ๕ กลีบดอก โดยใส่หมายเลขลำดับกำกับไว้ด้วย แล้วเขียนบอกชื่อคนที่อยากรู้จักไว้กลีบละคน จากนั้น ให้วิ่งไปถามคนคนนั้นด้วยคำถามที่กำหนดให้ไปทีละคำถาม ๆ เช่น ให้ไปถามว่า "ฉันมีหน้าตาเหมือนดาราคนไหน? " เป็นต้น
- กิจกรรมผึ้งแตกรัง เริ่มโดยให้ จับกลุ่ม ๓ คน สองคนหันหน้าเข้าหากันจับมือเป็นวง สมมติเป็น "รัง" อีกคนให้ยืนอยู่กลางวงแขน เป็นตัว "ผึ้ง" ให้แนะนำคัวทำความรู้จักกัน รอฟังเมื่อกระบวนกรบอก "ผึ้งแตกรัง" ให้ "ผึ้ง" บินนี้ไปหารังใหม่ภายในเวลากำหนด แล้วก็แนะนำตัวกันต่อไป ถ้าได้ยินคำว่า "รังแตกผึ้ง" ยืนนิ่งที่่เดิม เป็นส่วนรังที่ต้องเดินไปสวมวงแขนเอาผึ้งตัวใหม่ โดยที่มือยังจับกันไว้แน่น จนกว่าจะได้ยินคำว่า "รังระเบิด" ค่อยแตกมือร้องเสียงโฮ่ ไปหาเพื่อนทำรังใหม่ต่อไป
- ฯลฯ
๔) กิจกรรมเรียนรู้ด้วยกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยกิจกรรม เป็นวิธีหนึ่งของการจัดการเรียนรู้แบบตื่นตัว (Active Learning) ที่กำลังเป็นกระแสสุด ๆ ในตอนนี้ หลักคิดคือ ตั้งเป้าหมายหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ก่อนว่าต้องการ ความรู้ ทักษะ หรือเจตคติอะไร จากนั้นก็คิดออกแบบกิจกรรมที่หนุนให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำ ไดร่วมสะท้อน แลกเปลี่ยน และนำเสนออภิปรายในเรื่องนั้น ๆ เช่น กิจกรรมดังต่อไปนี้ ที่แสนและครูกุ้งนำมาใช้
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้วยกิจกรรม "แปลงร่าง" วิธีการคือให้จับกลุ่มกัน แล้วแปลงร่างเป็นสัตว์หรือสิ่งชนิดต่าง ๆ ที่กระบวนกรตั้งโจทย์ให้ เช่น แปลงร่างเป็นดอกไม้ เป็นไดโนเสาร์ เป็นสัตว์ต่างดาว ฯลฯ
- ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม ด้วยกิจกรรม "ของสองสิ่ง" วิธีการคือ เอาสิ่งของสองอย่างใส่ไว้ในซองกระดาษทึบสี แล้วให้แต่ละกลุ่มคิดหาวิธีสร้างนวัตกรรมด้วยความคิดดี ๆ จากของสองอย่างนั้น
- ฯลฯ
กิจกรรม "ของสองสิ่ง" เป็นกิจกรรมหลักสำคัญสำหรับการอบรมนี้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังไม่ใช่แค่แนะนำวิธีการให้ครูไปใช้ แต่อยากให้ครูได้ความรู้ความเข้าใจและได้ฝึกเกี่ยวกับ "ความคิดสร้างสรรค์" และ "การสร้างนวัตกรรม" ในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นเป้าหมายและทิศทางเดียวกันกับ "ประเทศไทย ๔.๐"
ผมขอเสนอภาพสองภาพต่อไปนี้เพื่อให้ครูเอาไว้เป็นเครื่องมือพิจารณาประกอบการให้คำแนะนำต่อผลงานของนักเรียน
ภาพแรกแสดงองค์ประกอบ ๔ ประการของความคิดสร้่างสรรค์ ภาพที่สองเป็นประเภทหรือระดับของการคิดิสร้างสรรค์ ตามทฤษฎีของศาสตราจารย์กิลฟอร์ด (Guilord) นักจิตวิทยาเชาวอเมริกัน (ซึ่งความจริงผมเคยเขียนไว้แล้วที่นี่) ท่านเสนอไว้ตั้งแต่ ปี 1967 หรือ ๔๐ ปีที่แล้ว
ขอจบตอนเท่านี้ก่อนครับ บันทึกหน้ามา AAR ผลการอบรมครูกันครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น