บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2017

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๘) : กิจกรรมพัฒนานิสิต

รูปภาพ
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เราได้โอกาสจาก รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต อาจารย์ ดร.มลฤดี เชาวรัตน์ มาเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ในหัวเรื่อง "กิจกรรมพัฒนานิสิต"  ท่านได้ให้รายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับกิจกรรมนิสิตที่นิสิตควรจะรู้ ก่อนจะสรุปประเด็นความรู้ที่ท่านนำมาบรรยาย ขอให้นิสิตศึกษาข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับ "กิจกรรมพัฒนานิสิต" ในบันทึกนี้ ความเป็นมาของกิจกรรมพัฒนานิสิต   ( ที่มา: กองกิจการนิสิต. คู่มือกิจกรรมนิสิต. พ.ศ. ๒๕๕๔, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม) แต่เดิม กิจกรรมพัฒนานิสิต กิจกรรมที่จัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร หรือเรียกว่า "กิจกรรมนอกหลักสูตร" (Extracurriculum Activities) โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเสมือนเครื่องมือในการสนับสนุนและส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ต่อมากิจกรรมนอกหลักสูตรได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลว่า เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยบ่มเพาะให้นิสิตเกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองทั้งด้านการเรียนการดำเนินชีวิต ไม่เพียงแต่เป็นคนเก่ง แต่ยังเป็นคนดีด้วย จึ

LLEN มหาสารคาม : วัน "เปิดป่า" การศึกษาบนฐานปัญหาจริงในชุมชน

รูปภาพ
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน "เปิดป่า" ที่จัดโดยนักเรียนกลุ่ม "ฮักนะเชียงยืน" โดยการสนับสนุนใน "โครงการซัมซุงสร้างพลังเรียนรู้สู่อนาคต" ของบริษทสยามแนทิส จำกัด (ผู้สนใจศึกษาต่อ ที่นี่ ) และโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ซึ่งดูแลโดย "ครูโค้ช" ครูเพ็ญศรี ใจกล้าและทีม กิจกรรม "เปิดป่า" เป็นงานนำเสนอผลงานของกลุ่มนักเรียนจาก ๖ โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการ "โรงเรียนซัมซุง" หรือโครงการซับซุงสร้างพลังเรียนรู้สู่อนาคต ที่ขยายผลจากความสำเร็จของกลุ่มฮักนะเชียงยืนที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวในปีการศึกษาที่ผ่านมา ความสำเร็จในที่นี้ หมายถึง ความสำเร็จในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเรียนรู้แบบใหม่ นักเรียนเรียนรู้แบบใหม่ ใช้ปัญหาจริง ๆ ในชุมชนและสังคม เป็นฐานในการเรียนรู้  ผลงานตัวอย่าง แสดงดังคลิบด้านล่าง นักเรียนกลุ่มฮักนะเชียงยืนใช้ป่าชุมชนโคกหนองคองเป็นหล่งเรียนรู้ ผมเคยเขียนกระบวนการเรียนรู้และขยายผลประสบการณ์พวกเขาไว้ ที่นี่   โดยมีขั้นตอนการดำเนินโครงการดังแผนภาพด้านล่าง วันนี้คือกิจกรรมที่ ๖. เปิดเวที ที่ต

รายวิชาศึกษาทั่วไป : วิชา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน _๐๘ : เอกสารไว้อ่านสอบกลางภาค

รูปภาพ
ในขณะปัจจุบันสำนักศึกษาทั่วไป ไม่มีนโยบายในการผลิตเอกสารประกอบการสอนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ตามเนื้อหาหลักที่กำหนดใน มคอ.๓   บทเรียนที่ ๑ ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการเผยแพร่อยู่แล้วทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คลิก ที่นี่   บทเรียนที่ ๒ เรื่องแนวคิดมหาวิทยาลัยกับการใช้สังคมในบริบทของโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักการและความเป็นมาจำนวนไม่กี่หน้ากระดาษ ซึ่งคัดลอกมาจากผลงานของอดีตอธิการบดี รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต สามารถดาวโหลดได้ ที่นี่   กรณีตัวอย่างของโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรนั้น มีจำนวนมาก แตกต่างกันไปตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคณะ-วิทยาลัย  อย่างไรก็ตามนิสิตก็สามารถสืบค้นได้ด้วยตนเอง ส่วนบทเรียนที่ ๓ เรื่องเครื่องมือและเทคนิคการลงชุมชน ที่ประชุมอาจารย์ผู้สอนมีมติให้เน้นการฝึกทักษะมากกว่าการท่องจำเนื้อหา จึงกำหนดเนื้อหาในการประเมินด้วยแบบทดสอบกลางภาคเรียนเฉพาะเครื่องมือพื้นฐาน ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย เท่านั้น ในส่วนเครื่องมือศึกษาชุมชนให้เป็นดุลพินิจของแต่ละคณะในการทดสอ

วิทยาศาสตร์ที่ยังไม่สมบูรณ์

รูปภาพ
ฟิสิกส์ หรือ Physics คือวิชาศึกษาธรรมชาติ เกือบทั้งหมดที่ผ่านมาศึกษาในมุมมองด้านกายภาพ (Physical Science) ยิ่งเรียนรู้ไป นักฟิสิกส์ยิ่งรู้ว่าตนเองไม่รู้  ยิ่งศึกษาไป ยิ่งรู้ว่าสิ่งที่ไม่รู้นั้นมากมายมหาศาลนัก นักฟิสิกส์มีชื่อเสียงหลายคนหันไปใช้มุมมองใหม่ในการศึกษา และหยุดลงตรงความน่าทึ่งของคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับไอสไตน์ “Buddhism has the characteristics of what would be expected in a cosmic religion for the future: It transcends a personal God, avoids dogmas and theology; it covers both the natural and spiritual; and it is based on a religious sense aspiring from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity" (Einstein)  ( ที่มา ) "ศาสนาแห่งจักรวาลควรจะมีลักษณะเดียวกับที่พุทธศาสนามี คือ อยู่เหนือการนับถือพระเจ้าแบบตัวตน ไม่ได้สอนให้เชื่อตาม ๆ กันตามหลักศาสนาหรือสอนให้บูชาเทพเทวดาเป็นหลักใหญ่ ครอบคลุมทั้งด้านธรรมชาติและจิตวิญญาณ ตั้งอยู่บนสามัญสำนึกที่เกิดจากประสบการณ์ของสิ่งทั้งปวง มองทุกอย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกัน"

รายวิชาศึกษาทั่วไป : วิชา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน _๐๗ : รศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ คุยเรื่องความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม

รูปภาพ
วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไปเรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ มาบรรยายพิเศษเรื่อง "ประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม" ให้นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน จำนวนกว่า ๗,๐๐๐ คน ที่กระจายอยู่ตามห้องเรียนรวมต่าง ๆ  โดยถ่ายทอดออนไลน์ผ่านระบบของสำนักคอมพิวเตอร์ ออกจากห้องประชุมใหญ่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ รศ.ดร.ทวีศิลป์ เขียนบทความพิเศษ เป็นของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๐ แจกไปยังลูกศิษย์ของท่านและมอบไว้กับผมพร้อมทั้งพาวเวอร์พอยท์ที่ท่านบรรยาย เพื่อให้กระจายไปยังนิสิตที่ลงทะเบียนเรียน นิสิตสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย ซึ่งไม่ได้แจกให้ในวันดังกล่าวได้ที่นี่ ผมเอาคลิปที่ท่านบรรยาย มาจับประเด็นสำคัญ เพื่อเน้นย้ำให้นิสิตได้เรียนรู้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังให้นิสิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยอีสานที่มีรากเหง้าความเป็นมาเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะ ได้รับรู้ประวัติความเป็นมาของตนเองที่เชื่อมโยงอยู่กับความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม   จังหวัดมหาสารคามอยู่กึ่งกลางอีสาน แต่ไม่ได้เป็นศูนย์กลางทางการค้า  ไปไหนมาไหนใช้เวลาเพียง ๒ ชั่