แลกเปลี่ยนหลักการออกข้อสอบ
ระยะนี้ นิสิตชั้นปี ๔ กำลังฝึกฝนการทำเครื่องมือจัดการเรียนการสอน ผมมีโอกาสได้ร่วมเรียนรู้กับนิสิตหลายกลุ่มในฐานะ "ผู้เชี่ยวชาญดูเครื่องมือ" ด้วยวิธีที่เขาเรียกสั้น ๆ ว่า IOC ที่ย่อมาจาก Index of Item - Objective Congruence (การหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอนคล้อง) ซึ่งเป็นการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เครื่องมือที่ผู้เรียนด้านการศึกษาใช้พัฒนาข้อสอบ
กระบวนการโดยย่อคือ นิสิตจะออกข้อสอบแล้วนำมาถามเราว่า ข้อสอบข้อนั้น ๆ ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ ? ถ้าใช่ให้คะแนน +1 ถ้าไม่ใช่ให้ -1 ถ้าไม่แน่ใจให้ 0 นิสิตผู้ทำข้อสอบจะเอาคะแนนไปรวม แล้วหารด้วยจำนวน "ผู้เชี่ยวชาญ" ถ้าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 0.5 แสดงว่าใช้ไม่ได้ "ไม่เที่ยงตรงตามวัตถุประสงค์"
ผมพบว่า ข้อสอบที่นิสิตคิดมา ส่วนใหญ่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ แต่ในใจผมรู้สึกว่า "ไม่ดี" วันนี้จึงอยากเสนอ "หลักคิด" และ "หลักปฏิบัติ" ในการออกข้อสอบ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนิสิตนำไปพิจารณาใช้ต่อไป
ความรู้ที่จำเป็นเบื้องต้น
ให้ทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมต่อไปนี้ก่อน
หลักการในการออกสอบเพื่อให้ตรงวัตถุประสงค์ประเภท (ภาคความรู้)
ขอเสนอวิธีการฝึกออกข้อสอบ ๓ แบบจากง่ายไปยาก ดังนี้
แบบที่ ๑) ถามตรง ๆ ก่อน ถามทวนวัตถุประสงค์ตรง ๆ ถามง่ายตอบยาก ได้แก่
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ : นักเรียนบอกหลักการเกิดเสียงได้ (ป.๕-ป.๖)
คำถาม : ข้อใดบอกหลักการเกิดเสียงได้ถูกต้องที่สุด ?
ตัวเลือก : ก. เสียงเกิดจากการสั้นสะเทือนของวัตถุ
ข.เสียงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ
ค.เสียงเกิดจากการเคลื่อนที่ของลมหรืออากาศ
ง.เสียงเกิดจากเสียดสีหรือกระทบกันของวัตถุสองชนิดขึ้นไป
วิธีนี้ถามง่าย แต่ตอนที่สร้างตัวเลือกจะยาก (สร้างตัวเลือกตอบยาก) หากผู้ออกข้อสอบไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ ตัวเลือกที่ได้จะทำให้ได้ข้อสอบแบบ "ง่าย" ทันที
ขั้นที่ ๒) ถามให้คิดก่อนตอบ คือ ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ เทคนิคง่าย ๆ คือ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางประการ แล้วถามถึงการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนไป หรือถามถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสิ่งนั้น ๆ หรือถามให้คิดบอกเหตุผล มักใช้กับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่เกิดจากความเข้าใจ หรือนำไปใช้ ถามยากแต่ตัวเลือกตอบง่าย เช่น
วัตถุประสงค์ : นักเรียนสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของเสียงกับความถี่เสียงได้
คำถาม : ลักษณะของเสียงจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อความถี่สูงเสียงสูงขึ้น (ป.๕-ป.๖)
ตัวเลือก : ก. เสียงสูงขึ้น
ข. เสียงต่ำลง
ค. เสียงดังขึ้น
ง. เสียงเบาลง
แบบที่ ๓) ถามการนำไปใช้ ถามประสบการณ์ ให้เอาคำตอบที่ถูกต้องมาให้พิจารณา ปรับแต่งหรือขยายความ แล้วดัดแปลงให้เป็นคำถาม โดยใช้คำถามว่า .... อย่างไร? จะเกิดอะไร? ถูกต้องหรือไม่? ฯลฯ เช่น
ตัวอย่าง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ : นักเรียนบอกหลักการเกิดเสียงได้ (ป.๕-ป.๖)
คำถาม : การสั่นสะเทือนของวัตถุในอากาศ ทำให้เกิดเสียงหรือไม่ อย่างไร?
ตัวเลือก : ก. ไม่เกิดเสียง
ข. เกิดเสียงเสมอ
ค. ไม่เกิดเสียง ต้องมีวัตถุมากระทบ
ง. เกิดเสียงเฉพาะเมื่อสั่นเร็วและแรงเพียงพอเท่านั้น
หลักการในการออกข้อสอบ (ภาคทดสอบทักษะ)
แบ่งเป็น ๓ แบบ จากง่ายไปยากเช่นกัน ได้แก่ ๑) ถามประสบการณ์ตรง ๆ (เคยทำไหม?) ๒) สร้างสถานการณ์ปัญหาให้แก้ไข เพื่อตรวจสอบวิธีการและขั้นตอนการแก้ไข ทำอย่างไร? ต้องใช้อะไร? ต้องใช้เมื่อไหร่ ต้องใช้อย่างไร? ฯลฯ ๓) ถามถึงเทคนิค หรือข้อควรระวัง ข้อผิดพลาด หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ ฯลฯ
ผู้รู้คิดอย่างไร แลกเปลี่ยนกันได้ครับ....
กระบวนการโดยย่อคือ นิสิตจะออกข้อสอบแล้วนำมาถามเราว่า ข้อสอบข้อนั้น ๆ ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ ? ถ้าใช่ให้คะแนน +1 ถ้าไม่ใช่ให้ -1 ถ้าไม่แน่ใจให้ 0 นิสิตผู้ทำข้อสอบจะเอาคะแนนไปรวม แล้วหารด้วยจำนวน "ผู้เชี่ยวชาญ" ถ้าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 0.5 แสดงว่าใช้ไม่ได้ "ไม่เที่ยงตรงตามวัตถุประสงค์"
ผมพบว่า ข้อสอบที่นิสิตคิดมา ส่วนใหญ่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ แต่ในใจผมรู้สึกว่า "ไม่ดี" วันนี้จึงอยากเสนอ "หลักคิด" และ "หลักปฏิบัติ" ในการออกข้อสอบ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนิสิตนำไปพิจารณาใช้ต่อไป
ความรู้ที่จำเป็นเบื้องต้น
ให้ทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมต่อไปนี้ก่อน
- ถ้าวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนรู้เขียนว่า "สามารถบอก......ได้ " แสดงว่า ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนคือ "ความรู้" (knowledge) ในั้นเรื่องนั้น ๆ
- ถ้าวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของการเรียนรู้เขียนว่า "สามารถอธิบาย.....ได้ " แสดงว่า ผลลัพธ์ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีคือ "ความเข้าใจ" (understanding) ตามนัยหมายถึง ผู้นั้นสามารถคิดวิเคราะห์ในเรื่องนั้น ๆ ได้
- ถ้าวัตถุประสงค์ฯ เขียนว่า "สามารถ...(คิดและทำ)....ได้ " แสดงว่า ผลลัพธ์ที่ต้องการคือ "ทักษะ" (Skill)
หลักการในการออกสอบเพื่อให้ตรงวัตถุประสงค์ประเภท (ภาคความรู้)
ขอเสนอวิธีการฝึกออกข้อสอบ ๓ แบบจากง่ายไปยาก ดังนี้
แบบที่ ๑) ถามตรง ๆ ก่อน ถามทวนวัตถุประสงค์ตรง ๆ ถามง่ายตอบยาก ได้แก่
- "ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง ? " หรือ "ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด" หรือ "ข้อใดอธิบาย.... ได้ถูกต้อง"
- "ข้อใดคือนิยามของ..... " หรือ
- "ข้อใดคือความหมายของ...... " หรือ
- "ข้อใดคือความสัมพันธ์ระหว่าง..... " หรือ
- "ข้อใดบอก......... ได้ถูกต้อง"
- .... สิ่งนี้ ๆ ...คืออะไร ?
- ฯลฯ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ : นักเรียนบอกหลักการเกิดเสียงได้ (ป.๕-ป.๖)
คำถาม : ข้อใดบอกหลักการเกิดเสียงได้ถูกต้องที่สุด ?
ตัวเลือก : ก. เสียงเกิดจากการสั้นสะเทือนของวัตถุ
ข.เสียงเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุ
ค.เสียงเกิดจากการเคลื่อนที่ของลมหรืออากาศ
ง.เสียงเกิดจากเสียดสีหรือกระทบกันของวัตถุสองชนิดขึ้นไป
วิธีนี้ถามง่าย แต่ตอนที่สร้างตัวเลือกจะยาก (สร้างตัวเลือกตอบยาก) หากผู้ออกข้อสอบไม่เข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ ตัวเลือกที่ได้จะทำให้ได้ข้อสอบแบบ "ง่าย" ทันที
ขั้นที่ ๒) ถามให้คิดก่อนตอบ คือ ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ เทคนิคง่าย ๆ คือ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางประการ แล้วถามถึงการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนไป หรือถามถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสิ่งนั้น ๆ หรือถามให้คิดบอกเหตุผล มักใช้กับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่เกิดจากความเข้าใจ หรือนำไปใช้ ถามยากแต่ตัวเลือกตอบง่าย เช่น
วัตถุประสงค์ : นักเรียนสามารถบอกความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของเสียงกับความถี่เสียงได้
คำถาม : ลักษณะของเสียงจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อความถี่สูงเสียงสูงขึ้น (ป.๕-ป.๖)
ตัวเลือก : ก. เสียงสูงขึ้น
ข. เสียงต่ำลง
ค. เสียงดังขึ้น
ง. เสียงเบาลง
แบบที่ ๓) ถามการนำไปใช้ ถามประสบการณ์ ให้เอาคำตอบที่ถูกต้องมาให้พิจารณา ปรับแต่งหรือขยายความ แล้วดัดแปลงให้เป็นคำถาม โดยใช้คำถามว่า .... อย่างไร? จะเกิดอะไร? ถูกต้องหรือไม่? ฯลฯ เช่น
ตัวอย่าง
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ : นักเรียนบอกหลักการเกิดเสียงได้ (ป.๕-ป.๖)
คำถาม : การสั่นสะเทือนของวัตถุในอากาศ ทำให้เกิดเสียงหรือไม่ อย่างไร?
ตัวเลือก : ก. ไม่เกิดเสียง
ข. เกิดเสียงเสมอ
ค. ไม่เกิดเสียง ต้องมีวัตถุมากระทบ
ง. เกิดเสียงเฉพาะเมื่อสั่นเร็วและแรงเพียงพอเท่านั้น
หลักการในการออกข้อสอบ (ภาคทดสอบทักษะ)
แบ่งเป็น ๓ แบบ จากง่ายไปยากเช่นกัน ได้แก่ ๑) ถามประสบการณ์ตรง ๆ (เคยทำไหม?) ๒) สร้างสถานการณ์ปัญหาให้แก้ไข เพื่อตรวจสอบวิธีการและขั้นตอนการแก้ไข ทำอย่างไร? ต้องใช้อะไร? ต้องใช้เมื่อไหร่ ต้องใช้อย่างไร? ฯลฯ ๓) ถามถึงเทคนิค หรือข้อควรระวัง ข้อผิดพลาด หรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ ฯลฯ
ผู้รู้คิดอย่างไร แลกเปลี่ยนกันได้ครับ....
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น