วิทยาศาสตร์ที่ยังไม่สมบูรณ์
ฟิสิกส์ หรือ Physics คือวิชาศึกษาธรรมชาติ เกือบทั้งหมดที่ผ่านมาศึกษาในมุมมองด้านกายภาพ (Physical Science) ยิ่งเรียนรู้ไป นักฟิสิกส์ยิ่งรู้ว่าตนเองไม่รู้ ยิ่งศึกษาไป ยิ่งรู้ว่าสิ่งที่ไม่รู้นั้นมากมายมหาศาลนัก นักฟิสิกส์มีชื่อเสียงหลายคนหันไปใช้มุมมองใหม่ในการศึกษา และหยุดลงตรงความน่าทึ่งของคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับไอสไตน์
“Buddhism has the characteristics of what would be expected in a cosmic religion for the future: It transcends a personal God, avoids dogmas and theology; it covers both the natural and spiritual; and it is based on a religious sense aspiring from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity" (Einstein) (ที่มา)
"ศาสนาแห่งจักรวาลควรจะมีลักษณะเดียวกับที่พุทธศาสนามี คือ อยู่เหนือการนับถือพระเจ้าแบบตัวตน ไม่ได้สอนให้เชื่อตาม ๆ กันตามหลักศาสนาหรือสอนให้บูชาเทพเทวดาเป็นหลักใหญ่ ครอบคลุมทั้งด้านธรรมชาติและจิตวิญญาณ ตั้งอยู่บนสามัญสำนึกที่เกิดจากประสบการณ์ของสิ่งทั้งปวง มองทุกอย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกัน" (ไอสไตน์)
วิทยาศาสตร์ คือวิชา ที่ว่าด้วยการศึกษาสรรพสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นจากกระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มจากการตั้งปัญหาและหาคำตอบด้วยการพิสูจน์ทดลองค้นหาหลักฐานเพื่อยืนยันเหตุ-ผลของตนจนเกิดกลายเป็นองค์ความรู้เช่น ทฤษฎี กฎ ฯลฯ
วิทยาศาสตร์ปัจจุบันแบ่งเป็นสาขาหลัก ๆ ๓ สาขา คือ วิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ดาราศาสตร์ ฯลฯ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เช่น ชีววิทยา จุลชีววิทยา ฯลฯ และวิทยาศาสตร์สังคม เช่น สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ฯลฯ
ในคำสอนของพระพุทธศาสนาแบ่งพรหมแดนแห่งความรู้หรือนิยมของสรรพสิ่งออกเป็น ๕ องค์ประกอบ เรียกว่า นิยาม ๕ ประการ ได้แก่ (คัดลอกจาก www.84000.org/tipitaka/)
1. อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ — physical inorganic order; physical laws)
2. พีชนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ มีพันธุกรรมเป็นต้น — physical organic order; biological laws)
3. จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต — psychic law)
4. กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ — order of act and result; the law of Kamma; moral laws)
5. ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย — order of the norm; the general law of cause and effect; causality and conditionality) (ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))
พิจารณาเทียบเคียงกับวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน จะพบว่า อุตุนิยามคือวิทยาศาสตร์กายภาพ พีชนิยามคือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จิตตนิยามคือวิทยาศาสตร์สังคม ส่วน กรรมนิยามและธรรมนิยามนั้น วิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไปไม่ถึง ด้วยเหตุนี้ผมจึง บอกว่า วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั้นไม่สมบูรณ์
ถ้าแสดงแนวคิดนี้ด้วยรูปภาพ น่าจะได้ดังรูปด้านบน มีกรอบเหนียวอยู่หน้าอยู่ ๒ ชั้น เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นรูปและชั้นนาม หรือเรียกกายกับใจ หรืออาจเรียกว่า กายภาพกับจิตวิญญาณ ก็ได้
ในชั้นนามหรือจิตวิญญาณ ตามหลักศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็น ๔ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในทางวิทยาศาสตร์ เวทนา น่าจะเป็นความรู้สึก (สุข-ทุกข์) สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สังขารคือความคิด ส่วนวิญญาณคือจิต
ในทางพุทธศาสนา ยานพาหนะในการเดินทางไกลไปสู่เป้าหมายมักเปรียบเป็น "เรือ" คือต้องมีเรือพาไป ในทางวิทยาศาสตร์น่าจะเรียกว่า "เครื่องมือ" เครื่องมือในการเรียนรู้คือ "จิต" ทำหน้าที่ "รู้" ในที่นี้ก็คือ "รู้ไตรลักษณ์" และสุดท้ายคือ "รู้อัริยสัจ" หรือความจริงสูงสุด
สิ่งที่วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันขาดไปคือ ปัญญาเกี่ยวกับ "จิต" นี้เอง ความรู้ส่วนใหญ่เกิดจากการคิด การคิดเป็นเหตุเป็นผล สังเคราะห์คิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำทางกายภาพ ดังนั้นหากนักวิทยาศาสตร์ไม่หันมาสนใจเรื่องพุทธศาสนาที่สอนเรื่อง "จิต" ก็ยังจะต้องติดใน "ความคิด" ต่อไป .... คือติดอยู่วงในต่อไปเรื่อย ๆ
ในทางพุทธศาสนา การเดินทางคือ การเจริญสติภาวนา เจริญสติปัฏฐาน ๔ วิธีที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่สุดคือ "การดูจิต" ตามแนวทางของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช วิธีนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะสามารถทำลายกรอบวงใน "รู้ว่ากายใจไม่ใช่ของตน" และ "รู้ความจริงสูงสุดคืออริสัจ ๔" ทลายกรอบนอก ออกไปสู่นิพพานได้
ดังนั้น... ผู้ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นมหากุศลในชีวิตจริง ๆ
“Buddhism has the characteristics of what would be expected in a cosmic religion for the future: It transcends a personal God, avoids dogmas and theology; it covers both the natural and spiritual; and it is based on a religious sense aspiring from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity" (Einstein) (ที่มา)
"ศาสนาแห่งจักรวาลควรจะมีลักษณะเดียวกับที่พุทธศาสนามี คือ อยู่เหนือการนับถือพระเจ้าแบบตัวตน ไม่ได้สอนให้เชื่อตาม ๆ กันตามหลักศาสนาหรือสอนให้บูชาเทพเทวดาเป็นหลักใหญ่ ครอบคลุมทั้งด้านธรรมชาติและจิตวิญญาณ ตั้งอยู่บนสามัญสำนึกที่เกิดจากประสบการณ์ของสิ่งทั้งปวง มองทุกอย่างเชื่อมโยงเป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกัน" (ไอสไตน์)
วิทยาศาสตร์ คือวิชา ที่ว่าด้วยการศึกษาสรรพสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นจากกระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มจากการตั้งปัญหาและหาคำตอบด้วยการพิสูจน์ทดลองค้นหาหลักฐานเพื่อยืนยันเหตุ-ผลของตนจนเกิดกลายเป็นองค์ความรู้เช่น ทฤษฎี กฎ ฯลฯ
วิทยาศาสตร์ปัจจุบันแบ่งเป็นสาขาหลัก ๆ ๓ สาขา คือ วิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ดาราศาสตร์ ฯลฯ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เช่น ชีววิทยา จุลชีววิทยา ฯลฯ และวิทยาศาสตร์สังคม เช่น สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ฯลฯ
ในคำสอนของพระพุทธศาสนาแบ่งพรหมแดนแห่งความรู้หรือนิยมของสรรพสิ่งออกเป็น ๕ องค์ประกอบ เรียกว่า นิยาม ๕ ประการ ได้แก่ (คัดลอกจาก www.84000.org/tipitaka/)
1. อุตุนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ — physical inorganic order; physical laws)
2. พีชนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ มีพันธุกรรมเป็นต้น — physical organic order; biological laws)
3. จิตตนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต — psychic law)
4. กรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ — order of act and result; the law of Kamma; moral laws)
5. ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย — order of the norm; the general law of cause and effect; causality and conditionality) (ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))
พิจารณาเทียบเคียงกับวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน จะพบว่า อุตุนิยามคือวิทยาศาสตร์กายภาพ พีชนิยามคือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จิตตนิยามคือวิทยาศาสตร์สังคม ส่วน กรรมนิยามและธรรมนิยามนั้น วิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไปไม่ถึง ด้วยเหตุนี้ผมจึง บอกว่า วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั้นไม่สมบูรณ์
ถ้าแสดงแนวคิดนี้ด้วยรูปภาพ น่าจะได้ดังรูปด้านบน มีกรอบเหนียวอยู่หน้าอยู่ ๒ ชั้น เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นรูปและชั้นนาม หรือเรียกกายกับใจ หรืออาจเรียกว่า กายภาพกับจิตวิญญาณ ก็ได้
ในชั้นนามหรือจิตวิญญาณ ตามหลักศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็น ๔ ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในทางวิทยาศาสตร์ เวทนา น่าจะเป็นความรู้สึก (สุข-ทุกข์) สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สังขารคือความคิด ส่วนวิญญาณคือจิต
ในทางพุทธศาสนา ยานพาหนะในการเดินทางไกลไปสู่เป้าหมายมักเปรียบเป็น "เรือ" คือต้องมีเรือพาไป ในทางวิทยาศาสตร์น่าจะเรียกว่า "เครื่องมือ" เครื่องมือในการเรียนรู้คือ "จิต" ทำหน้าที่ "รู้" ในที่นี้ก็คือ "รู้ไตรลักษณ์" และสุดท้ายคือ "รู้อัริยสัจ" หรือความจริงสูงสุด
สิ่งที่วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันขาดไปคือ ปัญญาเกี่ยวกับ "จิต" นี้เอง ความรู้ส่วนใหญ่เกิดจากการคิด การคิดเป็นเหตุเป็นผล สังเคราะห์คิดจากประสบการณ์การลงมือกระทำทางกายภาพ ดังนั้นหากนักวิทยาศาสตร์ไม่หันมาสนใจเรื่องพุทธศาสนาที่สอนเรื่อง "จิต" ก็ยังจะต้องติดใน "ความคิด" ต่อไป .... คือติดอยู่วงในต่อไปเรื่อย ๆ
ในทางพุทธศาสนา การเดินทางคือ การเจริญสติภาวนา เจริญสติปัฏฐาน ๔ วิธีที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่สุดคือ "การดูจิต" ตามแนวทางของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช วิธีนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะสามารถทำลายกรอบวงใน "รู้ว่ากายใจไม่ใช่ของตน" และ "รู้ความจริงสูงสุดคืออริสัจ ๔" ทลายกรอบนอก ออกไปสู่นิพพานได้
ดังนั้น... ผู้ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา จึงถือเป็นมหากุศลในชีวิตจริง ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น