รายวิชาศึกษาทั่วไป : วิชา ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน _๐๗ : รศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ คุยเรื่องความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม
วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไปเรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ มาบรรยายพิเศษเรื่อง "ประวัติความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม" ให้นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน จำนวนกว่า ๗,๐๐๐ คน ที่กระจายอยู่ตามห้องเรียนรวมต่าง ๆ โดยถ่ายทอดออนไลน์ผ่านระบบของสำนักคอมพิวเตอร์ ออกจากห้องประชุมใหญ่ คณะสาธารณสุขศาสตร์
รศ.ดร.ทวีศิลป์ เขียนบทความพิเศษ เป็นของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๐ แจกไปยังลูกศิษย์ของท่านและมอบไว้กับผมพร้อมทั้งพาวเวอร์พอยท์ที่ท่านบรรยาย เพื่อให้กระจายไปยังนิสิตที่ลงทะเบียนเรียน นิสิตสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย ซึ่งไม่ได้แจกให้ในวันดังกล่าวได้ที่นี่
ผมเอาคลิปที่ท่านบรรยาย มาจับประเด็นสำคัญ เพื่อเน้นย้ำให้นิสิตได้เรียนรู้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังให้นิสิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยอีสานที่มีรากเหง้าความเป็นมาเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะ ได้รับรู้ประวัติความเป็นมาของตนเองที่เชื่อมโยงอยู่กับความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม
รศ.ดร.ทวีศิลป์ เขียนบทความพิเศษ เป็นของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๐ แจกไปยังลูกศิษย์ของท่านและมอบไว้กับผมพร้อมทั้งพาวเวอร์พอยท์ที่ท่านบรรยาย เพื่อให้กระจายไปยังนิสิตที่ลงทะเบียนเรียน นิสิตสามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย ซึ่งไม่ได้แจกให้ในวันดังกล่าวได้ที่นี่
ผมเอาคลิปที่ท่านบรรยาย มาจับประเด็นสำคัญ เพื่อเน้นย้ำให้นิสิตได้เรียนรู้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมและปลูกฝังให้นิสิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทยอีสานที่มีรากเหง้าความเป็นมาเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะ ได้รับรู้ประวัติความเป็นมาของตนเองที่เชื่อมโยงอยู่กับความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคาม
- จังหวัดมหาสารคามอยู่กึ่งกลางอีสาน แต่ไม่ได้เป็นศูนย์กลางทางการค้า ไปไหนมาไหนใช้เวลาเพียง ๒ ชั่วโมงครึ่งจะถึงทุกจังหวัดในอีสาน
- มหาสารคามเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้แม่น้ำ คือแม่น้ำชี จังหวัดอื่น ๆ จะไม่ได้อยู่ติดแม่น้ำเหมือนมหาสารคาม เนื่องจาก เวลาน้ำหลากน้ำจะท่วม เวลาหน้าแล้งตะลิ่งสูง เช่น ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น ฯลฯ ยกเว้นยโสธ ไปถึงอุบลราชธานี เท่านั้นที่อยู่ริมน้ำ
- เราควรเรียกภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ภาคอีสาน เพราะคำว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ" นั้น มีรากศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศ ผู้ที่ใช้เรียกคือพวกที่มาล่าอาณานิคม ซึ่งแบ่งพื้นที่โลกออกเป็นส่วน ๆ (เรียกว่า Oriented) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่วอชิงตันดีซี ด้วยเหตุผลนี้ จึงเรียกประเทศแถบนี้ว่า "เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ... เช่นเดียวกัน กรุงเทพฯ ก็เรียกเรียนแบบสหรัฐ มองภาคอีสานว่า "ภาคตะวันออเฉียงเหนือ" ในลักษณะของการเรียกอาณานิคมเหมือน
- ดังนั้น เพื่อที่จะได้หลุดออกไปจากแนวคิดข้างต้นนี้ ผู้บรรยายจึงอยากจะใช้คำว่า "ภาคอีสาน" เหมือนกับ ร.๕ ที่ท่านทรงใช้คำนี้ เหมือนกับที่นักวิชาการมักเรียกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า "อุษาคเนย์"
- จังหวัดมหาสารคามไม่มีอุตสาหกรรมหนักใด ๆ แต่ก่อนเป็นจังหวัดที่ค่อนข้างยากจน เป็นที่ฝึกงานของข้าราชการ เป็นเหมือนโรงเรียนฝึกหัด
- ในอดีต จึงเปลี่ยนผู้นำอยู่เรื่อย ไม่มีนโยบายที่แน่นอน เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ จึงไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
- ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นจังหวัดเดียวในภาคอิสานที่ไม่มีภูเขา ไม่มีทะเล
- แต่จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท เรียบง่าย มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ
- จุดเด่นที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคามคือ เป็นหนึ่งในสองของจังหวัดในภาคอีสานที่มีพระบรมสารีริกธาตุคือ พระธาตุนาดูน อีกแห่งคือพระธาตุพนม สองแห่งนี้เท่านั้นที่มีหลักฐานเชิงประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน
- อีกอย่างที่ขึ้นชื่อคือ มีพระพิมพ์ดินเผา ที่มีชื่อเสียง
- จังหวัดมหาสารคาม มีชื่อว่า เป็นเมืองแห่งการศึกษา เรียกกันว่า เมืองแห่งการศึกษา ตักสิลานคร เนื่องจาก ในจังหวัดมีสถานศึกษาจำนวนมาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มรภ.มหาสารคาม วิทยาลัยพละศึกษา วิทยาลัยอาชีวะ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยพยายบาล วิทยาลัยเกษตร โรงเรียนมัธยมที่มีชื่ออีกจำนวนมาก...
- ตักสิลานคร เคยเป็นชื่อเมืองในอินเดีย ที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษา ทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากเมืองตักสิลา จะเป็นที่พึ่งของสังมและประสบผลสำเร็จทุกคน ....
- จังหวัดมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘
- ก่อนจะเป็นเมืองมหาสารคาม เคยมีผู้คนอาศัยอยู่
- ๒,๐๐๐ ปีที่แล้ว นักประวัติศาสตร์พบว่า มีผู้อาศัยอยู่ที่บริเวณบ้านเฉียงเหียน อ.เมือง ในปัจจุบัน มีหลักฐานเป็นหม้อใส่กระดูกคน และพบว่ามีการขุดคลองคูน้ำ
- ๑,๕๐๐ ปีที่ผ่านมา มีคนในอาณาจักรท้าวศรีโคตรบองหรือศรีโคตรบูญลงมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ด้วย จะเห็นได้จากพระธาตุพนมและตำนานสืบเนื่องต่อกันมาเรื่อง ผาแดงนางไอ่
- รูปซ้ายมือสุด คือ ภาพสุดท้ายของพระธาตุพนมที่ถูกถ่ายไว้ตอน ร.๕ (ประมาณ ๑๓๐ ปีที่แล้ว) ก่อนจะบูรณะและทำขึ้นใหม่ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี ๒๔๕๓
- ความประสงค์จะเปลี่ยนจิตใจให้เป็นไทยแท้ จึงดัดแปลงเปลี่ยนรูปทร ง ยืดให้สูงขึ้นอีก ๑๐ เมตร ดังภาพด้านขวา ทับทรงลาวไว้ข้างใน องค์ขวาสุดคือองค์ที่ล้มในปี ๒๔๕๘ ส่วนองค์กลางคือองค์ปัจจุบันที่สร้างขึ้นใหม่
- ๑,๒๐๐ ปีที่แล้ว แถบนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักทวาราวดี จะเห็นได้จาก สถาปัตยกรรม เช่น พระยืนที่กันทรวิชัย
- พระยืนภาพแรกคือพระยืนที่เป็นปัจจุบัน แต่ภาพที่สองคือภาพที่ถ่ายเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว จะเห็นว่า หันหน้าไปคนละทาง
- ๘๐๐ ปีที่แล้ว มีอาณาจักรเขมรเข้ามา เห็นได้จากกู่ต่าง ๆ ที่ยังเหลืออยู่ เช่น กู่บ้านเขวา กู่สันตรัตน์ กู่แก้ว เป็นต้น
- รอบ ๆ มมส. วันนี้เคยเป็นเมืองโบราณ
- ในแต่ละกู่ จะพบพระพุทธเจ้าชื่อว่า พระไภษัชยคุระไวฑูรยประภา เทพแห่งการรักษา ดังภาพ จึงสันนิษฐานว่า กู่เหล่านี้เป็นอโรคยาศาล เป็นที่รักษาผู้ป่วย เหมือนโรงพยาบาล
- รูปด้านบนนี้ถ่ายสมัย ร.๕ เป็นวิถีชีวิตคนอีสาน
- ปี พ.ศ. ๒๒๕๖ มีคนอพยพมาจากร้อยเอ็ด ซึ่งอพยพมาจากสุวรรณภูมิ (อ.สุวรรณภูมิ ในปัจจุบัน) โดยก่อนจะมาอยู่สุวรรณภูมินั้น อยู่ที่นครจำปาสัก ประเทศลาว
- ดังนั้น คนมหาสารคามนั้น มีทั้งที่อาศัยอยู่เดิม อพยพมาใหม่ แต่คนส่วนใหญ่ก็คือ ลาวแท้ ๆ ที่มาจากนครจำปาสัก นั่นเอง
- ก่อนที่เรียกว่า มหาสารคาม แต่ก่อนชื่อว่า บ้านลาดกุดยางใหญ่ ต่อมาเพี้ยนมาเป็น กุดนางใย โดยเชื่อว่า ลูกสาวเจ้าเมืองชื่อ นางใย มาเล่นน้ำที่นี่แล้วถูกเจรเข้กิน เลยเรียกว่า กุดนางใย (ผู้บรรยายเชื่อว่าเป็นเรื่องแต่งมากกว่า)
- ทางกรุงเทพฯ ร.๔ ได้พระราชทานนามมา ในปี ๒๔๐๘
- ผู้บรรยายสันนิษฐานว่า ชื่อ มหาสารคาม มาจากคำว่า กุด - ยาง - ใหญ่ ทางราชการเข้าใจผิดว่า กุด คือ กุฏิ หรือที่อยู่อาศัย จึงใช้คำว่า "คาม" แท้จริงแล้วคำว่า "กุด" คือหนองน้ำหรือลำคลองด้วน (ดังภาพ) ส่วนคำว่า "ยาง" หมายถึงต้นสาละที่เป็นไม้ตะกูลยางจึงใช้คำว่า "สาละ" ส่วนคำว่า "ใหญ่" ตรงกับคำว่า "มหา" จึงกลายมาเป็น "มหาสาลคาม" ซึ่งเขียนเป็น "มหาสารคาม" ในเวลาต่อมา
- อำเภอที่อยู่เหนือสุดคือ อ.ชื่นชม
- อำเภอที่อยู่ใต้สุดคือ อ.พยัคฆภูมิพิสัย
- อำเภอใหม่ที่สุด อ.กุดรัง
- อำเภอที่มีลิงเยอะ อ.โกสุมพิสัย
- อำเภอที่มีปูทูลกระหม่อม อ.นาเชือก
- อำเภอที่มีเกลือมากที่สุดและมีมันแกวมากที่สุด อ.บรบือ
- อำเภอที่มีสะพานไม้เก่าและยาวที่สุด อ.แกดำ
- อำเภอที่มีช่างเจรไนพลอยเก่งที่สุด อ.ยางสีสุราช
- อำเภอที่เป็นบ้านเกิดของ จำลอง ดาวเรือง นักการเมืองที่เก่งมาก อ.วาปี
- อำเภอที่พบพระบรมสารีริกธาตุ อ.นาดูน ที่เชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเนื่องจาก ถูกจัดเก็บอย่างดีด้วยผอบทองคำในผอบเงินในผอบสำฤทธิ์ สามชั้น และมีการเก็บพระพิมพ์จำนวนมากใต้ฐานที่เก็บที่ขุดพบ
- อำเภออะไรมีพระยืนศิลา สมัยทวารวดี อ.กันทรวิชัย
- อำเภออะไรที่คนชอบไปขอนแก่นมากกว่ามา อ.เมือง มหาสารคาม คือ อ.เชียงยืน
- อำเภออะไรที่มีหอนาฬิกาที่สร้างสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ อ.เมือง
- สาเหตุที่ต้องมีหอนาฬิกา คือ สมัยนั้นคนไทยไม่ดูเวลาสากล เอาแต่ตะวันเช้าสายบ่ายเย็นเป็นหลัก จอมพล ป. ต้องการให้คนไทยไปสู่สากล จึงสั่งสร้างหอนาฬิกาทุกเมือง ... หลายเมืองทุบทิ้ง แต่มหาสารคามยังเก็บไว้เหมือนเดิม
- ปี ๒๕๐๘ ที่ตั้งเมืองขึ้น มีเจ้าเมือง ๓ คน คือ ท้าวกวด ท้าวฮึง และ ท้าวอุ่น ทั้งหมดได้รับพระราชทินนามว่า พระเจริญรชเดช สองท่านแรกไม่มีภาพเหลืออยู่ จึงคาดการณ์และปั้นขึ้น ส่วนขวาสุดคือเท้าอุ่น ซึ่งถ่ายในสมัย ร.๔
- ช่วงแรกที่ตั้งเมือง เจ้าเมืองคือเท้ากวด มาอยู่แถวศาลหลักเมือง แต่อยู่ได้เพียง ๖ เดือนก็ต้องย้ายไปอยู่ที่กุดยางใหญ่เพราะไม่มีนำกิน ผู้คนที่อาศัยอยู่เดิมแถวกุดยางใหญ่นับถือ "ปู่ฮื่ม" มีศาลตั้งอยู่แถวบ้านหนองจิก ทางไป อ.บรบือ
- ปู่ฮื่มเป็นลูกน้องของพระยาศรีนครเตา ซึ่งมาจากทุ่งกุลาร้องไห้
- แต่พอมีการสร้างศาลหลักเมือง จึงคลายความนับถือลงไป
- แต่ก่อนเจ้าเมืองไปอยู่ที่ไหน ชาวบ้านก็จะอพยพตามไปเรื่อง ในรูปด้านบนคือเส้นทางการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยของคนมหาสารคาม
- แถว B F G มีชาวจีนมาตั้งถิ่นค้าขายในยุคแรก ๆ
- สมัย ร.๖ เปลี่ยนเป็นจังหวัด จึงมีการสร้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัด และสร้างศาลากลางจังหวัด
- ๒๔๕๕ มีการสร้างสถานที่ราชการต่าง ๆ มากมาย จึงเกิดการขยายตัวตามสถานที่ราชการไปเรื่อย
- ปัจจุบัน เหลือตึกดินอยู่ตึกเดียวที่เหลืออยู่ที่เป็นตึกอาคารพาณิชย์รุ่นแรก (ภาพขวามือ)
- ถนนเส้นนี้คือเส้นที่ธนาคารกรุงเทพฯ อยู่ในปัจจุบัน
- ตึกในภาพปัจจุบันเป็นธนาคารกสิกรไทย
- ในรูปคือถนนนครสวรรค์ ที่ได้ชื่อว่า นครสวรรค์ เพราะสมเด็จเจ้าฟ้ากรมนครสวรรค์วรพิจ ท่านมาตรวจราชการ จึงเปลี่ยนชื่อตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นต้นมา
- ภาพบนเปรียบเทียบรูปเมื่อ ๕๐ ปีที่แล้ว ของบริเวณตลาดในเมือง
- ภาพบน ในหลวงเสด็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘
- เปรียบเทียบ ๕๐ ปีที่แล้วกับปัจจุบัน
- ภาพด้านบน เป็นภาพเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว เป็นบ้านเท้าดาว ปัจจุบันกลายเป็นคลินิคแล้ว
- ยุคที่ ๓ เป็นการขยายตัวเนื่องจากปัจจัยด้านสถานศึกษา
- ก่อน ๒๕๑๐ มีการตั้งวิทยาลัยฝึกหัดครู ต่อมาเป็นวิทยาลัยครู มาเป็นสถาบันราชภัฎ และมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎ ในปัจจุบัน
- ๒๕๑๐ ตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา (วศ.) ต่อมา ๒๕๑๗ เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มศว.) และ ๒๕๓๗ เป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ถนนริมคลองสมถวิล กลายมาเป็นเส้นทางการค้า
- เส้นมามหาวิทยาลัย ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะคนมาอยู่รอบ ๆ มหาวิทยาลัย
- เราจะสอนให้คนทั้ง ๔๐,๐๐๐ คน เป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคมได้อย่างไร
- สิ่งแรกที่ต้องมีคือต้องมีจิตใจที่ดีก่อน ก่อนจะไปช่วยคนอื่น ต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น