บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2014

PLC_CADL_034 : รายงานบอร์ดบริหาร GE ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๖ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ จะมีการประชุมบอร์ดบริหารของ GE ฝ่ายงานการประชุมบอกว่า ต้องส่งวาระก่อนหนึ่งอาทิตย์ ผมคิดว่า งานของ CADL ที่ทำมา น่าจะนำเข้าเป็นวาระแจ้งให้บอร์ดทราบ เพราะหลายประเด็นอาจเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับนโยบายในการพัฒนา GE ต่อไป วาระแจ้งเพื่อทราบ เรื่องที่จะรายงานต่อบอร์ด GE มี ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) ผลการสัมมนาแลกเปลียนเรียนรู้บุลคลากร GE ประจำปี ๕๗ ๒) ผลการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา อีสานตอนบน และกับ สพม. ๒๖ ๓) ผลการขับเคลื่อนชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (PLC) ประจำปี ๒๕๕๗ ดังมีรายละเอียด ดังนี้ ๑) ผลการสัมมนาแลกเปลียนเรียนรู้บุลคลากร GE ประจำปี ๕๗ GE มีภารกิจ ๓ ด้านหลัก ได้แก่ ๑) จัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วป ๓๐ หน่วยกิต ๒) งานสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ๓) ส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และบริหารจัดการเป็น ๓ กลุ่มงาน ได้แก่ ๑) กลุ่มางานวิชาการ รับผิดชอบทำภารกิจข้อแรก ๒) กลุ่มงานสารสนเทศ รับผิดชอบดูแลภารกิจสองข้อหลัง และ ๓) กลุ่มงานแผนและยุทธศาสตร์ ทำหน้าที่อำนวยการระบบและกลไกสนับสนุนให้สองกลุ่มงานแรกทำงานได้อย่างมีป

PLC_CADL_033 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานบริหารและยุทธศาสตร์ (๓)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑ ... บันทึกที่ ๒ ... ก่อนจะเลิกวงในวันแรก (๑๗ เมษายน ๒๕๕๗) หลังจากนำเสนอ "วิกฤตกับโอกาส" แล้ว ผมพยายามเติมเครื่องมือคิดสำหรับการฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ๔ เครื่องมือ ได้แก่ การคิดแบบอ่างน้ำ การคิดแบบ I-We-IT การทำกราฟความสำเร็จ และ การประยุกต์ใช้ ปศพพ. ในชีวิตประจำวัน (ผู้สนใจโปรดคลิกอ่านตามสบายตามอัธยาศัยเถิด)  แล้วมอบหมายตกลงกันว่า ทุกกลุ่มย่อยจะนำเครื่องมือเหล่านี้ไปทดลองคิด แล้วเขียนลงในกระดาษนำมาส่งอ ๓ ชิ้นงาน คือ Stock หรือคิดแบบอ่างน้ำ  กราฟวิเคราะห์ความสำเร็จ และกราฟความสุข  วิธีการแก้ไขวิกฤตที่คิดกันไปก่อนในตอนแรกโดยยังไม่ได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้  ผมเองในฐานะกระบวนกร รู้ในขณะนั้นทันทีว่า เติมเครื่องมือมากเกินไป ไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด และ "เติม" ความรู้และเครื่องมือใหม่ให้เร็วเกินไป จึงเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ กอปรกับเวลาที่มีอย่างจำกัด เพราะเราต้องเร่งรัดให้จบก่อน ๑๖:๓๐  น. จึงมอบเป็นการบ้านและนำมาเสนอพรุ่งนี้ก่อนเที่ยง ทำให้ไม่สามารถที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้นำเสนอสิ่งที่ทำเป็นการบ้านได้ทั้งหมด แต่โดยภาพรวมแล้วก็ค่อนข้างพอใจ แ

PLC_CADL_032 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานบริหารและยุทธศาสตร์ (๒)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑ ... หลังจากเบรคเช้า เราเริ่มแบ่งกลุ่มระดมสมองของแต่ละส่วนงานในกลุ่มแผนและยุทธศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มแผนฯและยุทธศาสตร์ กลุ่มการเงิน กลุ่มพัสดุ และส่วนงานโรงพิมพ์ และกำหนดประเด็นร่วมจากความประทับใจต่อคติแนวทางปฏิบัติที่ได้เรียนลัดจาก ผอ. คือ "จงบอกวิกฤตและวิธีเปลี่ยนวิกฤตนั้นเป็นโอกาส" แล้วให้เขียนลงในกระดาษบรู๊ฟพร้อมสีช็อค เพื่อจะนำมาบอกเสนอให้เพื่อนฟังหลังอาหารเที่ยง สมมติฐานเบื้องต้นคือ เมื่อเราถามว่า "อะไรคือวิกฤต" แสดงว่า คำตอบที่กำลังคิดจะเกี่ยวกับชีวิตและปัญหาหนักหน้างานที่หนักที่สุด และถ้ากำหนดให้หาวิธีเปลี่ยนวิกฤตนั้นเป็นโอกาส ผู้รู้ปัญหาและฉลาดจะสามารถบอกวิธีแก้ได้ ดังนั้น หากเราสังเคราะห์วิกฤตและโอกาสเราจะทราบปัญหาหน้างานและวิธีการแก้ไขแน่นอน .... ซึ่งก็ไม่ได้ผิดหวัง ดังนี้ครับ งานโรงพิมพ์ ห้องเก็บข้อสอบ และการเก็บพัสดุ คุรุภัณฑ์ เอกสาร ฯลฯ ไม่เป็นระเบียบ (อาจหมายถึงไม่มีระบบด้วยหรือไม่) จึงเสี่ยงต่อข้อสอบหายหรือข้อสอบรั่ว  จึงขอเสนอให้จัดระบบการควบคุมการจัดเก็บเอกสารและจัดหาสถานที่จัดเก็บพัสดุต่างๆ หัวหน้าสำนักแ

PLC_CADL_031 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานบริหารและยุทธศาสตร์ (๑)

รูปภาพ
วันที่ ๑๗ - ๑๘ CADL จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มงานบริหารและยุทธศาสตร์ ถือเป็นเวทีสุดท้ายของสัมมนาบุคลากรประจำปี เป้าหมายส่วนหนึ่งคือ นำปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ได้จาก กลุ่มงานสารสนเทศ และ กลุ่มงานวิชาการ มาพัฒนาศักยภาพการทำงานของกันและกัน ว่าฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์จะสนับสนุนได้อย่างไร ผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เดินทางไปถึงก่อนใคร และในครั้งนี้ทีมเราก็อาศัยท่านเป็นประธานเปิดงาน เกริ่นนำ และเชิญท่านเล่านิทาน (๒ เรื่อง) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและความตระหนักในการทำหน้าที่ ท่านเล่าได้เยี่ยมมากๆ ... ผมฟังแล้ว บอกกับตนเองว่า ต้องเอามาเขียนไว้ให้ผู้ไม่ได้เข้าร่วมมีโอกาสได้อ่าน...(แต่ต้องขออภัยที่ผมต้องแต่งเติมเสริมเรื่องบ้าง) ผมสรุปย่อผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทั้งสองเวทีข้างต้น เพื่อให้ทุกคนได้ทราบปัญหาที่สำคัญคร่าวๆ และเรื่องราวเหตุผลที่ทำให้ทุกคนได้มารวมกันในวันนี้ ก่อนที่จะเรียนเชิญท่านประธาน เงาะป่า ตอน ท้าวสามนต์สั่งคนทำกระท่อมปลายนา กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เจ้าเมืองแห่งหนึ่งมีชื่อว่า ท้าวสามนต์ พระมะเหสีชื่อว่า พระนางมณฑา ทั้งสองพระองค์ปรารถนาที่จะหาคู่ครองให้กับพระธิดาท

PLC_CADL_030 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานวิชาการ (๓)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑ ... บันทึกที่ ๒ ... ตอนบ่ายของวันที่ ๓ เมษาฯ ระหว่างที่กำลังถกปัญหากันได้ที่ มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น "ไฟดับ" ความร้อนอบอ้าว ทำให้เราต้องเปลี่ยนสถานที่มาเป็นระเบียงในอาคารที่ัพัก โชคร้ายกลายเป็นดีทันที เพราะเราได้สถานที่และบรรยากาศที่เหมาะกับกระบวนการจิตศึกษา เราทำกระบวนการจิตตปัญญาแบบย่อๆ ...  (แต่ก็พอได้ในความเห็นผม) ถ้าสมมติว่าทุกคนเป็น "ผู้มาใหม่" ในเรื่องการเรียนรู้จากภายใน (หรือก็คือเรียนรู้จากใจตนเอง) จำเป็นจะต้องรู้ความจริง ๓ ประการ ได้แก่ ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจ (มะโนบุพพัง คะมา ธัมมา มะโนเสฎฐา มะโน มะยา) ดังนั้นเวาล "ฟัง" ต้อง "ตั้งใจ" เพราะเราใช้ใจฟัง ใช้หูเป็นเครื่องมือรับเสียงและใช้สมองในการคิด ข้อนี้สวนทางกับความเข้าใจส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับสมองกว่า  "ใจ" หรือ "จิตใจ" จะทำหน้าที่ "คิด" หรือ "รับรู้" (รู้คิด รู้สึก) ได้ที่ละอย่าง เรียกว่าทำงานได้ทีละ "ขณะจิต"   เช่น ตอนที่เราฟัง เราจะไม่สามารถ "รู้

PLC_CADL_029 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานวิชาการ (๒)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑ ... ผมเคยเขียนเกี่ยวกับ "การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน" ว่า ที่จริงแล้วก็คือ การเปลี่ยนแปลงของ "ใจ" ซึ่งจะทำให้ "อุปนิสัย" พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม โดยแบ่งวิธีการหรือสาเหตุที่ทำให้ใจเปลี่ยนไป ๓ อย่าง/วิธี ได้แก่  "การบังคับใจ" "ความประทับใจ" และการมีปัญญา "รู้จริงด้วยใจ" ท่านผู้สนใจอ่านได้ ที่นี่ คุณตุ้ย พนักงานสายสนับสนุนดีเด่น สะท้อนตอน "ปิดวง" ว่า สิ่งที่ประทับใจในการสัมมนาครั้งนี้ที่สุดคือ วิธีการ "คิดแบบหลุดโลก" ที่เรานำมาใช้ในการ "กระตุก" ให้รุกล้นออกมานอกกรอบคิดเดิมๆ ที่มักติดกับดักว่าทำไม่ได้  การคิดแบบหลุดโลกนี้หมายถึง ไม่ต้องสนใจว่าทำได้ทำไม่ได้ แต่ให้คิดขึ้นมาก่อน แล้วค่อยๆ มาปรับหาวิธีให้มีทางเป็นไปได้ในตอนหลัง...  แนวคิดแบบหลุดโลกของบุคลากรกลุ่มหนึ่ง ที่แสดงถึงวิธีการว่า "จะทำให้อย่างไรให้บริการประทับใจที่สุด" ดังภาพด้านล่าง ข้อที่ ๑) เพิ่มเพดานการสอนของอาจารย์  เพิ่มเพดานการสอน หมายถึง ขยายจำนวนนิสิตต่ออาจารย์ ที่สามารถเปิดให้ลงทะเบียนเรียนได้ในแต่ละเทอ