บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2017

แนวปฏิบัติที่ดีในการนำสื่อสังคมออน "ไลน์" มาใช้ในการทำงานประสานสร้างเครือข่าย

รูปภาพ
ณ วันนี้ (กรกฎาคม ๒๕๖๐) คนในโลกนี้ ๗,๔๗๖ ล้านคน มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเองแล้วถึง ๔.๙๑๗ ล้านคน (หรือ ุุ66%) เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้แล้วถึง ๓,๗๗๓ ล้านคน (50%)  ใช้มือถือในการสื่อสารผ่านแอพพูดคุยกันถึง ๒,๕๔๙ ล้านคน  และกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราเร็วสูงมาก (ดูสถิติได้ ที่นี่ ) ผมมั่นใจว่านิสิต บุคลากร และอาจารย์มหาวิทยาลัยมีโทรศัพท์มือถือทุกคน ใช้โทรศัพ์มือถือทุกวัน เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้จากแทบทุกที่ และสื่อสารกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่น "LINE" หรือ "Facebook"  ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการทำงานประสานสร้างเครือข่าย จึงเป็นเรื่องที่ทำได้แน่ และในมุมมองของการพัฒนาอาจารย์เองก็จะได้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน แผนภาพด้านล่างนี้แสดงแนวทางการนำเอาสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่น "ไลน์" มาใช้เพิ่มความรวดเร็วในการสื่อสารกับอาจารย์ วิธีการทำงานตามระบบราชการไทยที่ยังใช้กันอยู่ยังไม่ยอมรับระบบสื่อสังคมออน"ไลน์" การสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนต้องทำอย่างเป็นทางการผ่านต้นสั

ระลึกถึง ในหลวง ร.๙ (๑)

รูปภาพ
หลายสัปดาห์ก่อน ผศ.ดร.มัณทนา นครเรียบ นำเอาอัลบั้มภาพที่ท่านได้มาจากผู้ใหญ่ที่เคยทำงานใกล้เบื้องพระยุคบาท มาฝากผมด้วยความดีใจ ผมออกปากยืมท่านทันที ตั้งใจจะนำมาบันทึกไว้ให้ได้ ใส่ไว้ในเป้แบกไปมาจนวันนี้ มีโอกาสจึงขอนำมาบันทึกแบ่งปันครับ ขอบคุณ อ.มัณทนา นครเรียบอีกครั้งครับ

งานพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน_๐๑ : หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั้วไป ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘)

รูปภาพ
วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไป จัดอบรมอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลักสูตรบังคับ "การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘)" กลุ่มเป้าหมายคืออาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปทั้งหมดที่จะต้องสอนในปีการศึกษา ๑/๒๕๖๐ เป็นต้นไป  โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรดังกล่าวนี้เท่านั้น ที่จะมีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ผู้สอนตามประกาศของสำนักศึกษาทั่วไป (อ่านรายละเอียดได้ ที่นี่ ) วัตถุประสงค์ของหลักสูตรอบรมพัฒนาอาจารย์ หลักสูตรอบรมนี้มีวัตถุประสงค์ให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งปัจจุบันใช้หลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘ เข้าใจร่วมกัน ๓ ประการ ได้แก่ ๑) เข้าใจในตัวหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘) และสามารถ.... บอกได้ถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘) บอกได้ว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หรือคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดรายวิชาศึกษาทั่วไปคืออะไร  บอกได้พอสังเขปถึงโครงสร้างของหลักสูตรฯ  อธิบายได้ว่า รายวิชาที่สอน มีจุดมุ่งหมายสอดคล้องกับผ