งานพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอน_๐๑ : หลักสูตร การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั้วไป ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘)

วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ สำนักศึกษาทั่วไป จัดอบรมอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลักสูตรบังคับ "การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘)" กลุ่มเป้าหมายคืออาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปทั้งหมดที่จะต้องสอนในปีการศึกษา ๑/๒๕๖๐ เป็นต้นไป  โดยอาจารย์ผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรดังกล่าวนี้เท่านั้น ที่จะมีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ผู้สอนตามประกาศของสำนักศึกษาทั่วไป (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรอบรมพัฒนาอาจารย์
หลักสูตรอบรมนี้มีวัตถุประสงค์ให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งปัจจุบันใช้หลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘ เข้าใจร่วมกัน ๓ ประการ ได้แก่

๑) เข้าใจในตัวหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘) และสามารถ....

  • บอกได้ถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘)
  • บอกได้ว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หรือคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดรายวิชาศึกษาทั่วไปคืออะไร 
  • บอกได้พอสังเขปถึงโครงสร้างของหลักสูตรฯ 
  • อธิบายได้ว่า รายวิชาที่สอน มีจุดมุ่งหมายสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรฯ อย่างไร 
  • อธิบายได้ว่า การจัดการเรียนการสอนของรายวิชาที่สอนอยู่ ทำให้นิสิตบรรลุตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชาหรือไม่ เพียงใด 
๒) เข้าใจระบบและกลไกการบริหารจัดการหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘)
  • บอกได้พอสังเขปถึงขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) 
  • บอกเกี่ยวกับระบบ กลไก และปฏิทินการจัดการเรียนการเรียนการสอนของสำนักศึกษาทั่วไปได้พอสังเขป
  • อธิบายได้ถึงหน้าที่ของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป  และบทบาทหน้าที่ของผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไปกรณีที่เป็นอาจารย์ผู้ประสานงาน 
  • บอกได้ถึงวิธีการสมัครเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปได้ 
  • อธิบายแนวทางการจัดการประเมินผลการศึกษาของรายวิชาได้ 
  • อธิบายแนวปฏิบัติสำหรับการยื่นขอสอบย้อนหลังได้
  • บอกเกี่ยวกับการให้บริการ การขอใช้ และการดูแลห้องเรียนรวมของสำนักศึกษาทั่วไป 
  • บอกเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการ พัสดุ การเงิน งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้สอนได้ 
๓) มีเจตคติที่ดีต่อการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาสำนักศึกษาทั่วไป 
  • เห็นความสำคัญของรายวิชาศึกษาทั่วไป 
  • มีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) ในการปลูกฝังคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ฯ  
  • รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสำนักศึกษาทั่วไป 
  • รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป 

เนื้อหาในหลักสูตรอบรมอาจารย์

๑) โครงสร้างหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๘)


ลักษณะเด่นของหลักสูตรฯ ที่สำคัญ ได้แก่ 
  • มีจำนวนวิชาน้อยมาก มีเพียง ๒๑ รายวิชาในกลุ่มวิชาหลัก  ซึ่งนิสิตต้องลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย ๑๔ รายวิชา  ทำให้นิสิตส่วนใหญ่ได้รับการฝึกและปลูกฝังให้มีคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ฯ อย่างถ้วนทั่ว 
  • นิสิตทุกคนต้องเรียนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ในกลุ่มสหศาสตร์ อันจะเป็นการปลูกฝังคุณลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์ "นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน" ได้อย่างจริงจัง 
๒) คุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจากหลักสูตรฯ หรือ คุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป แสดงดังแผนภาพด้านล่าง 


คำนิยามแต่ละด้าน สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรมฯ ที่นี่  
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ฯ ทั้ง ๙ ประการ สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็นหมวดหมู่ ๕ ด้าน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) ดังแผนภาพ


๓) รายวิชาศึกษาทั่วไปในหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘)

หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่ว (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) มีจำนวนรายวิชาทั้งหมด ๓๗ รายวิชา (หลังจากปรับปรุงเล็กน้อยครั้งที่ ๓) แบ่งได้เป็น ๒ ส่วน ได้แก่ วิชาหลัก ๒๑ รายวิชาซึ่งจัดไว้เป็น ๕ กลุ่มวิชาได้แก่ กลุ่มภาษา กลุ่มมนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มสหศาสตร์  อีกส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มวิชาเลือกเพิ่มเติมจำนวน ๑๖ รายวิชา จุดเน้นของแต่ละรายวิชาสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ดังแผนภาพ 



คำอธิบายของแต่ละรายวิชา สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ ข้อสังเกตสำหรับทำความเข้าใจจุดเน้นและแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของจุดมุ่งหมายของรายวิชากับเจตนาของหลักสูตรที่สำคัญ ได้แก่
  • เป้าหมายของรายวิชาศึกษาทั่วไปคือการส่งเสริมการสร้างบัณฑิตที่เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความรู้รอบรู้กว้าง เข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรม และธรรมชาติ ใส่ใจต่อการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรม พร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก 
  • สมบูรณ์ทางร่างกาย คือ มีสุขภาพร่างกายที่ดี กินเป็น อยู่เป็น มีทักษะชีวิต รายวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้แก่ รายวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่
    • การบริโภคเพื่อคุณภาพชีวิต
    • การดูแลสุขภาพบุคคลและชุมชน
    • ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิต
    • การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
  • สมบูรณ์ด้านจิตใจ คือ เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม ดำเนินชีวิตบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม และวัฒนธรรรม รู้จักตนเอง เข้าใจผู้ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ได้แก่
    • ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ 
    • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
    • ศิลปะวิจักษ์
    • กฎหมายและจริยธรรม 
    • มนุษย์กับอารยธรรมและศาสนา 
    • พระพุทธศาสนา (วิชาเลือกเพิ่มเติม)
    • สมาธิเพื่อพัฒนาชีวิต (วิชาเลือกเพิ่มเติม)
  • สมบูรณ์ด้านความคิด ทักษะการเรียนรู้ฐานคิด ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นองค์รวม เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่
    • แนวคิดทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา
    • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมโลกาภิวัตน์ 
    • ทรัยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น 
    • การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน 
  • ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ วิชา
    • เทคโนโลยีสารสนเทศ 
  • ทักษะชีวิต ด้านการฝึกฝนทักษะการสร้างอาชีพ ได้แก่ 
    • วิชานวัตกรรมและผู้ประกอบการใหม่
  • ทักษะด้านภาษา  มีรายวิชาจำนวนมากที่สุด ทั้งที่อยู่ในกลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ 
    • ภาษาอังกฤษ ๓ รายวิชา  ต้องเรียนทั้ง ๓ ตัว ได้แก่ ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และภาษาอังกฤษเพื่อความมุ่งหมายเฉพาะด้าน 
    • ภาษาไทย ๒ ตัว ภาษาไทยเชิงวิชาการกับบริบทของสังคม และวิชาภาษาไทยเพื่อสุนทรียภาพ 
    • วิชาภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน  และ 
    • ภาษาอื่น ๆ ที่จัดไว้ให้เลือกเรียนได้ตามความต้องการ 
๔) แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

หากพิจารณาบาพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้สมัยใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (ผมเคยเขียนไว้ที่นี่ครับ)  จะแบ่งฐานการเรียนรู้พัฒนามนุษย์ออกเป็น ๓ ฐาน ได้แก่ ฐานกาย ฐานคิด และฐานใจ  แต่ละรายวิชาจะมีจุดมุ่งเน้นแตกต่างกัน เช่น

  • รายวิชา ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้ "ฐานใจ"
  • รายวิชา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และรายวิชาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา จะเน้นการเรียนรู้ "ฐานคิด"
  • รายวิชา หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน การบริโภคเพื่อคุณภาพชีวิต การดูสุขภาพบุคคลและชุมชน หรือ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฯลฯ  เหล่านี้เน้นการเรียนรู้ "ฐานกาย" 
เป้าหมายของการเรียนรู้ทั้ง ๓ ฐานนี้คือ การสร้างบัณทิตให้เป็น "คนดี คนเก่ง คนมีความสุข" ตามนโยบายของชาติ นั่นเอง 

แนวทางการจัดการเรียนการสอน แสดงในแผนภาพแสดงในผังภาพต่อไปนี้ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน กิจกรรมที่ควรจัดให้นิสิตได้ฝึกฝนแสดงด้วยตัวอักษรสีเขียว  








๕) ระบบและกลไกการบริหารหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป



  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  • สังเกตว่าอาจารย์ผู้ประสานงาน เป็นผู้จัดส่งรายชื่ออาจารย์ผู้สอน ซึ่งสำนักศึกษาทั่วไปจะสำรวจรายชื่อและจำนวนนิสิตต่อกลุ่มเรียนของอาจารย์แต่ละท่าน ไปยังอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา 
  • กรณีมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนรายชื่ออาจารย์ผู้สอน จะต้องดำเนินการก่อนนิสิตลงทะเบียน

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  • สามารถตรวจสอบรายวิชาที่เปิดได้จากระบบระเบียน คลิกที่ "รายวิชาที่เปิดสอน" 
  • ทั้งอาจารย์และนิสิตสามารถตรวจสอบตารางสอนในระบบระเบียน คลิกที่ "ตารางสอนอาจารย์" 

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  • รายวิชาศึกษาทั่วไป จะจัดตารางสอนในช่วงเวลาที่ได้ตกลงกับฝ่ายวิชาการของคณะ-วิทยาลัย โดยปกติ คือ ตั้งแต่ ๑๕.๐๐ น. วันพุธ และพฤหัสบดี-ศุกร์ ทั้งวัน  
  • โดยสำนักศึกษาทั่วไปจะเป็นผู้จัดตารางก่อนสำหรับห้องเรียนรวมที่สำนักศึกษาทั่วไปดูแล ก่อนจะให้ทางคณะ-วิทยาลัย จัดตารางในภายหลัง  และสุดท้าย สำนักศึกษาทั่วไปจะเข้าจัดตารางเรียนในห้องที่เหลือไม่ใช้อีกครั้งหนึ่ง 

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  • ในการปิดขอปิดกลุ่มเรียน  อาจารย์ผู้ประสานงานฯ ต้องทำบันทึกถึงผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป 
  • กรณีที่ ผอ.สำนักศึกษาทั่วไปอนุมัติ สำนักศึกษาทั่วไปจะดำเนินการขอปิดกลุ่มเรียนต่อกองทะเบียนฯ 
  • กรณี ผอ.สำนักศึกษาทั่วไป อนุมัติให้ยุบรวมกลุ่มการเรียน สำนักศึกษาทั่วไปจะเป็นผู้ดำเนินการย้ายกลุ่มเรียนให้นิสิตเอง  โดยที่อาจารย์เพียงแจ้งนิสิตทราบพอสังเขป 

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)
  • การปรับเปลี่ยนรายชื่ออาจารย์ผู้สอนไม่สามารถทำได้หลังนิสิตเริ่มประเมินอาจารย์
  • การเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนรายชื่ออาจารย์ผู้สอน จะต้องทำบันทึกข้อความถึงผู้อำนวยการสำนักศึกาาทั่วไป เป็นผู้อนุมัติ 

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  • รายวิชาศึกษาทั่วไป จัดสอบ ๒ แบบ  ได้แก่ แบบสอบในกระดาษ และสอบแบบผ่านระบบ E-Testing ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการสอบ 
  • สำนักศึกษาทั่วไปจะจัดสอบในในวันราชการเวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๘.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. เท่านั้น 

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  • อาจารย์ผู้ประสานงานต้องส่งต้นฉบับข้อสอบก่อนวันสอบวันแรกประมาณ ๑๔ วัน 
  • สำนักศึกษาทั่วไป จะตรวจสอบเพียง การเรียงข้อ การเรียงตัวเลือก และการจัดหน้าให้ถูกต้อง เท่านั้น ไม่ได้ดูรายละเอียดเนื้อหาความถูกต้องของข้อสอบ 
  • ต้นฉบับข้อสอบต้องจัดทำใหม่ ออกข้อสอบใหม่ ทุกครั้ง 

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)



  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

  (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)

 (สไลด์ประกอบการบรรยาย อ.ดร.ดุษฉัตร จิตบรรจง รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ)


ปฏิทินการศึกษาของรายวิชาศึกษาทั่วไป แสดงดังแผนภาพด้านล่าง







  • ขั้นตอนสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์ผู้สอน ได้แก่ 
    • ผู้ประสานงาน ส่ง มคอ.๓ ก่อน เปิดเทอม ประมาณ ๒ สัปดาห์ 
    • ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผน มคอ.๓ 
    • อาจารย์ประชุมพิจารณาผลการเรียนประจำภาคเรียน 
    • ผู้ประสานงานนำส่ง มคอ.๕ มายังสำนักศึกษาทั่วไปภายใน ๓๐ หลังปิดภาคเรียน
กิจกรรมและกำหนดการการอบรมฯ 

กิจกรรมแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง  ดังนี้ 
  • บรรยายพิเศษ โดยผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เรื่อง "การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘)"  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑)
  • บรรยายพิเศษ โดยรองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เรื่อง "ระบบและกลไกการบริหารหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘)"  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒)
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจและเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อการเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยมีรองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ฝ่ายพัฒนานิสิตและนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นกระบวนกร 
ต่อไปเป็นภาพกิจกรรมบางส่วน 
 



ท่านผู้สนใจภาพการอบรมดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ

การประเมินผลและติดตาม
การติดตามผลการอบรมฯ ดำเนินการ ๒ วิธี ได้แก่ ๑) ใช้แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบสำรวจการบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ทันทีหลังจากการอบรม  และ ๒) ใช้แบบสำรวจความรู้ความเข้าใจและการนำเอาความรู้ที่ได้รับการอบรมไปใช้หลังจากที่อบรมไปแล้ว ๑ ภาคการศึกษา 

ขอจบบันทึกนี้เท่านี้ครับ ขอบพระคุณที่อ่านครับ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"