แนวปฏิบัติที่ดีในการนำสื่อสังคมออน "ไลน์" มาใช้ในการทำงานประสานสร้างเครือข่าย
ณ วันนี้ (กรกฎาคม ๒๕๖๐) คนในโลกนี้ ๗,๔๗๖ ล้านคน มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเองแล้วถึง ๔.๙๑๗ ล้านคน (หรือ ุุ66%) เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้แล้วถึง ๓,๗๗๓ ล้านคน (50%) ใช้มือถือในการสื่อสารผ่านแอพพูดคุยกันถึง ๒,๕๔๙ ล้านคน และกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราเร็วสูงมาก (ดูสถิติได้ที่นี่)
ผมมั่นใจว่านิสิต บุคลากร และอาจารย์มหาวิทยาลัยมีโทรศัพท์มือถือทุกคน ใช้โทรศัพ์มือถือทุกวัน เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้จากแทบทุกที่ และสื่อสารกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่น "LINE" หรือ "Facebook" ดังนั้น การนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการทำงานประสานสร้างเครือข่าย จึงเป็นเรื่องที่ทำได้แน่ และในมุมมองของการพัฒนาอาจารย์เองก็จะได้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
แผนภาพด้านล่างนี้แสดงแนวทางการนำเอาสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะแอพพลิเคชั่น "ไลน์" มาใช้เพิ่มความรวดเร็วในการสื่อสารกับอาจารย์
วิธีการทำงานตามระบบราชการไทยที่ยังใช้กันอยู่ยังไม่ยอมรับระบบสื่อสังคมออน"ไลน์" การสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนต้องทำอย่างเป็นทางการผ่านต้นสังกัด ต้องเป็นการสื่อสารระหว่างสังกัดถึงสังกัด เป็นหนังสือราชการผ่านสำนักศึกษาทั่วไปถึงคณะ-วิทยาลัย ทำให้หนังสือแต่ละฉบับต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๓ วัน ทั้ง ๆ ที่ตึกต้นสังกัดอยู่ข้าง ๆ กันนั้นเอง
งานพัฒนาเครือข่ายอาจารย์เริ่มเอาแอพพลิเคชั่น "ไลน์" มาใช้เสริมการสื่อสารกับอาจารย์ประมาณ ๑ ปีที่แล้ว โดยผู้บริหาร (รอง ผอ.) เป็นผู้สร้างกลุ่มสนทนาและค่อย ๆ เชิญอาจารย์แต่ละกลุ่มเข้าเป็นสมาชิกด้วยตนเอง ปัจจุบันมีกลุ่มไลน์ที่สำคัญ ๆ แบ่งเป็นขั้น ๆ ตามความมุ่งหมายของการสร้างเครือข่ายและรายวิชา เช่น
วิธีการทำงานตามระบบราชการไทยที่ยังใช้กันอยู่ยังไม่ยอมรับระบบสื่อสังคมออน"ไลน์" การสื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนต้องทำอย่างเป็นทางการผ่านต้นสังกัด ต้องเป็นการสื่อสารระหว่างสังกัดถึงสังกัด เป็นหนังสือราชการผ่านสำนักศึกษาทั่วไปถึงคณะ-วิทยาลัย ทำให้หนังสือแต่ละฉบับต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๓ วัน ทั้ง ๆ ที่ตึกต้นสังกัดอยู่ข้าง ๆ กันนั้นเอง
งานพัฒนาเครือข่ายอาจารย์เริ่มเอาแอพพลิเคชั่น "ไลน์" มาใช้เสริมการสื่อสารกับอาจารย์ประมาณ ๑ ปีที่แล้ว โดยผู้บริหาร (รอง ผอ.) เป็นผู้สร้างกลุ่มสนทนาและค่อย ๆ เชิญอาจารย์แต่ละกลุ่มเข้าเป็นสมาชิกด้วยตนเอง ปัจจุบันมีกลุ่มไลน์ที่สำคัญ ๆ แบ่งเป็นขั้น ๆ ตามความมุ่งหมายของการสร้างเครือข่ายและรายวิชา เช่น
- กลุ่ม "อาจารย์GE(185)" ตัวเลขในวงเล็บหมายถึง ขณะนี้มีสมาชิก ๑๘๕ คน สำหรับสื่อสารเกี่ยวกับการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป
- กลุ่ม "อาจารย์ มมส. (175)" สำหรับสื่อสารเพื่อพัฒนาอาจารย์ด้านพัฒนาการเรียนการสอน
- กลุ่ม "อ.ผู้ประสานงาน GE(49)" เป็นกลุ่มไลน์สื่อสารเฉพาะในกลุ่มอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาศึกษาทั่วไป
- กลุ่ม "อาจารย์ผู้สอน ปศพพ.(36)" คือ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- กลุ่ม "Humanity&Learning(22)" คือ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๔ ความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้
- กลุ่ม "อ.GEกฎหมาย&จริยธรรม(16)" คือ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๒ กฎหมายและจริยธรรม
- กลุ่ม "อจ.๑หลักสูตร๑ชุมชน(119)" คือ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน
- กลุ่ม "Lecturer 0033003(59)" คือ กลุ่มอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๓๐๐๓ ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ฯลฯ
ยังมีกลุ่มอื่นๆ อีกหลายรายวิชาที่อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาเป็นผู้สร้างขึ้นเอง ส่วนใหญ่จะใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ มีรายวิชาอีกบางส่วนที่ใช้แอพพลิชั่น "Messenger" ของ Facebook ซึ่งจะมีข้อดีตรงที่บอกได้เลยว่าใครเข้าอ่านข้อความแล้วบ้าง (ผมพบว่า บางทีจุดนี้ก็เป็นข้อเสียให้อาจารย์ไม่อยากอ่านเพราะไม่สะดวกจะตอบทันที)
การนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ ณ ขณะนี้ ไม่มาใช้แทนที่การทำงานราชการแบบเดิม เพียงนำมาใช้ส่งสื่อส่งสารโดยไม่รอเพียงงานสารบรรณเท่านั้น กล่าวคือ ส่วนงานต่าง ๆ ของสำนักศึกษาทั่วไป ยังคงทำบันทึกข้อความหรือหนังสือราชการ แต่เมื่อได้ต้นฉบับหนึ่งสือแล้ว เอกสารจะถึงสแกนส่งเป็นไฟล์ทางไลน์ พร้อมคำอธิบายสรุปสั้น ๆ ทันที
ผลลัพธ์ของการนำเอาสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ประสาน ทำให้งานพัฒนาเครือข่ายอาจารย์ต่าง ๆ ประสบความสำเร็จพอสมควร อาจารย์สามารถส่งข้อเสนอ แนะนำ โดยเฉพาะการดูแลพัฒนา อำนวยความสะดวก หรือสื่อมัลติมิเดียต่าง ๆ ในห้องเรียนรวม การสื่อสารแจ้งข่าวและการตอบรับเข้าร่วมงานพัฒนาอาจารย์ด้านการเรียนการสอนเป็นไปอย่างรวดเร็ว และได้รับความร่วมมือกับอาจารย์ผู้สอนมากขึ้น
ผมเข้าใจว่า นี่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) อย่างหนึ่ง และผมคิดว่า ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงทำกันอยู่แล้ว หรือหากหน่วยงานใดยังไม่เริ่มใช้อย่างจริงจัง ผมขอเชียร์ให้ลองดูครับ ท่านจะเห็นเหมือนผม ...จากอย่างน้อย ๓ วัน เป็น "ทันที"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น