บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2014

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_09: แนะแนว "หัวเลี้ยวรอยต่อชีวิต" ณ โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร

รูปภาพ
บ่ายวันพุธที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ กลุ่มนิสิตจิตอาสาและรุ่นพี่เด็กดีมีที่เรียน ๙ คน ออกไป "ทำความดี" ด้วยการแนะแนวเกี่ยวกับหัวเลี้ยวรอยต่อชีวิต ให้กับกลุ่มน้องๆ ชั้น ม.๖ โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร       ผมออกแบบกิจกรรมให้ทุกคนได้เรียนรู้ร่วมกันแบบ Active Learning โดยการปรับเอากระบวนการค้นหา "เป้าหมายชีวิต" ที่ได้เรียนรู้จาก รศ.ดร.นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล มาใช้กับการแนะแนว (อ่านได้ ที่นี่ ) กิจกรรมนี้ทำแล้วรู้สึกว่าได้ผลมาก (เด็กๆ อยากให้กลับไปอีก และผมก็อยากกลับไปอีก) จึงอยากบันทึกเล่าให้ฟัง เผื่อว่า นิสิตรุ่นพี่ๆ และเด็กดีมีที่เรียนจะได้นำไปใช้ต่อไป กระบวนการ ๑) แจกกระดาษ post-it คนละแผ่น แล้วถามว่า "เป้าหมายชีวิตของเธอจะประกอบอาชีพอะไร?" โดยเน้นว่า ในอีก ๓-๕ ปี ข้างหน้านี้   ให้นักเรียนทุกคนเขียนอาชีพที่ตนอยากเป็นลงในกระดาษที่แจกให้  ๒) ให้นักเรียนทุกคนนำกระดาษที่เขียนออกมาติดบนหน้ากระดาน โดยกำชับให้อ่านของเพื่อนๆ ก่อน แล้วแปะติดไปให้ชิดแผ่นที่คล้ายและเหมือนของตนเอง  ๓) จัดความหวังของนักเรียนทั้งห้องออกเป็นหมวดหมู่ นับจำนวนแต่ละอาชีพ บ

PLC_CADL_044 : หารือแนวทางการวิจัย GE-Learning Outcome กับ ERTEC

รูปภาพ
วันนี้ (๑๗ พ.ย. ๒๕๕๗) CADL ขอเข้าพบอาจารย์ ดร.ญาณภัทร สีหะมงคล และ ผศ.ดร.ประเสริฐ เรือนนะการ นักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยทดสอบและประเมินผลการศึกษา (Educational Research Testing and Evaluation Center) หรือ ERTEC เพื่อหารือถึงการทำวิจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Outcome) ของรายวิชาศึกษาทั่วไป ในปีการศึกษานี้ ผมเสนอท่านท้้งสองถึงกรอบวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไป ของปีการศึกษา ๒๕๕๘ ที่เน้นไปที่ ๑) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ผ่านมา และ ๒) นวัตกรรมการเรียนการสอน    และบอกถึงจุดประสงค์ที่มาพบท่านในวันนี้ ๒ ประการ คือ ๑) ขอเชิญท่านให้เป็นแกนหลักสำคัญในการทำวิจัยด้าน GE-Learning Outcome ซึ่งมีทั้งส่วนที่กำลังดำเนินการอยู่ในปีนี้ และส่วนที่กำลังจะดำเนินต่อไปในปีหน้า (๕๘) และ ๒) เชิญชวนเชิงประชาสัมพันธ์ให้ท่านทั้งสองมาของบวิจัยที่กำลังจะประกาศรับข้อเสนอเร็วๆ นี้ เรากลับมาทำ AAR กันตอนบ่าย ว่าได้ข้อสรุปอะไรบ้าง อะไรชัด อะไร ไม่ชัด ต่อไปจะดำเนินการอย่างไร สรุปประเด็นเห็นดังนี้ครับ ๑) ท่านทั้งสองยินดีให้ความช่วยเหลือ ในการทำวิจัยเกี่ยวกับ Learning Outcome ที่

PLC_CADL_043 : ประชุมทีม ๑/๒๕๕๘

รูปภาพ
เมื่อวานนี้ (๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๗) ทีม CADL ประชุมกลุ่มย่อยประจำสัปดาห์ ขอเรียกการประชุมครั้งนี้ว่า ครั้งที่ ๑/๒๕๕๘  เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณปี ๒๕๕๘ แม้จะไปใช่ครั้งแรกที่เราประชุมกันเรื่องนี้ แต่ครั้งนี้เรามาคุยกันเรื่อง "แผน" "ภาระงาน" ที่ได้รับมอบ การใช้ชื่อนี้จึง "ชอบด้วยความหมาย" ดี... ผมเตรียมการประชุมครั้งนี้ด้วยการเขียนบันทึก ( ที่นี่ ) เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "ภาระงาน" ที่ไม่ใช่ "ภาระ" แต่เป็น "ฉันทะ" ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป... ต้องขอขอบพระคุณผู้บริหารทีมใหม่ ที่ท่านยังให้โอกาสทำต่อไป  ภาพต่อไปนี้คือผลการประชุม  ส่วนที่เป็นตัวอักษรสีแดง หมายถึง ความไม่ชัดเจนของงานที่ต้องประสานระหว่างกลุ่มงาน ซึ่งต้องไปวางแผนร่วมกันอีกที...

PLC_CADL_042 : ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ปีงบประมาณ ๒๕๕๘

รูปภาพ
เวลาเที่ยงกว่าๆ ของวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ผมได้รับการทาบทามให้ "ทำงานต่อ" ในฐานะรองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หลังจากที่รอคอยมาจนวินาทีสุดท้าย  "อยู่กับจิตใจ" ที่แกว่งไป-มา ขึ้นลงอยู่แบบสุดขั้ว ระหว่าง "หมดหวัง-มีหวัง" ระหว่าง "ทุกข์ใจ" กับ "โล่งใจ" ที่ว่า "ทุกข์ใจ" เพราะห่วง "งานเชิงรุก บุกเบิก พัฒนา" (ผม AAR ไว้ ที่นี่ ) คือ ศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL) ที่ทำต่อเนื่องมาเป็นปี พวกเราซึ่งเป็นตัวแทน GE "กำลังเข้าที่เข้าทาง" มีความเข้าใจ เป้าหมาย อุดมการณ์ และค่านิยมร่วม (Shared Value) กำลังสนุกและมีความสุขกับการสร้างชุมชนเรียนรู้ (PLC) ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย.... การคงนโยบายนี้ไว้ของ ผอ.ใหม่ ให้พวกเราได้ "ทำต่อ" จึงยังความ "โล่งใจ" อย่างยิ่ง  หากต้อง "ทิ้ง" งานอันมีคุณค่านี้ไป เราแต่ละคนคงต้อง "ผจญ" กับปัญหาใหม่ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสานต่ออุดมการณ์กันได้ ... ที่ว่า "โล่งใจ" เพราะจะได้มีโอกาสกลับไปทำงานวิชาการ

PLC_CADL_042 : ทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาสำนักศึกษาทั่วไป ครบ ๖ ปี

รูปภาพ
เราทำบุญวันคล้ายวันสถาปนาสำนักศึกษาทั่วไปทุกปี เมื่อครั้งครบ ๕ ปี ทำบุญฯครั้งที่ ๔ อ่านได้ ที่นี่  ปี ๒๕๕๗ วันที่ ๒๖ กันยายน วันคล้ายวันสถาปนาสำนักศึกษาทั่วไปครั้งที่ ๕ ตรงกับวันประชุมสภามหาวิทยาลัย ทำให้ไม่มีผู้บริหารระดับหัวหน้าหน่วยงานมาร่วมงานเลย ... อย่างไรก็ดี.... นอกจากทำบุญตักบาตร ฟังสวดพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหาร สังฆทาน และ "ปัจจัย" ประจำปีแล้ว เรายังมีกิจกรรมยกย่องเชิดชูคนดี BP ของครูเพื่อศิษย์ และอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป...สำหรับผมแล้วกิจกรรมนี้มี "ความหมาย" มาก กิจกรรมที่ทำตามลำดับขั้นเป็น "พิธีกรรมประจำปี" มีดังนี้ นิมนต์พระ ๙ รูป จากวัดป่ากู่แก้ว ขอกราบขอบพระคุณพระจารย์ภิรมย์ ผลิโก ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ  ตักบาตรตอนเช้า .... มีเรื่องที่ต้องจำไว้เป็นบทเรียนสำคัญคือ พระวัดป่าท่านจะรับบิณฑบาตรด้านขวามือของท่าน เป็นเพราะลักษณะของการสะพายบาตรเดินเมตตา ไม่ได้หยุดหันหน้ารับของ... ประธานจุดธูปเทียน -> สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย -> อาราธนาศีล รับศีล -> อาราธนาพระปริตร -> ฟังสวดเจริญพระพุทธมนต์ -> ถวายภัตตาหาร -> ถวายสังฆทาน -&

CADL _ สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ประจำปี ๒๕๕๗ (๒)

รูปภาพ
อ่านบันทึกแรก ที่นี่ ในการทำ AAR ในก่อนจากกันในวัน "ฝึกทำ" เราตกลงกันว่า ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม กลับไป คิดสร้างสรรค์ "ผลิตภัณฑ์" หรือ "ผลงาน" โดยสนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มละ ๕๐๐ บาท  โดยกำหนดหัวเรื่อง สมุนไพรในโรงเรียน  สัปดาห์ถัดมา เราจะกลับมานำเสนอผลงานของตน โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นคณะกรรมการพิจารณา "คุณค่า" ของงานแต่ละส่วน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตอนบ่าย เรากลับไปอย่างมีความหวังที่จะเห็น "พลังของการเรียนรู้" ในพื้นที่และความภาคภูมิใจของตนเอง เริ่มที่กิจกรรม "ส่งสาส์นสร้างความสามัคคี" คล้ายๆ กับที่กิจกรรม " ส่งสารผ่านสัมผัส หัดเรียนรู้จิต แยกความคิดกับความรู้สึก " แต่ปรับให้ง่ายขึ้น และพูดเชื่อมโยงให้เกิดความสามัคคีแทนที่จะเน้นคุณภาพของใจ เห็นได้ชัดว่า นักเรียนส่วนใหญ่มี "สมาธิ" ใช้ได้ แต่ถ้าประเมินจากผลการส่งสาส์นที่ไม่สำเร็จเลย แม้จะให้ทดลองหลายครั้ง แสดงว่ามีนักเรียนส่วนหนึ่ง ที่เราเข้าไม่ถึง "ใจ" เขาเลย ....  ไม่เป็นไร ... ผมจึงใช้กิจกรรม "จิตตปัญญ

CADL _ สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ประจำปี ๒๕๕๗ (๑)

รูปภาพ
ผมจำได้แม่นว่า โครงการสืบสาน "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" นั้น เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อเนื่องกันมาหลายปี ก่อนที่จะมีนโยบาย "หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน" (ด้วยซ้ำไป) ตอนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับงาน "ประกันคุณภาพการศึกษา" ในแผนปฏิบัติพัฒนาต้องพิจารณาว่าสอดคล้องกับเกณฑ์ประกันคุณภาพที่กำหนดจาก สมศ. หรือไม่  และในหนึ่งนั้นคือ "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ความเชื่อและศรัทธา ส่งผลโดยตรงกับความเข้าใจใน "เจตนา" ของเกณฑ์ประกันฯ  ผมคิดเอาเองว่า คนกลุ่มใหญ่กว่า เข้าใจว่า "ต้องทำโครงการนี้" เพราะมีผลกับ "ประกันฯ"  คนอีกกลุ่มใหญ่เข้าใจว่า ทำเพื่อเทิดพระเกียรติ คงมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ "ระเบิดจากภายใน" เข้าใจจริงๆ ว่า "พระราชดำริ" ที่แปลงเป็นยุทธศาสตร์การปฏิบัติผ่าน "เกณฑ์ประกันฯ" นั้น แท้จริงแล้ว ท่านทรง "ดำริ" เพื่อประโยชน์สุขของชนชาวไทย......  ผมเคยได้ยินหลายคนบอกว่า เรากำลังทำเพื่อในหลวง ผมจะชอบถามกลับทันทีว่า "แล้วในหลวงทำเพื่อใคร?... ในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ผมเรียน ผอ.