CADL _ สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ประจำปี ๒๕๕๗ (๒)
อ่านบันทึกแรกที่นี่
ในการทำ AAR ในก่อนจากกันในวัน "ฝึกทำ" เราตกลงกันว่า ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม กลับไป คิดสร้างสรรค์ "ผลิตภัณฑ์" หรือ "ผลงาน" โดยสนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มละ ๕๐๐ บาท โดยกำหนดหัวเรื่อง สมุนไพรในโรงเรียน สัปดาห์ถัดมา เราจะกลับมานำเสนอผลงานของตน โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นคณะกรรมการพิจารณา "คุณค่า" ของงานแต่ละส่วน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อ
วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตอนบ่าย เรากลับไปอย่างมีความหวังที่จะเห็น "พลังของการเรียนรู้" ในพื้นที่และความภาคภูมิใจของตนเอง
เริ่มที่กิจกรรม "ส่งสาส์นสร้างความสามัคคี" คล้ายๆ กับที่กิจกรรม "ส่งสารผ่านสัมผัส หัดเรียนรู้จิต แยกความคิดกับความรู้สึก" แต่ปรับให้ง่ายขึ้น และพูดเชื่อมโยงให้เกิดความสามัคคีแทนที่จะเน้นคุณภาพของใจ
เห็นได้ชัดว่า นักเรียนส่วนใหญ่มี "สมาธิ" ใช้ได้ แต่ถ้าประเมินจากผลการส่งสาส์นที่ไม่สำเร็จเลย แม้จะให้ทดลองหลายครั้ง แสดงว่ามีนักเรียนส่วนหนึ่ง ที่เราเข้าไม่ถึง "ใจ" เขาเลย .... ไม่เป็นไร ... ผมจึงใช้กิจกรรม "จิตตปัญญา" ที่ง่ายกว่า คือกิจกรรม "นับจับสติฝึกสมาธิแบบง่าย"
"นับจับสติ" ได้ผล สามารถดึง "สติ" ของทุกคนกลับมาได้ แม้จะยังไม่สำเร็จโดยง่าย เพราะกิจกรรมนี้ต้องใช้ "สมาธิ" และไหวพริบ "คิดเร็ว" พอสมควร วิธีการคือ
กิจกรรมสุดท้าย อย่างไรก็ต้องไปให้ถึง "ความสามัคคี" จึงใช้วิธี "นับ ๑ ถึง ๑๐ " ดังนี้
ผมเชิญตัวแทนกลุ่มแรกออกมายืนหน้าผลงานของตนเอง เรื่อง "สมุนไพรลูกประคบ" แล้วให้นำเสนอ แม้จะพูดได้ดี แต่ด้วยเหมือนจะมีแต่ผมและนักเรียนไม่กี่คนเท่านั้นที่สนใจ ผมปรับเปลี่ยนกิจกรรมทันที เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยให้ตัวแทนทุกกลุ่มออกมายืนหน้าผลงาน แล้วเรียนเชิญครูและปราชญ์ชาวบ้าน ออกมาเป็นกรรมการถาม "ตรวจ ตอบ สอบ เสริม" เติมความรู้ความเข้าใจ และจัดให้แบ่งนักเรียนที่เหลือทั้งหมดเป็น ๕ กลุ่ม "รุม เรียนรู้ จากการ ดู ฟัง ตั้งคำถามร่วม" .... บรรยายกาศออกมา น่าพอใจ...
ต่อไปนี้เป็นผลงานของนักเรียนที่แต่ละกลุ่มไปทำมา ในเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์เศษๆ
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเป็นของหวานชนิดหนึ่ง เหมือน "เฉาก้วย" ... ขออภัยด้วยที่ไม่มีภาพมาให้ดู
ผมสะท้อนตรงไปตรงมาต่อครู ดังนี้
...สู้ต่อไปครับครู ...
ในการทำ AAR ในก่อนจากกันในวัน "ฝึกทำ" เราตกลงกันว่า ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม กลับไป คิดสร้างสรรค์ "ผลิตภัณฑ์" หรือ "ผลงาน" โดยสนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มละ ๕๐๐ บาท โดยกำหนดหัวเรื่อง สมุนไพรในโรงเรียน สัปดาห์ถัดมา เราจะกลับมานำเสนอผลงานของตน โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นคณะกรรมการพิจารณา "คุณค่า" ของงานแต่ละส่วน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อ
วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ตอนบ่าย เรากลับไปอย่างมีความหวังที่จะเห็น "พลังของการเรียนรู้" ในพื้นที่และความภาคภูมิใจของตนเอง
เริ่มที่กิจกรรม "ส่งสาส์นสร้างความสามัคคี" คล้ายๆ กับที่กิจกรรม "ส่งสารผ่านสัมผัส หัดเรียนรู้จิต แยกความคิดกับความรู้สึก" แต่ปรับให้ง่ายขึ้น และพูดเชื่อมโยงให้เกิดความสามัคคีแทนที่จะเน้นคุณภาพของใจ
เห็นได้ชัดว่า นักเรียนส่วนใหญ่มี "สมาธิ" ใช้ได้ แต่ถ้าประเมินจากผลการส่งสาส์นที่ไม่สำเร็จเลย แม้จะให้ทดลองหลายครั้ง แสดงว่ามีนักเรียนส่วนหนึ่ง ที่เราเข้าไม่ถึง "ใจ" เขาเลย .... ไม่เป็นไร ... ผมจึงใช้กิจกรรม "จิตตปัญญา" ที่ง่ายกว่า คือกิจกรรม "นับจับสติฝึกสมาธิแบบง่าย"
"นับจับสติ" ได้ผล สามารถดึง "สติ" ของทุกคนกลับมาได้ แม้จะยังไม่สำเร็จโดยง่าย เพราะกิจกรรมนี้ต้องใช้ "สมาธิ" และไหวพริบ "คิดเร็ว" พอสมควร วิธีการคือ
- ให้นับเลขเรียง ๑ ๒ ๓ .... เวียนตามเข็มนาฬิกาไปเรื่อยก่อน จากนั้น
- เพิ่มกติกาว่า พอมีเลข ๓ หรือ เลข ๗ ให้เปลี่ยนจากการ "ออกเสียง" เป็นการ "ปรบมือแทน" เช่น ๑ ๒ แป๊ะ (คนที่สามให้ปรบมือ) ๔ ๕ ๖ แป๊ะ (คนที่เจ็ดปรบมือ) ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๐แป๊ะ (ออกเสียงว่า "สิบ" แล้วปรบมือ) ๑๔ ๑๕.... เป็นต้น
- ถ้าไม่เป็นไปตามกติกา ให้เริ่มนับใหม่ ... ท้าทายให้นับได้ครบทุกคน .....
กิจกรรมสุดท้าย อย่างไรก็ต้องไปให้ถึง "ความสามัคคี" จึงใช้วิธี "นับ ๑ ถึง ๑๐ " ดังนี้
- ให้เริ่มนับเรียงตั้งแต่ ๑ ๒ ๓.... เวียนขวาไปถึง ๑๐ ... แล้วเริ่มใหม่ ไปเรื่อยๆ... ก่อน
- บอกว่าให้นับ ๑ ถึง ๑๐ แบบนี้ แต่มีกติกา ๒ ข้อ คือ ๑) คนนั่งติดกันต้องไม่นับเลขต่อกันไม่ว่าจะเวียนซ้ายหรือเวียนขวา ๒) ถ้าเกิดมีคนนับพร้อมกัน ให้ไปเริ่มที่ ๑ ใหม่ โดยต้องเป็นคนใหม่ที่ไม่เคยนับ ๑ มาก่อน
- ด้วยวิธีนี้... ความสามัคคี คือสิ่งที่ต้องมี เพราะทุกคนต้อง "ฟัง" "สังเกต" และ "ร่วมมือ" ....
ผมเชิญตัวแทนกลุ่มแรกออกมายืนหน้าผลงานของตนเอง เรื่อง "สมุนไพรลูกประคบ" แล้วให้นำเสนอ แม้จะพูดได้ดี แต่ด้วยเหมือนจะมีแต่ผมและนักเรียนไม่กี่คนเท่านั้นที่สนใจ ผมปรับเปลี่ยนกิจกรรมทันที เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยให้ตัวแทนทุกกลุ่มออกมายืนหน้าผลงาน แล้วเรียนเชิญครูและปราชญ์ชาวบ้าน ออกมาเป็นกรรมการถาม "ตรวจ ตอบ สอบ เสริม" เติมความรู้ความเข้าใจ และจัดให้แบ่งนักเรียนที่เหลือทั้งหมดเป็น ๕ กลุ่ม "รุม เรียนรู้ จากการ ดู ฟัง ตั้งคำถามร่วม" .... บรรยายกาศออกมา น่าพอใจ...
ต่อไปนี้เป็นผลงานของนักเรียนที่แต่ละกลุ่มไปทำมา ในเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์เศษๆ
สมุนไพรลูกประคบ |
ต้มไก่บ้าน |
เทียนหอมกลิ่นตะไคร้ |
สบู่สมุนไพรจากขมิ้น |
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเป็นของหวานชนิดหนึ่ง เหมือน "เฉาก้วย" ... ขออภัยด้วยที่ไม่มีภาพมาให้ดู
ผมสะท้อนตรงไปตรงมาต่อครู ดังนี้
- นักเรียนยังไม่มีทักษะในการเรียนรู้แบบรู้จริง งานเกือบทั้งหมดทำขึ้นด้วยการสืบค้นหรือสอบถามแบบ "ชั้นเดียว" ขาดความ "รู้รอบ" และแน่นอนว่า "ไม่รู้ลึก"
- การทำงานเป็นทีมของนักเรียนยังไม่เกิดขึ้น มีเพียงนักเรียนบางคนในกลุ่มเท่านั้นที่รู้เรื่อง และมีส่วนร่วมกับการทำงาน ส่วนใหญ่น่าจะยังไม่ได้โอกาส น่าจะยังขาดกระบวนการ "ฝึกคิด" "ฝึกทำ"
- สังเกตว่า นักเรียนที่เป็นตัวแทนบางคน นำเสนอได้ดี พูดจาฉะฉาน และตอบคำถามได้อย่างดี แต่มีข้อแม้ว่าต้องถามตามสิ่งที่ได้จำและนำมา ...
- ผมสังเกตว่า ตอนที่ครูออกไปสรุปในตอนท้ายก่อนจะปิดงาน เด็กๆ เกือบทั้งหมดคุยกัน ไม่ฟังครูเลย ....
...สู้ต่อไปครับครู ...
ที่มา : http://www.weekendhobby.com/camp/webboard/picture2010%5C1712255373551.JPG |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น