CADL _ สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : ประจำปี ๒๕๕๗ (๑)
ผมจำได้แม่นว่า โครงการสืบสาน "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" นั้น เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยต่อเนื่องกันมาหลายปี ก่อนที่จะมีนโยบาย "หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน" (ด้วยซ้ำไป) ตอนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับงาน "ประกันคุณภาพการศึกษา" ในแผนปฏิบัติพัฒนาต้องพิจารณาว่าสอดคล้องกับเกณฑ์ประกันคุณภาพที่กำหนดจาก สมศ. หรือไม่ และในหนึ่งนั้นคือ "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"
ความเชื่อและศรัทธา ส่งผลโดยตรงกับความเข้าใจใน "เจตนา" ของเกณฑ์ประกันฯ ผมคิดเอาเองว่า คนกลุ่มใหญ่กว่า เข้าใจว่า "ต้องทำโครงการนี้" เพราะมีผลกับ "ประกันฯ" คนอีกกลุ่มใหญ่เข้าใจว่า ทำเพื่อเทิดพระเกียรติ คงมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ "ระเบิดจากภายใน" เข้าใจจริงๆ ว่า "พระราชดำริ" ที่แปลงเป็นยุทธศาสตร์การปฏิบัติผ่าน "เกณฑ์ประกันฯ" นั้น แท้จริงแล้ว ท่านทรง "ดำริ" เพื่อประโยชน์สุขของชนชาวไทย...... ผมเคยได้ยินหลายคนบอกว่า เรากำลังทำเพื่อในหลวง ผมจะชอบถามกลับทันทีว่า "แล้วในหลวงทำเพื่อใคร?...
ในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ผมเรียน ผอ.สำนักศึกษาทั่วไปในขณะนั้นว่า ขอสละสิทธิ์โครงการ "หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน" เพราะแม้จะไม่รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ศูนย์ CADL เราก็ทำงานตามเจตนารมณ์ของ "หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน" อยู่แล้ว เพียงแต่ "ชุมชนด้านการศึกษา" หรือเราเรียกว่า "ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์" อย่างไรก็ตาม โครงการสืบสาน "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ยังประสงค์ที่จะดำเนินการต่อไป โดยบูรณาการกับการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและมหาวิทยาลัยต่อไป
ปี ๒๕๕๖ โครงการ "หนึ่งหลักสูตร หนึ่งชุมชน" ของสำนักศึกษาทั่วไป มุ่งไปที่การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นด้านสมุนไพรในโรงเรียน (อ่านที่นี่) คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในบอกเราว่า ปี ๒๕๕๗ ควรจะออกไปติดตาม ว่าโรงเรียนนำไปใช้หรือไม่ และเกิดผลอย่างไร เราจึงได้กำหนดในแผนประจำปีว่า จะกลับไปที่ โรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ไปประเมิน ติดตาม ชวน ชง เชียร์ ชม และช่วย ถ้าจำเป็น ดังที่จะได้เห็นในบันทึกนี้
ต่อไปนี้คือผลการประเมินเบื้องต้น
ขั้นที่ ๑ ฝึกคิด
ขั้นที่ ๒ ฝึกทำ
ขั้นนี้คุณก้อยออกแบบกระบวนการและกิจกรรม แล้วนำมาเสนอต่อทีม มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ ประชุมเตรียมงานอย่างดี และชวนให้บุคลากรของ GE เข้ามีส่วนร่วมด้วย อีกหลายคนเช่น คุณโอ้ คุณปู คุณดาว และน้องท็อปและน้องหนิง ฯลฯ
แนวคิดกิจกรรมคือ จัดให้นักเรียนทุกคน "ฝึกคิด ฝึกทำ" ผ่านแต่ละฐานการเรียนรู้ชั่วคราว ซึ่งมีปราชญ์สมุนไพรชาวบ้าน มาเป็นกรรมการให้ความรู้และร่วมดูแลทุกฐาน ... หากท่านผู้อ่านอยากทราบรายละเอียดของแต่ละฐานคงต้องให้เจ้าของกระบวนการ หรือ "ไอเดีย" มาเคลียร์ความเข้าใจนะครับ ... ตอนนี้ฟังผมเขียนสั้นๆ ไปก่อน
ฐานแรกเรียก "ภาษาสมุนไพร" โจทย์ก็เพียงให้ สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันหา "ตัวอักษร" ที่ซ่อนอยู่ในบริเวณที่กำหนด โดยบอกใบ้ให้ว่ามี ๕ ตัว เมื่อเจอแล้วให้นำมาต่อกันให้เป็น "คำ" เรียกว่าต้องมีทั้งความ "รู้จำ" และ "ทักษะการหาของ" ... AAR พบว่า นักเรียนที่นี่ "รู้ดี" เกี่ยวกับคำว่า "herbs" ที่แปลว่า "สมุนไพร" (หลายแนว..ฮา)
ฐานที่ ๒ ผมเรียกว่า "พรานสมุนไพร" ... ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำ ดังนี้
ฐานที่ ๓ จับไข่
ทีมงานเตรียม "ไข่" ในที่นี้แทนด้วยลูกปิงปอง แล้วปล่อยให้ไหลลงตาม "ราง" ดังรูป นักเรียนจะต้อง "จับไข่" ด้วยไม้ตะเกียบ ซึ่งต้องใช้สมาธิและทักษะการปรับตัวของกล้ามเนื้องมัดเล็กอย่างยิ่ง
ฐานที่ ๔ "เสียวลืม"
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจอะไรผิด... ผมก็ใคร่ครวญแล้วว่า จะนำมาเขียนเป็นบันทึกในลักษณะไหน... พอถามว่า อะไรคือเหตุผลที่ตั้งชื่อนี้ เขาบอกว่ามันเป็น "ภาษาวัยรุ่น" ที่จะนำความสนใจของเด็กไปสู่ สมุนไพรใกล้ตัวชนิดสำคัญ คือ "ต้นเสียว" ที่มีสรรพคุณ "่ช่วยขับปัสสาวะ" .... ก็พอจะเข้าใจแล้ว...
วิธีการของฐานนี้ มี ๒ กิจกรรม
กิจกรรม ๑ เริ่มที่
ปี ๒๕๕๖ โครงการ "หนึ่งหลักสูตร หนึ่งชุมชน" ของสำนักศึกษาทั่วไป มุ่งไปที่การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นด้านสมุนไพรในโรงเรียน (อ่านที่นี่) คณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในบอกเราว่า ปี ๒๕๕๗ ควรจะออกไปติดตาม ว่าโรงเรียนนำไปใช้หรือไม่ และเกิดผลอย่างไร เราจึงได้กำหนดในแผนประจำปีว่า จะกลับไปที่ โรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ไปประเมิน ติดตาม ชวน ชง เชียร์ ชม และช่วย ถ้าจำเป็น ดังที่จะได้เห็นในบันทึกนี้
ต่อไปนี้คือผลการประเมินเบื้องต้น
- ทางโรงเรียนมอบหมายให้ครู ๒ ท่าน เป็นผู้รับผิดชอบในการทดลองใช้หลักสูตรฯดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ไม่ได้ร่วมและรวมกันทั้งโรงเรียน การไปดำเนินกิจกรรมของเราคราวนี้ทั้ง ๓ ครั้ง ผู้อำนวยการให้โอกาส แต่ท่านอาจยังไม่ได้ให้ความสำคัญแบบ "ยิ่งยวด" กับการพัฒนาการเรียนรู้ในแนวนี้มากนัก .... นี่ถือเป็นข้อจำกัดสำคัญของการพัฒนา....
- คุณครูทั้งสองท่าน กำหนดเวลาบ่ายของทุกวันศุกร์ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้น ม.๔-ม.๖ จำนวนประมาณ ๑๘-๕๐ คนที่ไม่ได้เข้าโครงการ "๑ คน ๒ ใบประกาศ" ที่ทางโรงเรียนทำความร่วมมือกับวิทยาลัยสารพัดช่าง จ.มหาสารคาม (คล้ายๆ กับที่ โรเรียนนาดูนประชาสรรพ์ทำกับวิทยาลัยการอาชีพวาปีปทุม ที่นี่)
- จากการสอบถามครูผู้รับผิดชอบ พบว่า ไม่ได้ดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรสมุนไพร่ฯ แต่อย่างใด .... เราจึงปรับแผนเพื่อเข้าไป "พาทำ" โดยออกแบบกิจกรรมเป็น ๓ ช่วง ได้แก่ ๑) ขั้นคิด ๒) ขั้นทำ และ ๓) ขั้นนำเสนอ...ดังจะได้เล่าให้ฟังต่อไป
- การดำเนินการทั้ง ๓ ขั้นตอน ได้รับความร่วมมือจากครูและปราชญ์ชาวบ้านเป็นอย่างดี
- ทัศนคติของนักเรียนต่อการเรียน คือปัญหาสำคัญเร่งด่วน
ขั้นที่ ๑ ฝึกคิด
ขั้นที่ ๒ ฝึกทำ
ขั้นนี้คุณก้อยออกแบบกระบวนการและกิจกรรม แล้วนำมาเสนอต่อทีม มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ ประชุมเตรียมงานอย่างดี และชวนให้บุคลากรของ GE เข้ามีส่วนร่วมด้วย อีกหลายคนเช่น คุณโอ้ คุณปู คุณดาว และน้องท็อปและน้องหนิง ฯลฯ
แนวคิดกิจกรรมคือ จัดให้นักเรียนทุกคน "ฝึกคิด ฝึกทำ" ผ่านแต่ละฐานการเรียนรู้ชั่วคราว ซึ่งมีปราชญ์สมุนไพรชาวบ้าน มาเป็นกรรมการให้ความรู้และร่วมดูแลทุกฐาน ... หากท่านผู้อ่านอยากทราบรายละเอียดของแต่ละฐานคงต้องให้เจ้าของกระบวนการ หรือ "ไอเดีย" มาเคลียร์ความเข้าใจนะครับ ... ตอนนี้ฟังผมเขียนสั้นๆ ไปก่อน
ฐานแรกเรียก "ภาษาสมุนไพร" โจทย์ก็เพียงให้ สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันหา "ตัวอักษร" ที่ซ่อนอยู่ในบริเวณที่กำหนด โดยบอกใบ้ให้ว่ามี ๕ ตัว เมื่อเจอแล้วให้นำมาต่อกันให้เป็น "คำ" เรียกว่าต้องมีทั้งความ "รู้จำ" และ "ทักษะการหาของ" ... AAR พบว่า นักเรียนที่นี่ "รู้ดี" เกี่ยวกับคำว่า "herbs" ที่แปลว่า "สมุนไพร" (หลายแนว..ฮา)
ฐานที่ ๒ ผมเรียกว่า "พรานสมุนไพร" ... ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำ ดังนี้
- ทีมงานนำกระดาษแผ่นเล็กๆ ที่เขียนชื่อสมุนไพรชนิดต่างๆ (แผ่นละชื่อ) โดยเลือกเอาเพียงสมุนไพรที่มีในโรงเรียนเท่านั้น ใส่ไว้ในถุงพลาสติก แล้วนำไปซ่อนไว้ในบริเวณที่กำหนด
- หลังจากนักเรียนรายงานตัวเข้าฐาน ก็ปล่อยให้ค้นหาและมอบหมายคำสั่งว่า ให้ไปเด็ดใบหรือกิ่ง(แก่) ของสมุนไพรตามชื่อที่กำหนด ใส่ไว้ในถุงพลาสติกเดียวกัน
- ให้ปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ตรวจในฐานะกรรมการให้คะแนน และให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสมุนไพรชนิดนั้นๆ
ฐานที่ ๓ จับไข่
ทีมงานเตรียม "ไข่" ในที่นี้แทนด้วยลูกปิงปอง แล้วปล่อยให้ไหลลงตาม "ราง" ดังรูป นักเรียนจะต้อง "จับไข่" ด้วยไม้ตะเกียบ ซึ่งต้องใช้สมาธิและทักษะการปรับตัวของกล้ามเนื้องมัดเล็กอย่างยิ่ง
ฐานที่ ๔ "เสียวลืม"
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งเข้าใจอะไรผิด... ผมก็ใคร่ครวญแล้วว่า จะนำมาเขียนเป็นบันทึกในลักษณะไหน... พอถามว่า อะไรคือเหตุผลที่ตั้งชื่อนี้ เขาบอกว่ามันเป็น "ภาษาวัยรุ่น" ที่จะนำความสนใจของเด็กไปสู่ สมุนไพรใกล้ตัวชนิดสำคัญ คือ "ต้นเสียว" ที่มีสรรพคุณ "่ช่วยขับปัสสาวะ" .... ก็พอจะเข้าใจแล้ว...
วิธีการของฐานนี้ มี ๒ กิจกรรม
กิจกรรม ๑ เริ่มที่
- ทีมงานเตรียมเหรีษญ ๒๕ สตางค์ ๕๐ สตางค์ ๑ บาท ๒ บาท ๕ บาท และ ๑๐ บาท หลายๆ เรียน วางไว้ในน้ำเย็น (เย็นมากๆ) ปิดไว้ไม่ให้มองเห็น
- แจ้งกติกากับนักเรียน ดังนี้ว่า ให้แต่ละคน "งมหา" (ล้วงมือไปในถัง) "คลำ" เงินเหรียญขึ้นมา มีเป้าหมายว่า ให้ได้จำนวนรวม (นำมารวมกันทั้งกลุ่ม) ที่กำหนด ... นักเรียนต้องคิดวางแผนกัน ฝึกการทำงานเป็นทีม และความรับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง
- ถามว่ารู้สึกอย่างไร เมื่อสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ เพราะอะไร .... เสียวไหม ....
- รู้จักต้น "เสียว" ไหม?
- ให้ส่งตัวแทนออกมา ให้ดูคำเฉลยถึงสรรพคุณ
- นักเรียนตัวแทน แสดงท่าทาง "ใบ้บอกคำเฉลย" กับเพื่อนๆ
- ถ้าทายถูก .... (ซึ่งสนุกมาก) ก็ได้คะแนนไป ..
ฐานที่ ๕ ชิวหาพารู้
ฐานนี้เป็น "ไอเดีย" ของผมเอง "ปิ๊งขึ้น" ตอนที่กำลังร่วมประชุมกับทีม โครงคิดของผม "เน้น" เรื่องการเรียนรู้ด้วย "ฐานใจ ฐานกาย และฐานคิด" ฐานทุกอันที่ผ่านมา ยังไม่ได้เรียนรู้ "ปัญญา" จากการสัมผัสด้วย "จมูก" และ "ลิ้น" จึงได้ตั้งชื่อเพื่อ "เน้น" ให้เห็นความสำคัญของเครื่องมือนี้ว่า "ชิวหาพารู้" "นาสิกพารู้" "โสตะพารู้" "ทัศนะพารู้" และรวมถึง "กายาพารู้" ... เรียกให้สั้นๆ ว่า "ชิวหาพารู้"
- ทีมงานเตรียมสมุนไพร ๕ ชนิด ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย และ อือทือ ซอย (หั่น) เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ภาชนะไม่ให้เห็น
- หลังรายงานตัว ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มของตนเองออกเป็น ๕ ทีม ให้เข้าฐานทีละทีม
- ... เชิญหลับตาลงครับ ... เราเรียนรู้ผ่านตาคือ "ทัศนะ" ผ่านหูคือ "โสตะ" ผ่านผิวกาย "กายา" มามากแล้ว วันนี้ อาจารย์จะให้พวกเราสังเกตเรียนรู้ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า "นาสิก" และ "ชิวหา" แล้วช่วยบอกอาจารย์ทีว่า สมุนไพรที่ได้ดมกลิ่นและได้ชิมรสนั้น คืออะไร...
- ผมแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ และกระตุ้นแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ขั้นสูงขึ้นด้วยคำพูดต่อไปนี้...ทุกคนต้องหลับตาให้สนิท ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น เราอยู่กับพ่อแม่ผู้มีพระคุณสิ่งสำคัญที่สุดคือความกตัญญู กตเวทิตา เช่นเดียวกัน...ความซื่อสัตย์เป็นคุณสมบัติของคนดีที่สำคัญที่สุดสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม... ถ้าใครซื่อสัตย์สุดจริต ขอให้ชีวิตเจริญๆ สอบที่ไหน ประสงค์สิ่งใดขอได้ดังหวัง....สาธุ...
- เริ่มต้น ที่ให้ "ดม" จากถ้วยสมุนไพรประจำทีม (ทีมละชนิด) ก่อน จากนั้นหยิบให้ "คลำ" และกำชับให้ "ชิม" เมื่อรู้แล้วให้โยนทิ้ง ก่อนลืมตาออกจากฐานไป ... ให้ไปใคร่ครวญร่วมกันว่า สมุนไพรชนิดนั้นคืออะไร ก่อนกลับมาให้คำตอบอีกครั้ง
หลังกิจ ๕ กิจกรรม เรามารวมกัน AAR ที่ศาลาใต้ถุนอาคารเรียน โดยสรุป เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบตื่นตัว (Active Learning) ที่ทุกคน "มีความสุข สนุกที่ได้เรียน" ผมประเมินด้วยความรู้สึกตนเองว่า ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง ทุกสิ่งที่เราคาดหมาย ทั้งความรู้ด้านสมุนไพร ฝึกทักษะการเรียนรู้ และการสร้างแรงบันดาลใจ ความภูมิใจ และเจตคติอื่นๆ ...
ผมสังเกตว่าครูสายยล ก็เห็นด้วยว่า กิจกรรมการเรียนรู้แบบนี้ดีมาก เด็กๆ ได้เรียนรู้เยอะมาก และพวกเขาก็ชอบมาก ... ก็ขอเป็นกำลังใจให้ท่านปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนของครูในโรงเรียนมาใช้วิธีที่เราได้เรียนรู้วันนี้บ้าง
นี่เป็นเวทีที่ "กระบวนกร" น้องใหม่ของ ค่าย CADL (คุณก้อย อาริษา) ได้ทำเองทั้งหมดตั้งแต่
คิดเอง ออกแบบเอง ทำเอง นำเสนอเอง โดยมีเราทีมช่วยหนุน .... รออ่านผลงานของเธอต่อไปครับ...ฮา..
ดูรูปทั้งหมดที่นี่
ขอบคุณภาพสวยๆ จาก คุณปู (ประชาสัมพันธ์ GE) นะครับ ฝีมือถ่ายภาพเยี่ยมจริงๆ ครบถ้วน ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร ได้อะไร....
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น