บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2019

mini-UKM #20 @NPU (3): "การสอนอย่างครูมืออาชีพ"

รูปภาพ
ในช่วงของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของงาน mini-UKM#20 ณ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม (๒๔ มกราคม ๒๕๖๒) ผมอาสาเป็นตัวแทนของคณาจารย์ที่ร่วมกันสังเคราะห์รูปแบบ "ครูมืออาชีพ" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปนำเสนอในกลุ่มย่อยหัวปลา "การสอนอย่างมืออาชีพ" เมื่อวงแลกเปลี่ยนได้เวียนมาถึง ผมนำเสนอสั้น ๆ โดยใช้เวลาประมาณ ๕ นาที ประกอบสไลด์ต่อไปนี้  โดยเกริ่นถึงเวที mini-UKM-MSU ที่ศูนย์ประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยจัดในเดือนธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา (ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่แล้ว อ่านได้ ที่นี่ ) อาจารย์ที่มาทำหน้าที่เป็นคุณฟา เรียกแผนภาพด้านต่าง ๆ ที่่ผมนำเสนอว่า ม.มหาสารคามโมเดล  มมส. โมเดล บอกว่า คุณลักษณะของอาจารย์ที่จะสอนได้อย่างมืออาชีพ จะมี ๔ องค์ประกอบ แสดงดังแผนภาพด้านล่าง  Values & Attributes คุณลักษณะประจำตัวของอาจารย์  Content Knowledge ความรู้และทักษะเฉพาะในเนื้อหา Pedagogical Knowledge ความรู้และทักษะด้านการเรียนการสอน Technological Knowedge  ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี  เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตามกร

mini-UKM#20 @NPU (1): Good Practice กับ Best Practice

รูปภาพ
สามวันนี้มีการจัดงาน mini-UKM ครั้งที่ ๒๐ ที่ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ผมอาสามาร่วมโดยร่วมทางมากับทีมประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย ตั้งใจจะเอา Good Practice (GP) ที่เราได้ถอดบทเรียนไว้ มาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ผู้สอนมหาวิทยาลัยอื่น เพื่อประโยชน์ต่อไป การออกแบบกิจกรรม mini-UKM ครั้งนี้คล้ายกระบวนการปีที่แล้ว ยังกำหนดที่ ๔ ประเด็นแลกเปลี่ยน แต่มีการเพิ่มกิจกรรมในช่วงบ่ายของวันแรกเพื่อเน้นให้ผู้มาร่วมรู้จัก KM รู้จักลักษณะและวิธีการค้นหา Best Pracetice (BP) ก่อนจะเปิดงานในวันที่สองและค้นหา BP ต่อไป GP และ BP ต่างกันอย่างไร  ศาสตราจารย์ นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร เน้นย้ำให้เห็นความตกต่างระหว่าง GP และ BP ผมจับความได้ดังต่อไปนี้ครับ ท่านเริ่มด้วยการให้สมาชิกทุกท่านเขียนตอบคำถาม ๔ คำถาม ต่อไปนี้ ลงในกระดาษ A4 Best Practice คืออะไร ทำไมต้องค้นหา Best Practice ท่านจะค้นหาประเด็น Best Practice เรื่องใด การค้นหา BP ทำได้อย่างไร  ท่านบรรยายสรุปเฉลย ผมจับใจความได้ว่า  BP คือแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ...  เน้นย้ำคำว่า "ดีที่สุด"

เจตคติ กับ เจตสิก (คิดเรื่องหลักการในการวัดคุณธรรมแบบพุทธ)

รูปภาพ
"เจตคติ" เป็นคำที่สำนักราชบัณฑิตฯ นิยามขึ้นเพื่อแปลคำว่า "attitude"  รากศัพท์ของคำว่า "เจตคติ" คือ คำภาษาบาลีว่า "เจตนา" ซึ่งเป็นเพียง ๑ ใน ๕๒ "เจตสิก" และคำว่า "คติ" (อ่านละเอียด ที่นี่ )    องค์ความรู้เรื่อง "เจตสิก"  (เจตคติตามแนวพุทธ) องค์ความรู้เกี่ยวกับคำว่า "เจตสิก" มีอธิบายไว้ในพระอภิธรรม ตำราคำสอนในพระพุทธศาสนา  สรุปสั้นที่สุดได้ดังนี้ (หากต้องการอ่านเอง คลิก ที่นี่ ที่นี่ และ ที่นี่ เขียนได้ดีมาก) คน ประกอบด้วย กาย จิต และ เจตสิก  จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ (อารมณ์ในที่นี้คือทุกสิ่งที่ถูกรู้) ทำหน้าที่ รู้ ระลึก คิด  เจตสิก คือ ธรรมชาติที่เกิดประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้เป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบจิต   เจตสิก มีลักษณะเฉพาะตน ๔ ประการ ได้แก่ เกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกันกับจิต  ดังนั้น จิตจึงเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะ เจตสิกต้องอาศัยจิตเสมอ  เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ชนิด แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่  เจตสิกที่เกิดประกอบกับจิตทั่วไป จิตดวงใดก็ได้

mini-UKM-MSU: ครูมืออาชีพ (๖) มาตรวัดด้านคุณธรรมจริยธรรม (แบบตะวันตก)

รูปภาพ
การวัดคุณธรรมจริยธรรม เกือบทั้งหมดที่สืบค้นได้ทางอินเตอร์เน็ตสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ แบบ ขอเรียกด้วยสำนวนตนเองว่า แบบตะวันตก และ แบบตะวันออก ... ที่น่าสนใจ (และน่าน้อยใจ) มาก ๆ คือ งานวิจัยด้านการวัดผลประเมินส่วนใหญ่ เป็นแบบตะวันตก (ตามฝรั่ง) ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ที่มีคำสอนเรื่อง "จิต" และ "เจตสิก" อันครอบคลุมคำว่า "เจตคติ" ที่นิยามขึ้นตามฝรั่งแทนคำว่า "Attitude" ... การเห่อตามฝรั่งแบบนี้ก่อเกิดผลรุนแรงถึงขึ้นเปลี่ยนความรู้ความเห็นของคนทั้งประเทศได้เลย ดังเช่น กรณี "พุทธอุบัติภูมิ" ที่ผมเคยเขียนไว้ ที่นี่ ทฤษฎีการวัดผลทางการศึกษา บอกว่า การวัดผลประเมินผลด้านคุณธรรมจริยธรรม คืออันเดียวกับ การวัดผลทางเจตคติ (Attitude) ตามทฤษฎีลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม (Bloom' Taxonomy) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) จึงใช้เครื่องมือวัดแบบต่าง ๆ ที่ใช้วัดเจตคติมาใช้วัดคุณลักษณะด้านคุณธรรม....ดังนั้น หากเราจะสร้างเครื่องมือวัดคุณธรรมและจะทำให้เป็นที่ยอมรับ ควรจะเริ่มศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่อง "เจตคติ" นี้เป็น

ความรู้เรื่อง Infographics จากมืออาชีพ

รูปภาพ
วันนี้ (๙ มกราคม ๒๕๖๒) มาสอนวิชาความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ครั้งแรกของภาคเรียน กำลังจะกลับ พบภาคิชากำลังอบรมเรื่อง Infographics คว้าโอกาสทันที เข้าร่วมอบรม และจับประเด็นฝากท่านครับ อะไรคือ Infographics แปลงข้อมูลเป็นภาพ ต้องจบในหน้าเดียว  ข้อมูลทุกอย่างบรรจุอยู่ในหน้าเดียว มีหลากหลายแบบเช่น แบบภาพนิ่ง เป็นอินเตอร์แอ็คทีฟ แบบโมชั่นอินโฟกราฟฟิค ฯลฯ  เอาแต่ข้อมูลแบบสำคัญ ๆ เนื้อ ๆ  วิธีการมาตรฐาน ควรแบ่งชิ้นงาน (กระดาษ)เป็น  ๓ ส่วน คือ  Headline  หัวข้อ Body  คือจุดโฟกัส เด่นสุด  สักหนึ่งภาพพอ  Footer ควรเป็นสีเดียวกับ Headline  ควรมีการออกแบบเลย์เอาท์ (Layout) หรือ ไทม์ไลน์ (Timeline) หรือเป็นโร๊ดแม๊ป (Road Map) ควรใช้สีตามสูตรการใช้สีคือ  60%  สีกราวน์ แบคกราวน์  30% สีภาพ สีกราฟฟิค ถ่ายทอดข้อมูล 10% สีเด่น สีเน้น สีข้อมูลตัวเลขเด่น ๆ   ตัวอักษร พื้นเข้มตัวหนังสือต้องอ่อน พื้นอ่อนตัวหนังสือต้องเข้ม สีต้องตัดกัน เช่น แดง-ขาว เขียว-ส้ม ฯลฯ เทคนิคหรือเคล็ดลับ สี...  การใช้สีที่จัดจ้าน ถ้า object สีเข้ม แบ็คกราวน์ต้องสีอ่อน แต่ไม่ใช่ถึงขั้นกระดาษเปล่า