mini-UKM #20 @NPU (3): "การสอนอย่างครูมืออาชีพ"

ในช่วงของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของงาน mini-UKM#20 ณ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม (๒๔ มกราคม ๒๕๖๒) ผมอาสาเป็นตัวแทนของคณาจารย์ที่ร่วมกันสังเคราะห์รูปแบบ "ครูมืออาชีพ" ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปนำเสนอในกลุ่มย่อยหัวปลา "การสอนอย่างมืออาชีพ"

เมื่อวงแลกเปลี่ยนได้เวียนมาถึง ผมนำเสนอสั้น ๆ โดยใช้เวลาประมาณ ๕ นาที ประกอบสไลด์ต่อไปนี้  โดยเกริ่นถึงเวที mini-UKM-MSU ที่ศูนย์ประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยจัดในเดือนธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา (ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เผยแพร่แล้ว อ่านได้ที่นี่)
  • อาจารย์ที่มาทำหน้าที่เป็นคุณฟา เรียกแผนภาพด้านต่าง ๆ ที่่ผมนำเสนอว่า ม.มหาสารคามโมเดล 
  • มมส. โมเดล บอกว่า คุณลักษณะของอาจารย์ที่จะสอนได้อย่างมืออาชีพ จะมี ๔ องค์ประกอบ แสดงดังแผนภาพด้านล่าง 
    • Values & Attributes คุณลักษณะประจำตัวของอาจารย์ 
    • Content Knowledge ความรู้และทักษะเฉพาะในเนื้อหา
    • Pedagogical Knowledge ความรู้และทักษะด้านการเรียนการสอน
    • Technological Knowedge  ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี 

  • เมื่อพิจารณาเทียบเคียงกับ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ TQF แต่ละองค์ประกอบอาจมีความสัมพันธ์กันดังภาพ 

  • ดังนั้น ถ้าพบว่านิสิตมีปัญหาด้านใด อาจารย์สามารถแก้ไขหรือไปพัฒนาตนเองได้ตรงจุด เช่น 
    • ถ้านิสิตขาดจริยทักษะ (softskills) ต้องแก้ด้วยวิธีการจัดการเรียนการสอน หรือ PK อาจารย์ผู้สอนต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพิ่มเติมด้านนั้น  หน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่รับผิดชอบจะต้องจัดให้มีเวทีพัฒนาอาจารย์เรื่องนั้น 
    • ถ้านิสิตมีปัญหาด้านคุณธรรม จริยธรรม ต้องแก้ไขที่ VA  คือ คุณลักษณะของอาจารย์ 
    • ฯลฯ 

  • อาจารย์แต่ละท่าน สามารถจะวิเคราะห์ ตนเองได้ จากแผนภาพด้านบน เช่น  หากพบว่าตนเองอยู่ในพื้นที่ หมายเลข ๓ อาจต้องไปเข้ารับการอบรมพัฒนาด้าน PK เป็นต้น 
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ถูกคัดเลือก เราพบว่า อาจารย์แต่ละท่านจะมีคุณลักษณะและเทคนิควิธีการสอนที่แตกต่างกันอย่างหลักหลาย ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ด้านการศึกษา ประสบการณ์ด้านการสอน และความสนใจส่วนตัว รวมถึงบุคลิกหรือนิสัยประจำตัวด้วย  จึงเป็นการยากมากที่จะนำเอา BP (best practice) ใด ๆ มาให้อาจารย์ท่านใดทำตาม 
  • อาจารย์ที่ไม่เคยเรียนด้านการสอนมา จะมีเทคนิคและวิธีการแตกต่างกับอาจารย์ที่เรียนมาโดยตรงมาก 
  • อาจารย์ที่สนใจด้านเทคโนโลยี จะมีวิธีต่าง ๆ ที่ทำให้วิธีการสอนของตนเองแตกต่างไป 
  • อาจารย์ที่มีบุคลิกเงียบขรึมจะสอนแบบหนึ่ง ต่างจากอาจารย์ที่ใจดี เป็นกันเอง ซึ่งจะใช้วิธีอีกแบบหนึ่ง ฯลฯ 


  • ด้วยความแตกต่างดังกล่าว ทำให้เราพบรูปแบบการสอนของอาจารย์มืออาชีพแต่ละท่าน แตกต่างไป  ๑ ท่าน จะมีวิธีการสอน ๑ รูปแบบ หรืออาจหลายรูปแบบ หรือบางท่านอาจจะไร้รูปแบบ เช่น
    • โมเดล Changes ของ ผศ.ดร.โสภา แคนสี (อ่านที่นี่)
    • โมเดลแห่งความเป็นครู ของ อ.ชัยพร พงษ์พิสันติรัตน์ (อ่านที่นี่)
    • โมเดลแห่งความใส่ใจ (Mind Model) ของ ผศ.ดร.นริสา วงศ์พนารักษ์ (อ่านที่นี่)
    • ฯลฯ
เราเริ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างมีความสุข และร่วมกันสรุปประสบการณ์ของทุกท่าน โดยใช้กรอบ ๔ องค์ประกอบข้างต้น  จนได้ภาพที่นำเสนอในวันสุดท้ายด้านล่าง  ... ขอขอบพระคุณภาพจากคุณหมอ JJ และอาจารย์ที่ทำหน้าที่ Facilitator อย่างมากครับ  .... จะรอการสรุปสาระจากทีม mini-UKM ของ ม.นครพนม เพื่อนำมาขับเคลื่อนต่อไปครับ 





ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านครับ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"