บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_12: ระบบและกลไกการส่งเสริมคนดีในมหาวิทยาลัย โดยสำนักศึกษาทั่วไป

รูปภาพ
ใกล้วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะครอบ ๔๘ ปี ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นโอกาสให้ระลึกย้อนไปถึงงานของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดีให้เป็นที่พึ่งของสังคมที่ผ่านมา ในงานวันคล้ายวันสถาปนาฯ ทุกๆ คณะ-วิทยาลัย จะจัดนิทรรศการแสดงผลงานเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานตามพันธกิจกับคณะ-วิทยาลัยอื่นๆ พันธกิจของฝ่ายพัฒนานิสิตและเครือข่ายวิชาการ ของสำนักศึกษาทั่วไป คือการส่งเสริมให้นิสิตมีคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๙) ประการ  ส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเรื่องนี้ คือ โครงการเด็กดีมีที่เรียน ซึ่งต้องทำติดต่อกันเป็น ๕-๑๐ ปี ถึงจะมีผลบ้าง ... ผมกับคุณภาณุพงศ์ ร่วมกันทำแผนผังการส่งเสริมคุณลักษณะนิสตที่พึงประสงค์ฯ เพื่อใช้สื่อสารในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย ที่จะถึงนี้  ดังภาพ คำอธิบาย           โครงการส่งเสริมผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม ให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (โครงการเด็กดีมีที่เรียน) เป็นอีกหนึ่งความพยายามของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมอบหมายให้สำนักศึกษาทั่วไปเป็นผู้ดำเนินการ ภายใต

CADL_KM-GE_๕๘-๐๑ : กลุ่มงานสารสนเทศ ครั้งที่ ๑

รูปภาพ
เป็นครั้งแรกในปีนี้ (๒๕๕๘) ที่เวที  KM แบบที่คาดหวังและใฝ่ฝันเกิดขึ้น "คุณเอื้อ" เวทีนี้ไม่ใช่ผม ไม่ใช่ผู้บริหาร แต่เป็นหัวหน้าหน่วยงานที่ริเริ่มขึ้นเอง ตรงนี้เป็นก้าวสำคัญยิ่ง เพราะสำหรับผมแล้วนี่คือสิ่งที่บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานด้วยการจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management (KM) ที่จำทำให้เราก้าวไปสู่ LO ตามความฝัน ระหว่างการเดินทางกลับจากการไปร่วมประชุมเกี่ยวกับ  " Sony 4K technology กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning" อาจารย์เอ็ม หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศ ของสำนักศึกษาทั่วไป บอกกับว่า เราน่าจะทำ KM กันบ่อยๆ  ... เห็นด้วยเต็มที่ครับ และยินดีมากๆ ที่กลายมาเป็นเวทีในวันนี้  โดยมี "คุณอำนวย" คือ อาจารย์เอ็ม หัวหน้ากลุ่มงานสารสนเทศ นั่นเอง  นอกจากเป็น "คุณเอื้อ" แล้ว คนเดียวกันยังทำหน้าที่เป็น "คุณอำนวย" ด้วย คือเป็นคนที่จะช่วยให้การสนทนาพเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย และทำให้ทุกคนได้พูดในสิ่งที่ทำ นำคุยเพื่อคุ้ยและถอดบทเรียนหรือความรู้ฝังแน่นในตัวผู้ปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ซึ่งทาง KM เราเรียกผู้ปฏิบัติว่า "คุณกิ

CADL_เครือข่ายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๒ : เป้าหมายของ PLC_GE-MSU

รูปภาพ
วัตถุประสงค์ของการสร้าง PLC อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป  ความมุ่งหมายของการสร้างเครือข่ายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือ PLC_GE-MSU  คือ เพื่อให้เกิดชุมชนเรียนรู้ที่จะร่วมมือกันพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกันอย่างลงตัวกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของนิสิตที่มหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ๓ ประการได้แก่ ๑) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อ่านได้ ที่นี่ ) ๒) พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป (อ่านได้ ที่นี่ ) ๓) สร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ โดยกำหนดบทบาทของแกนนำเครือข่าย ในที่นี้คือผู้บริหารและกรรมการประจำสำนักฯ ไว้เบื้องต้น ๔ ประการ ได้แก่ ๑) สื่อสารนโยบายการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป  ๒) อำนวยการให้เกิดการพัมนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ๓) กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน และ ๔) พัฒนาสื่อและเอกสารประกอบการสอน สถานการณ์ปัจจุบันของเครือข่าย

CADL_เครือข่ายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๑ : ที่มาที่ไปและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

รูปภาพ
พันธกิจของสำนักศึกษาทั่วไป ที่ผ่องถ่ายกลายมาเป็นภารกิจของฝ่าย CADL ประการสำคัญอย่างหนึ่ง ใน ๙ ประการ (ซึ่งเคยรายงานไว้ ที่นี่ ) การสร้างเครือข่ายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ต่อไปผมขอเรียกชื่อโดยเจาะจงเอาความสำเร็จที่คาดหวังไว้เบื้องหน้า มาเป็นสัญลักษณ์ว่า "PLC อาจาารย์ผู้สอน GE" ซึ่งก็คือ ชุมชนเรียนรู้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป (Professional Learning Community for General Education) นั่นเอง กระบวนทัศน์ หลักการ คือ ถ้าอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปทุกคนตระหนักร่วมกันถึงความสำคัญของการศึกษาทั่วไป จะเกิดกระบวนการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างทั่วถึงเพราะทุกคน "เอานิสิตเป็นตัวตั้ง" และจะจัดการเรียนการสอนที่มีพลัง มีความสุขสนุกทั้งผู้เรียนและผู้สอน มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และบ่มเพาะอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ปัญหาคือ จะทำอย่างให้ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย เห็นความสำคัญของรายวิชาศึกษาทั่วไป และเห็นโอกาสในการสร้างนิสิตที่สังกัดในสาขาวิชาของตนให้เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตรสาขาวิชาของตนๆ สมมติฐานคือ หากสามารถสร้าง PLC อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปได้ ค

PLC_CADL_046 : การบรรยายพิเศษของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (๒)

รูปภาพ
บันทึกที่ ๑ การบรรยายช่วงแรก อาจารย์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา  แสดงให้เห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลบนหลักคิดแบบวิทยาศาสตร์ว่าเมืองไทยเราน่าอยู่แค่ไหน  ท่านทำนายว่า "ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของอาเซียน" อย่างไม่ต้องสงสัย ใครๆ ก็อยากจะมาอยู่เมืองไทย เพราะใครๆ ก็คิดว่ามาอยู่เมืองไทยแล้วจะมีความสุข ...  แต่แท้จริงแล้ว ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่อาศัยเท่านั้น ปัจจัยสำคัญอยู่ที่ "ใจ" ท่านถามนิสิตว่า " ...เคยมีความสุขไหมครับ... ความสุขมันหายไปจากตรงไหนครับ ..ชี้ซิครับ..." บางคนชี้นิ้วมายังลำตัว บางคนชี้ไปยังบริเวณหัวหรือหน้า  ท่านเฉลยว่า "...ใช่ครับ (พร้อมกับชี้นิ้วไปที่หัวใจ) หายไปจากใจ..."  ทุกคนอยากจะมีความสุข และพยายามค้นหาดิ้นรน จากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ผมพบว่า ท่านได้บรรยายเรื่องนี้หลายที่หลายเวลา และมีนักเรียนรู้หลายท่าน นำมาเขียนเป็นบันทึกแบ่งปันไว้แล้ว เช่น จากคุณวิชิต มมส.( ที่นี่ ) คุณสุรพงษ์ ( ที่นี่ ) เชิญท่านติดตามอ่านดู ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานจาก "นิทานสีขาว" หลายเรื่องที่ท่านนำมาเล่าสนับสรุปความ เช่น &quo

PLC_CADL_045 : การบรรยายพิเศษของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (๑)

รูปภาพ
วันอาทิตย์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘ CADL เรียนเชิญ อาจารย์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา มาบรรยายพิเศษเรื่อง "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต" ณ ห้องประชุมคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นับเป็นหนึ่งในความพยายามของสำนักศึกษาทั่วไป ที่จะส่งเสริมให้นิสิตเป็นผู้ "รู้รอบ รู้กว้าง รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ และดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข" ผู้เข้าร่วมฟังบรรยายเป็นนิสิตประมาณ ๑,๘๐๐ คน เป็นอาจารย์ ครู ศึกษานิเทศก์ นักเรียน และบุคคลทั่วไป รวมทั้งหมดน่าจะเกือบประมาณ ๒,๐๐๐ คน เราเก็บรายละเอียดการบรรยายของท่านและบันทึกคลิปวีดีโอ อีกทั้งมีการถ่ายทอดสดทาง website ของสำนักคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบบันทึกลงใน Youtube อัตโนมัติ และท่านสามารถดูย้อนหลังทั้งหมดได้ ที่นี่  หลังการฟังบรรยาย ผม ALR (After Learning Review) ว่า ตนเองได้เรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้นทั้งมิติขยายรอบ ทะลายกรอบความคิดเดิมออกไป และมิติความลึกคือซาบซึ้งและเชื่อมโยงมากขึ้น ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาเสริมคำอธิบาย และการ "ฟันธง" ทำนายของท่าน คือสิ่งที่ผมอยากนำมาแบ่

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_11: โครงการคืนถิ่นทำดี ครั้งที่ ๑ โรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด

รูปภาพ
วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ทีม CADL นำทีมตัวแทนกลุ่มนิสิตโครงการ "เดกดีมีที่เรียน คืนถิ่นทำดี" จำนวน ๑๐ คน ไปเยี่ยมน้องๆ ชั้น ม.๕ โรงเรียนโพนทองวิทยายน อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด หนึ่งในโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ"โครงการเด็กดีมีที่เรีย" คุณภานุพงศ์ คงสวัสดิ์ พนักงานใหม่ในศูนย์ CADL ที่เข้ามาเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้เขียนข้อมูลผ่านบันทึกกิจกรรมและนำเสนอมุมมองไว้น่าสนใจมาก (อ่านได้ ที่นี่ ครับ) ผมเห็นบางประเด็น ที่น่าจะเป็นร่องรอยว่า เหตุใดเราจึงต้องไปให้ถึงพื้นที่จริงๆ แบบนี้ นักเรียนสนใจเพียง ๑๔ อาชีพเท่านั้น จากการสำรวจแบบตื่นตัว (Active Assesment) ด้วยการแจกกระดาษโพสท์อิท แล้วตั้งคำถามว่า "อีก ๖ ปีข้างหน้า (กะว่าจบปริญญาตรีพอดี) เราจะมีอาชีพอะไร?"  ให้นักเรียนทั้ง ๑๐๐ คน เขียนอาชีพในอนาคตของตนลงบนกระดาษ แล้วทุกคนเดินออกมาแปะติดคำตอบของตนให้ชิดติดกับคนที่เหมือนกัน กระบวนการแบบนี้ นอกจากจะเป็นการสำรวจแบบตื่นตัวรายคนแล้ว ยังเน้นให้ทุกคนได้ซ้ำทวนหวนคิดไปมา ในขณะที่กำลังหาว