CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_12: ระบบและกลไกการส่งเสริมคนดีในมหาวิทยาลัย โดยสำนักศึกษาทั่วไป

ใกล้วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะครอบ ๔๘ ปี ในวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เป็นโอกาสให้ระลึกย้อนไปถึงงานของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดีให้เป็นที่พึ่งของสังคมที่ผ่านมา ในงานวันคล้ายวันสถาปนาฯ ทุกๆ คณะ-วิทยาลัย จะจัดนิทรรศการแสดงผลงานเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานตามพันธกิจกับคณะ-วิทยาลัยอื่นๆ

พันธกิจของฝ่ายพัฒนานิสิตและเครือข่ายวิชาการ ของสำนักศึกษาทั่วไป คือการส่งเสริมให้นิสิตมีคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๙) ประการ  ส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเรื่องนี้ คือ โครงการเด็กดีมีที่เรียน ซึ่งต้องทำติดต่อกันเป็น ๕-๑๐ ปี ถึงจะมีผลบ้าง ...


ผมกับคุณภาณุพงศ์ ร่วมกันทำแผนผังการส่งเสริมคุณลักษณะนิสตที่พึงประสงค์ฯ เพื่อใช้สื่อสารในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย ที่จะถึงนี้  ดังภาพ

คำอธิบาย


          โครงการส่งเสริมผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม ให้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (โครงการเด็กดีมีที่เรียน) เป็นอีกหนึ่งความพยายามของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมอบหมายให้สำนักศึกษาทั่วไปเป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวมมาอย่างต่อเนื่องในระดับมัธยมศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนในเขตจังหวัดมหาสารคาม ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในจังหวัดบ้านเกิดของตนเอง และโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกโรงเรียนในภาคอีสาน นักเรียนในโครงการเด็กดีมีที่เรียนนี้จะเป็นกำลังสำคัญในฐานะแกนนำขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งสอดคล้องและส่งเสริมให้เกิดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย
นิสิตใหม่ในโครงการเด็กดีมีที่เรียน ต้องเข้าร่วมโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โครงการเด็กดีคืนถิ่นทำดี โครงการค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ฯลฯ เป็นแกนนำขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ฯ ที่รู้จักตนเอง มีความภาคภูมิใจในชุมชนและท้องถิ่นของตนเอง เข้าใจผู้อื่น สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีจิตอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยงานของคณะ-วิทยาลัยหรืองานของมหาวิทยาลัย เป็นนิสิตจิตอาสาต้นแบบ สำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตจิตอาสาต้นแบบที่ “พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน” ต่อไป 





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"