บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2014

แนะนำสำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำหรับนิสิตใหม่ ๒๕๕๗ (๑)

รูปภาพ
สวัสดีครับ นิสิตใหม่  ยินดีต้อนรับเข้าสู่มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ๆ เราจะมาร่วมกันหล่อหลอมฝึกฝนทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้รู้จักตนเอง เข้าใจผู้อื่น และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนหมวดรายวิชาศึกษาทั้่วไป อย่างน้อย ๓๐ หน่วยกิต ซึ่งกำหนดไว้ในทุกหลักสูตร ทุกสาขาวิชา ก่อนสำเร็จการศึกษา เป็นผู้มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ใช้ปัญญาเพื่อประโยชน์ของมหาชนต่อไป  ผู้เขียนในฐานะอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปคนหนึ่ง อยากจะใช้บันทึกนี้สื่อสารทำความเข้าใจใน ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑)ทำไมต้องเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป ๒)การจัดการเรียนการสอนของรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยเราเป็นอย่างไร และ ๓)การให้บริการและอำนวยความสะดวกในบางกรณีที่นิสิตควรจะรู้ ดังนี้ ๑) ทำไมต้องเรียนรายวิชาศึ กษาทั่วไป   เพราะว่า.... ทุกหลักสูตรในระดับปริญญาตรีทุกคณะ/สาขาวิชา จะต้องจัดให้นิสิตทุกคนได้เรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปตาม "เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร" ซึ่งประกาศใช้ตามหลักการและแนวทางการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษา มาตราที่ ๒๒-๒๓ เพื่อพัฒนาบั

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_06: ความคิดรวบยอด โครงการเด็กดีมีที่เรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รูปภาพ
การตระหนักถึงปัญหาของสังคมและการศึกษาไทยในปัจจุบันของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ทำให้เกิดศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ (CADL)ขึ้น ตามหลักการและเหตุผล ดังที่ได้เรียนไว้ใน บันทึกนี้ และเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของการทำงานขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งภายนอก (ติดตาม ที่นี่ ) และภายในมหาวิทยาลัย  โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้าง "LLEN มหาสารคาม" การขับเคลื่อน ปศพพ. ด้านการศึกษาสู่ภายในมหาวิทยาลัย CADL ยังไม่ได้ "เริ่มวิ่ง" อย่างเต็มกำลังจริงๆ ที่ทำได้ บันทึกนี้จะเล่าถึงความคิดรวบยอดของการขับเคลื่อนฯ สู่ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจ กับผู้อ่าน ซึ่งจะเป็นเครือข่ายพันธมิตรกัน ในการนำ "หลักคิดของเศรษฐกิจพอเพียง" ไปใช้พัฒนาคนผ่านการศึกษา อันจะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชาติไทยต่อไป โครงการเด็กดีมีที่เรียน มีวัตถุประสงค์หลักคือการเปิดโอกาสให้ "เด็กดี" ได้เข้ามาเรียนต่อในสถาบันในอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมหลายแห่ง  สำหรับ มมส. มีนิสิตที่เข้าศึกษาต่อในโครงการนี้ปีละประมาณ ๕๐ คน ทั้งๆ ที่ได้ "โคต้า&quo

PLC_CADL_037 : นวัตกรรมการทำงาน

รูปภาพ
วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ผมได้รับเกียรติจากส่วนงานบุคคลในกลุ่มงานบริหารและยุทธศาสตร์ ให้เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับ "นวัตกรรมการทำงาน" ผมตอบตกลงทันทีที่คุณ "นกกิ" (เจ้าหน้าที่งานบุคคลหนึ่งเดียวของเรา) ทันที เพราะถือว่า นี่จะเป็นโอกาสดีที่ผมจะได้ทำความเข้าใจเรื่อง "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ที่เรากำลังส่งเสริมกันอยู่ในขณะนี้ ผมเริ่มกิจกรรมด้วยการ "ตั้งสมาธิ รวมใจ ไว้ที่ตนเอง" เหมือนๆ กับทุกครั้งที่ผมมีโอกาสเป็นกระบวนกร KM กับพวกเรากันเอง  ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่วาง "ทุกอย่าง" ย่อมทำให้ "ใจไม่วาง"  ใจที่วุ่นวายเกินไป ย่อมทำให้ไม่เกิด "การเรียนรู้" เป็นอุปสรรคต่อการมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) ในขั้นตอนของการทำ BAR ผมเสนอว่า สุดยอดของนวัตกรรมการทำงานคือ มองอย่างเป็นองค์รวม หลอมรวมเป้าหมายในชีวิตกับเป้าหมายในการทำงานเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเด่นชัดที่สุดของผู้ปฏิบัติธรรม คือ การฝึกปฏิบัติธรรมผ่านการปฏิบัติงาน หรือเรียกว่า "การทำงานคือการปฏิบัติธรรม" ดังคำของท่าน พุทธทาสภิกขุ

PLC_CADL_036 : วางวิธีปฏิบัติ "จัดการกับปัญหา" (๓) "คลีนิค GE"

รูปภาพ
ในเวทีสัมมนากลุ่มงานวิชาการที่เขื่อนลำปาว กลางเดือนเมษายนที่ผ่านมาก มีข้อเสนอแนะจากบุคลากร เพื่อจะสร้างความประทับใจให้ผู้บริการ ในที่นี้คือนิสิตและอาจารย์ผู้สอน สำหรับคณาจารย์ อยากจะทำห้องรับรองอาจารย์ผู้สอน และสำหรับนิสิตคือ "คลีนิค GE" อ่านสรุปข้อเสนอแนะได้ ที่นี่ ตามที่ได้ "ฟัง" ความคิดรวบยอดนี้เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะจัดการปัญหาที่นิสิตขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในเรื่องการลงทะเบียน ซึ่งส่งผลให้จำนวนนิสิตที่ "walk in" มีจำนวนมาก เรียกกันว่า "ช่วง Peak" ๒ สัปดาห์ช่วงต้นภาคเรียน KM-กลุ่มงานวิชาการจึงเสนอว่า ควรจะมี "หมอ" มารักษาอาการป่วยนี้ จึงต้องมี "คลีนิค GE" กลุ่มย่อยที่ ๓ ในการ KM-รวมกลุ่มงาน (วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗) เป็นการระดมสมองของกลุ่มงานวิชาการโดยไม่มีบุคลากรจากกลุ่มงานอื่นไปร่วม ซึ่งความจริงก็ไม่แปลกนัก เพราะงานวิชาการเป็นงานหลักที่ทุกฝ่ายต้องให้การสนับสนุน  ดังนั้นหาก "GE คลีนิค" มีแผนการที่ชัดเจน ผู้บริหารก็เพียงสั่งการ สั่งซื้อ สั่งงาน ตามเสนอเท่านั้น  ผลสรุปแสดงดังภาพนี้

PLC_CADL_036 : วางวิธีปฏิบัติ "จัดการกับปัญหา" (๒)

รูปภาพ
ข้อสรุปในเชิง "ค่านิยม" ที่เราส่งเสริมกันและกันให้เป็น "ค่านิยมร่วม" หรือฝรั่งเรียกว่า "share value" ที่ได้จากการสัมมนาของกลุ่มงานสารสนเทศ เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพของงานการ "ให้บริการ" ห้องเรียนรวม หรือต่อไปจะเรียกว่า QC-CR คือจะต้อง "เปิดง่าย ใช้ดี มีสำรอง" (อ่านได้ ที่นี่ ) กลุ่มย่อยที่ ๒ ของ KM-รวมกลุ่มงาน เป็นตัวแทนจากกลุ่มงานสารสนเทศและงานพัสดุ หยิบเอาคำว่า "มีสำรอง" มาสนทนา ระดมหาวิธีแก้ไข ได้ผลสรุปดังภาพนี้ครับ ผมเองไม่ได้ร่วม "โสเหล่" ด้วย สิ่งที่จะเขียนสรุปต่อไปนี้จึงเป็นการ "อ่าน คิด เขียน" ไม่ได้ใช้การ "ฟัง" "ถอดบทเรียน" แล้วนำมาสรุปเขียนเหมือนปกติ  ดังนั้นจึงอาจมีผิดพลาดได้ ผู้อ่านต้อง "ระวัง" อย่าเชื่อเร็ว  และถ้าจะดีที่สุดคือ "ทำ - เขียน" เอง จะเป็นประโยชน์ต่อการ "เรียนรู้" และ "ปรับใช้" ต่อไปอย่างยิ่ง หลักการในการดำเนินการคือ สต็อกของไว้ให้เพียงพอและพร้อมเสมอต่อฝ่ายที่จะนำไปใช้ประโ พัสดุประเภทที่ไม่สามารถ "สต๊อก"

PLC_CADL_035 : วางวิธีปฏิบัติ "จัดการกับปัญหา" (๑)

รูปภาพ
ปี ๒๕๕๗ สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำกระบวนการ KM มาเป็นเครื่องมือพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่าง "มุ่งมั่น" โดยจัด KM-รายกลุ่มงาน ๓ เวที นอกสถานที่ ดังที่ได้สรุปไว้ในบันทึกที่ผ่านมา ( ที่นี่ ) วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ เราทำ KM กันที่ห้องรับแขกใน "บ้าน" (หมายถึงห้องประชุม GE-MSU) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสรุปปัญหาและเชื่อมโยงวิธีการแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่มงานเข้าด้วยกันโดยตั้งประเด็นว่า "อะไรที่เราต้องแก้ไขร่วมกัน"  และร่วมกันระดมสมองลอง "วางแนวปฏิบัติ" ของแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้สรุปมาตั้งแต่การ KM รายกลุ่มงาน อะไรที่เราต้องแก้ไขร่วมกัน  ผมเสนอ ๔ ประเด็น ที่ผมเห็นจากการทำหน้าที่เป็น "กระบวนกร" ในเวที KM รายกลุ่มงานที่ผ่านมา ได้แก่ ระบบควบคุมคุณภาพห้องเรียนรวม (QC-CR) ระบบควบคุมคุณภาพห้องน้ำตึก RN (QC-RR) ระบบการเบิกจ่าย การลงทะเบียนเรียนของนิสิตในช่วง "Peak"  ไม่มีใครเพิ่มเติมประเด็นอะไรเมื่อผมเปิดโอกาสให้เสนอ จึงได้กำหนดกิจกรรมแลกเปลี่ยนระดมสมองกลุ่มย่อย ให้เลือกเอาปัญหาที่สรุปมา ร่วมคิดหาและ "วางแนวปฏิบัติ"