บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

CADL ขับเคลื่อน ปศพพ. ใน มมส. _๑๙: รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง "ธุรกิจพอเพียง"

รูปภาพ
ผมเคยไปเรียนรู้แนวคิด "ธุรกิจพอเพียง" กับอาจารย์พีรวัศ กี่ศิริ และ รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ และบันทึกการเรียนรู้ไว้ ที่นี่    และเคยเขียนสรุปความหมายและแนวปฏิบัติตามแนวคิดของอาจารย์พีรวัศไว้ ที่นี่    และท่านอาจารย์พีรวัศเองก็กำลังขับเคลื่อน "ธุรกิจพอเพียง" ตามแนวทางของท่านกับโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวนหนึ่ง ท่านเขียนบันทึกไว้ ที่นี่ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐  เราจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอบรมพัฒนาอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐  อาจารย์ผู้สอนเกือบทุกท่านเข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงกัน เว้นแต่อาจารย์ที่ติดราชการจำเป็นจริง ๆ   ท่านอธิการบดีและผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป ให้เกียรติและให้ความสำคัญกับรายวิชานี้มาก ท่านทั้งสองมาเปิดงานและกล่าวให้โอวาทกับอาจารย์ในการขับเคลื่อน ปศพพ. และพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป ... กำลังใจมาเพียบ ผมคงไม่เขียนรายละเอียดอะไรยึดยาวและซ้ำซ้อนกับสิ่งที่เคยเขียนมาในบันทึกต่าง ๆ ที่ได้ให้ลิงค์ไว้ข้างต้น  แต่จะสรุปไว้ด้วยภาพ ๒ ภาพ ที่อาจารย์ผู้สอนอาจเอาไปใช้ประกอบการสอน เพื่ออธิบายให้นิสิตทราบถึงแนวทางของการม

คลิปวีดีโอบรรยายพิเศษ ศาสตร์พระราชากับการศึกษา โดย หม่อมราชวงศ์ปนัดดา ดิศกุล

รูปภาพ
วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เชิญหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล มาบรรยายพิเศษในหัวเรื่อง "ศาสตร์ของพระราชากับการศึกษา (ศาสตร์พระราชาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙)" ณ ห้องประชุมใหญ่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ (PH504)  เป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะได้ฟังบรรยายพิเศษจากผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่กำลังขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรงของรัฐบาล  จึงประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ นิสิตเข้าร่วมฟังบรรยาย ทราบภายหลังว่า มีผู้คนเข้าฟังบรรยายล้นห้องประชุม เป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาดังกล่าวนี้กว่า ๖๐๐ คน สำหรับนิสิตที่ไม่ได้เข้าร่วมฟังบรรยาย  ให้ฟังบรรยายพิเศษผ่านคลิปวีดีโอที่รวบรวมไว้ในบันทึกนี้ และสรุปส่งอาจารย์ผู้สอนประชุมกลุ่ม หรือให้เป็นดุลพิจของอาจารย์ผู้สอน ที่จะให้ฟังบรรยายพิเศษอื่น ๆ แทนได้ ขออภัยทุกท่านที่ไม่สามารถตัดต่อคลิปให้เป็นไฟล์เดียวกัน   ต่อไปนี้เป็นบางตอนที่ผมประทับใจมาก.. ท่านบอกว่า ".... ทุกคนต้องดำรงความเป็นมหาวิทยาลั

โมเดล "๓ กำลัง ส."

รูปภาพ
ผมติดตามงานของแสน ธีระวุฒิ ศรีมังคละ นิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียนอยู่ไม่ขาด แม้จะพลาดไปบ้างก็เพียงเฉพาะห้วงเวลายุ่งเหยิง แต่เมื่อมีโอกาสก็จะกลับมาอ่านติดตามงานเขียนของแสนเสมอ  ช่วงหลังแสนมาเขียนงานผ่านเฟสบุ๊คมากกว่า G2K เหมือนเดิม วันที่ ๒๓ พฤษภาคม แสนโพสท์งานคิดสร้างสรรค์ ที่ผมถือว่า จุดเริ่มของนวัตกรรมการสร้างกิจกรรมพัฒนานิสิตในมหาวิทยาลัยชิ้นหนึ่ง  เขาให้ชื่อว่า "๓ กำลัง ส."  (ใครยังไม่เคยเห็นคลิกอ่านได้ ที่นี่ ครับ)  ผมประทับใจแนวคิดการรวบรวมเอาประสบการณ์การนำกระบวนการเรียนรู้ของแสน มารวบรวมไว้ในลักษณะรูปลักษณะแบบนี้มาก  สิ่งนี้เป็นมากกว่า "อิโฟกราฟฟิค" (Infographic) ส่วนจะเรียกอะไรดี ขอให้ผู้รู้หรือผู้ใหญ่มาให้ความหมายจะดีกว่า  ผมลองเอาแนวคิดของแสน มาเป็นโครง แล้วสวมใส่ประสบการณ์ของตนเอง เพื่อให้ได้ โมเดล "๓ กำลัง ส." ในแบบของตนเอง เพื่อจะได้บันทึกไว้เป็นเครื่องมือใช้นำกิจกรรมการเรียนรู้ในงานของผมเอง ดังภาพ   เป้าหมายการศึกษาของไทย บอกว่า ต้องการสร้าง "มนุษย์ที่สมบูรณ์"  ที่ "เก่ง ดี และมีสุข"  โดยกำหนดเป็นเ

หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๘) _ ๐๔ : Learning Outcome

รูปภาพ
วันนี้ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐  มีการอบรมอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตร "การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ตามหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘)  ผมสรุปสังเคราะห์ Learning Outcome ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) และแผนผังการสังเคราะห์ความเชื่อมโยงของแต่ละรายวิชาไว้ และนำมาแบ่งปันในบันทึกนี้ ถ้าอาจารย์ผู้สอนเข้าใจภาพรวม และนำไปบอกกล่าวเล่าต่อนิสิตในชั้นเรียนว่า  ทำไมต้องเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป  เรียนไปแล้วได้อะไร ?  แบบบ่อย ๆ บ่อยซ้ำย้ำทวน พวกเขาก็จะค่อย ๆ เข้าใจ และเห็นความสำคัญของการเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   ปัญหาคือ จะจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๘) _ ๐๓ : ปรับปรุงเล็กน้อย พ.ศ. ๒๕๖๐

รูปภาพ
วันนี้ได้รับแจ้งจากผู้ปฏิบัติ (อย่างไม่เป็นทางการ) ว่า หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) ที่ขอปรับปรุงเล็กน้อย พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้ ๑) ปรับคำอธิบายรายวิชา ของรายวิชาต่อไปนี้ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้ รายวิชา ๐๐๓๒๐๐๕ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง  รายวิชา ๐๐๓๓๐๐๕ การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน  รายวิชา ๐๐๓๖๐๐๕ ภูมิศาสตร์กับสถานการณ์โลก ๒) ปรับชั่วโมงบรรยาย - ปฏิบัติ ของรายวิชา ๐๐๓๕๐๐๑ หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน จาก ๒(๑-๓-๒) ที่กำหนดให้เรียนคราวละ ๔ ชั่วโมง  ปรับให้เป็น ๒(๑-๒-๓)  เรียนคราวละ ๓ ชั่วโมง   ๓) เพิ่มเติมรายวิชาในกลุ่มวิชาเลือกเพิ่มเติม เพื่อรองรับความสนใจด้านภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่  รายวิชา ๐๐๓๖๐๑๒ ภาษาเขมรเพื่อการสื่อสาร  ๒(๑-๒-๓) รายวิชา ๐๐๓๖๐๑๓ ภาษาพม่าเพื่อการสื่อสาร   ๒(๑-๒-๓) รายวิชา ๐๐๓๖๐๑๔ ภาษาลาวเพื่อการสื่อสาร    ๒(๑-๒-๓) รายวิชา ๐๐๓๖๐๑๕ ภาษาเวียดนามเพื่อการสื่อสาร   ๒(๑-๒-๓)  และรายวิชาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนิสิตในการประกอบอาชีพ คือ  รายวิชา ๐๐๓๖๐๑๖ ภาษาอังกฤษเพื่อการเต

ปฏิทินการศึกษา สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รูปภาพ
ผมวาดปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับย่อ) ตามสไตล์ที่ตนเองชอบ เผื่อว่าจะมีคนชอบด้วย จึงนำมาแบ่งปันครับ เชิญนำไปใช้โดยไม่ต้องอ้างอิงก็ได้ครับ  ... ข้อมูลอ้างอิงจากปฏิทินฉบับเต็มดาวน์โหลด ที่นี่ ปฏิทินของสำนักศึกษาทั่วไปและของทุกคณะ-วิทยาลัย จะต้องกำหนดล้อให้รับกับปฏิทินของมหาวิทยาลัย  และถ้าจะให้ดี ควรกำหนดวันเวลาไว้ตั้งแต่เนิ่น กิจกรรม ๒ อย่างที่ สำคัญมากในกลไกการจัดการเรียนการสอนของสำนักศึกษาทั่วไป คือ การประชุมอาจารย์ผู้ประสานงาน ปีการศึกษาละ ๒ ครั้ง และการประชุมอาจารย์ผู้สอนของแต่ละรายวิชา เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา ซึ่งรวมถึงการพิจารณาเกรด วันเวลาตามภาพปฏิทิน ตอนนี้ยังไม่มี "ปฏิทินสำนักศึกษาทั่วไป" เฉพาะ จึงให้วันเวลาประมาณ และจะประกาศให้ทราบล่วงหน้าต่อไปครับ