บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

รูปภาพ
วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ในชั้นเรียนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ประจำภาคเรียนที่ ๑-๒๕๖๐ เป็นการทำกิจกรรม AAR หลังจากที่นิสิตได้ลงพื้นที่ทำโครงการแก้ปัญหาเสร็จสิ้นลงไป  ช่วงท้ายของชั้นเรียน ได้มอบหมายงานและวิธีการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ (อ่านได้ ที่นี่ ) ส่วนบันทึกนี้จะพานิสิตเรียนรู้เรื่องกระบวนการ AAR และนำเอาผลการทำ AAR ของเรามาเก็บไว้แลกเปลี่ยนกัน คุณพีธากร ศรีบุตรวงษ์ เขียนบันทึกเรื่อง After Action Review ไว้ใน gotoknow.org ได้ดีมาก (อ่าน ที่นี่ ) นิสิตที่ไม่เคยรู้จัก AAR ควรอ่านและสืบค้นเพิ่มเติม แล้วนำมาทดลองใช้ในการทำงานในโครงการต่าง ๆ ตั้งแต่เป็นนิสิต เพราะขณะนี้ AAR ถือเป็นเครื่องมือเรียนรู้มาตรฐานที่ทุกการทำงานเป็นทีมต้องนำมาใช้ ผมนำเอาภาพที่ท่านเผยแพร่มาวาดใหม่ และตีความในแบบที่ตนเองเข้าใจ เผื่อใครผู้อ่านจะนำไปใช้ก็เชิญตามสบายเถิด... กองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในไม่กี่หน่วยงานที่ริเริ่มและนำเอาระบบการสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) และการทบทวนหลังการลงมือทำ (Review) มาใช้อย่างเป็นระบบ  การทบทวนหลังปฏิบติการ หรือ After Action Review หรือ AAR เป็นหนึ่งในเครื่องม

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๙) การเขียนโครงการ - การเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ

ในปีการศึกษาที่แล้วได้นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการไว้ ที่นี่   บันทึกนี้จะลองนำเอาทฤษฎีและหลักการเหล่านั้น มาขยายความและกำหนดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับให้นิสิตไปลองเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการของกลุ่มตนเอง ซึ่งได้ทำสำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้วทุกกลุ่ม ... การเขียนรายงานการประเมินผลโครงการที่กำหนดให้นิสิตทุกกลุ่มเรียนต้องทำและนำมาส่ง สำหรับ ๒๕ คะแนน ที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ (มคอ.๓) คือ การรายงานผลการประเมินโครงการเมื่อโครงการสิ้นสุดแล้วเท่านั้น การประเมินเมื่อโครงการสิ้นสุด (Pay-off Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อผลรวมสรุป (Summative Evaluation) หลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการตามตัวชี้วัดหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การประเมินผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (Outcome) ผลกระทบ (Impact) หรือ ผลพลอยได้ (by-product) อันเป็นผลมาจากโครงการ รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรจะแตกต่างกันไป และแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของโครงการด้วย รูปแบบที่จะกำหนดให้นิสิตได้ฝึกเขียน

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๖ : กระบวนการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ครูสอนภาษาอังกฤษ (มองครู)

รูปภาพ
บันทึก (๑) "มองเด็ก" การ "มองเด็ก" ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการระดมปัญหา ขั้นตอนต่อมาเราเรียกว่า "มองครู" เพื่อให้ครูหันกลับมามองที่ตนเอง ระลึกถึงความสำเร็จและได้ภาคภูมิใจในตัวท่านเอง ก่อนจะแลกเปลี่ยนแบ่งปันกันด้วยกิจกรรมเรื่องเล่าเร้าพลัง (story telling) และร่วมกันระดมสมองหาแนวทางแก้ไขปัญหา และปิดท้ายด้วยการนำเสนอต่อเพื่อนครูในช่วง Show & Share ด้วยกิจกรรมตลาดนัดความรู้ สุนทรียสนทนา (Dialogue) หัวใจของการเรียนรู้ในวง PLC คือการฟัง และต้องเป็นการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) ซึ่งหากจะคุยและฝึกกันเรื่องนี้ต้องใช้กระบวนวิธีทางจิตตปัญญาศึกษามาใช้ (ผมเคยถอดบทเรียนไว้ ที่นี่ ) การนำมาใช้เบื้องต้นที่สุดคือ ทำให้คุณครูทุกท่านหันมาอยู่กับตนเองด้วยการนั่งหลับตาพาใจให้สงบ ตามแต่ท่านจะถนัด อาจเป็นลมหายใจ ท้องพองยุบ บริกรรมพุทโธ ฯลฯ สัก ๒ นาที จากนั้นใช้คำพูดพาแต่ละท่านระลึกย้อนไปค้นหาความสำเร็จและความภาคภูมิใจในชีวิตความเป็นครู  พาให้เลือกประสบการณ์ที่สำเร็จหรือแนวปฏิบัติที่ดีที่อยากจะเล่าแบ่งปันบอกต่อ แล้วค่อย ๆ ลืมตาขึ้น และเริ่มการสนทนากัน โด

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๕ : กระบวนการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ครูสอนภาษาอังกฤษ (มองเด็ก)

รูปภาพ
วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ CADL ไปช่วยท่าน ศน.กัญญารัตน์ ทำ PLC ครูภาษาอังกฤษสังกัด อบจ. ขอนแก่น ประมาณ ๘๐ ท่าน วัตถุประสงค์สำคัญที่ท่านอย่างให้สำเร็จคือ จัดกระบวนให้ครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระดมปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกัน หลังจาก PLC ปิดวง ผม AAR ว่าสิ่งที่เราคาดหวังน่าจะสำเร็จดีไม่มากก็ไม่น้อย  เพราะขณะที่ผมกำลังสรุปบันทึกการเรียนรู้ของตนเองย้อนหลังนี้  ท่าน ศน.กัญญารัตน์ และคุณครูสมัครใจหลายท่าน กำลังรวมพลังกันทำเวที PLC เรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ  NET-based Learning (ผมตั้งชื่อเอง ย่อมาจาก National English Test-based Learning) กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เราออกแบบกระบวนการเป็น ๔ ขั้นตอน (ดังรูป) ได้แก่ BAR มองเด็ก มองครู และ AAR โดยทุกขั้นตอนแทรกด้วยการสะท้อน (Reflection) และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนทั้งจากเพื่อนครูและผู้รู้ ในที่นี้คือ ศน.กัญญารัตน์ และ อาจารย์สาวิตรี ผู้เชี่ยวชาญจาก โรงเรียนศรีกระนวน วิทยาคม BAR อาจารย์ส่วนใหญ่คาดหวังตรงกัน มารวมกันวันนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาวิธีจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สิ่งที่อยากได้คือ แนวทางที่ชัดเจนในการสอนวิชาภาษาอัง