รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๙) การเขียนโครงการ - การเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ
ในปีการศึกษาที่แล้วได้นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการไว้ที่นี่ บันทึกนี้จะลองนำเอาทฤษฎีและหลักการเหล่านั้น มาขยายความและกำหนดเป็นแนวปฏิบัติสำหรับให้นิสิตไปลองเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการของกลุ่มตนเอง ซึ่งได้ทำสำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้วทุกกลุ่ม ...
การเขียนรายงานการประเมินผลโครงการที่กำหนดให้นิสิตทุกกลุ่มเรียนต้องทำและนำมาส่ง สำหรับ ๒๕ คะแนน ที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ (มคอ.๓) คือ การรายงานผลการประเมินโครงการเมื่อโครงการสิ้นสุดแล้วเท่านั้น
การประเมินเมื่อโครงการสิ้นสุด (Pay-off Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อผลรวมสรุป (Summative Evaluation) หลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการตามตัวชี้วัดหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การประเมินผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (Outcome) ผลกระทบ (Impact) หรือ ผลพลอยได้ (by-product) อันเป็นผลมาจากโครงการ
รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ
รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรจะแตกต่างกันไป และแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของโครงการด้วย รูปแบบที่จะกำหนดให้นิสิตได้ฝึกเขียนรายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ ปรับจากแบบฟอร์มการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการของกองบริการวิชาการและวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ดาวน์โหลดต้นฉบับที่นี่) และแบบฟอร์มการเขียนโครงการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่นี่) โดยตัดให้เหลือเฉพาะบางหัวข้อที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการคิดและการเขียนสำหรับพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิต เรียกว่า รายงานผลการประเมินโครงการเสริมการเรียนรู้ในหลักสูตร รายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ มีองค์ประกอบทั้งหมด ๑๒ ข้อ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อเริ่มเขียนได้ที่นี่) ดังนี้
๑) ชื่อโครงการ (ให้ระบุชื่อโครงการของนิสิต) (อ่านวิธีการตั้งชื่อโครงการได้ที่นี่)
๒) สถานภาพของโครงการ
ให้ระบุว่าเป็นโครงการเดิม หรือโครงการใหม่ หรือโครงการต่อเนื่อง)
๖) วัตถุประสงค์ของโครงการ
ให้เขียนวัตถุประสงค์เป็นข้อ ๆ แต่ละข้อให้มีลักษณะ RAMS ดังที่เขียนอธิบายไว้ที่บันทึกนี้ กล่าวคือ
ให้เขียนตัวชี้วัดความสำเร็จเป็นข้อ ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และบอกได้ว่าวัตถุประสงค์นั้นสำเร็จหรือไม่ (ศึกษาได้ที่บันทึกนี้) โดยแบ่งเป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่สามารถรายงานเป็นตัวเลขได้และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถเขียนเป็นตัวเลขได้
๘) กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ร่วมโครงการ
ให้เขียนชื่อกลุ่มคนและจำนวนคนที่เป็นเป้าหมายของโครงการ กลุ่มคนที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องการจะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น หรือต้องการให้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการ
๙) ผลการดำเนินโครงการ
๑๐) ผลการประเมินโครงการ
ให้ระบุผลผลิต ผลลัพธ์ หรือผลพลอยได้ ตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยนำเอาผลการประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จ ที่วัดด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม แบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ ฯลฯ มาเขียนรายงาน เป็นข้อ ๆ
๑๑) รายงานงบประมาณ
ให้เขียนเฉพาะรายชื่อ ผู้มีส่วนในการเขียนสรุปรายงานและประเมินโครงการ ไม่จำเป็นต้องมีรายชื่อนิสิตทุกคนในกลุ่ม และให้ผู้ทำหน้าที่เลขานุการ (ผู้รวบรวม เรียบเรียง) เป็นผู้ลงรายมือชื่อ ร่วมกับหัวหน้าโครงการ
สุดท้ายนี้ ขอย้ำว่า รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการนั้น ไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการและนโยบายของหน่วยงานนั้น ๆ จะกำหนด จึงขอให้ผู้อ่าน ศึกษาเอาหลักการ เทคนิค และคำนึงถึงเหตุผลของการเขียนในแต่ละครั้งเสมอ
การเขียนรายงานการประเมินผลโครงการที่กำหนดให้นิสิตทุกกลุ่มเรียนต้องทำและนำมาส่ง สำหรับ ๒๕ คะแนน ที่กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ (มคอ.๓) คือ การรายงานผลการประเมินโครงการเมื่อโครงการสิ้นสุดแล้วเท่านั้น
การประเมินเมื่อโครงการสิ้นสุด (Pay-off Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อผลรวมสรุป (Summative Evaluation) หลังจากการดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว เป็นการประเมินความสำเร็จของโครงการตามตัวชี้วัดหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น การประเมินผลผลิต (output) ผลลัพธ์ (Outcome) ผลกระทบ (Impact) หรือ ผลพลอยได้ (by-product) อันเป็นผลมาจากโครงการ
รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการ
รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการของแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรจะแตกต่างกันไป และแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของโครงการด้วย รูปแบบที่จะกำหนดให้นิสิตได้ฝึกเขียนรายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ ปรับจากแบบฟอร์มการเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการของกองบริการวิชาการและวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ดาวน์โหลดต้นฉบับที่นี่) และแบบฟอร์มการเขียนโครงการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่นี่) โดยตัดให้เหลือเฉพาะบางหัวข้อที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะการคิดและการเขียนสำหรับพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิต เรียกว่า รายงานผลการประเมินโครงการเสริมการเรียนรู้ในหลักสูตร รายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ มีองค์ประกอบทั้งหมด ๑๒ ข้อ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเพื่อเริ่มเขียนได้ที่นี่) ดังนี้
๑) ชื่อโครงการ (ให้ระบุชื่อโครงการของนิสิต) (อ่านวิธีการตั้งชื่อโครงการได้ที่นี่)
๒) สถานภาพของโครงการ
ให้ระบุว่าเป็นโครงการเดิม หรือโครงการใหม่ หรือโครงการต่อเนื่อง)
- โครงการเดิม หมายถึง โครงการเดิมที่เคยดำเนินการในปีการศึกษาที่ผ่านมา อาจเป็นโครงการที่นิสิตที่เรียนภาคเรียนก่อน ๆ ทำไว้
- โครงการใหม่ หมายถึง โครงการที่ไม่เคยดำเนินการมาก่อน
- โครงการต่อเนื่อง หมายถึง โครงการที่มีการดำเนินการต่อเนื่อง ยังไม่สิ้นสุดโครงการ เป็นโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการหลายปี
๓) ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อสกุลและรหัสนิสิตทุกคนในกลุ่มย่อย โดยกำหนดด้วยว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ (หัวหนากลุ่ม) ใครทำหน้าที่ เลขานุการ ใครทำหน้าที่ใด ๆ หากเป็นการเขียนโครงการมาตรฐานที่ต้องของบสนับสนุน จะมีการระบุสัดส่วนความรับผิดชอบด้วย แต่ในกรณีของโครงการเสริมการเรียนรู้ไม่ต้องระบุครับ
๔) ที่ปรึกษาโครงการ ให้ระบุชื่ออาจารย์ผู้สอนประจำกลุ่มการเรียน หัวข้อนี้มักจะกำหนดให้มีเฉพาะกับโครงการของนิสิตหรือสำหรับโครงการที่ขออนุมัติข้ามหน่วยงาน หรือข้ามสาขาวิชา ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้รู้สำหรับปรึกษาในกรณีต้องการคำแนะนำ
๕) หลักการและเหตุผล
ให้เขียนหลักการและเหตุผลบนปัญหา (Problem-based) ดังที่ได้แนะนำและอธิบายไว้ที่นี่ ย่อหน้าแรกเริ่มด้วยการเขียนบอกว่าปัญหาคืออะไร รวมถึงที่มา บริบท ความรุนแรง และผลกระทบของปัญหา ย่อหน้าที่สองเขียนแสดงแนวคิดและแนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้เขียนถึงประโยชน์ของโครงการที่คาดว่าจะได้รับและความสำคัญของโครงการ
๖) วัตถุประสงค์ของโครงการ
ให้เขียนวัตถุประสงค์เป็นข้อ ๆ แต่ละข้อให้มีลักษณะ RAMS ดังที่เขียนอธิบายไว้ที่บันทึกนี้ กล่าวคือ
- Realistic คือ ปฏิบัติจริงได้ ไม่เพ้อฝัน
- Attainable คือ บรรลุผลได้ และควรบรรลุผลได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ
- Measurable คือ ประเมินผลได้ วัดได้
- Specific คือ หนึ่งข้อหนึ่งประเด็น
ให้เขียนตัวชี้วัดความสำเร็จเป็นข้อ ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และบอกได้ว่าวัตถุประสงค์นั้นสำเร็จหรือไม่ (ศึกษาได้ที่บันทึกนี้) โดยแบ่งเป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณที่สามารถรายงานเป็นตัวเลขได้และตัวชี้วัดเชิงคุณภาพที่ไม่สามารถเขียนเป็นตัวเลขได้
๘) กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ร่วมโครงการ
ให้เขียนชื่อกลุ่มคนและจำนวนคนที่เป็นเป้าหมายของโครงการ กลุ่มคนที่ผู้รับผิดชอบโครงการต้องการจะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น หรือต้องการให้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากโครงการ
๙) ผลการดำเนินโครงการ
ให้เขียนรายงานกระบวนการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานที่เขียนไว้ในโครงการ เขียนในเชิงเล่าเรื่อง ตามลำดับเวลาและขั้นตอน เพื่อเน้นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และให้เขียนตามแนวทางกระบวนการเรียนรู้แบบ ๗ส. ได้แก่ สำรวจ -> สอบถาม -> สืบค้น -> สังเคราะห์ ->สร้างสรรค์ -> สร้างสื่อ -> เสนอ (ศึกษาได้ที่นี่) โดยเขียนให้เห็นกระบวนการการดำเนินเงินของแต่ละขั้นตอนประกอบผลงาน ชิ้นงาน หรือภาพถ่าย
หากขั้นตอนใดในกระบวนการ ๗ส. ไม่สอดคล้องกับการทำงานจริง ให้ยึดเอาขั้นตอนการทำงานจริง ๆ เป็นหลัก ดังนั้น ขั้นตอนการทำงานของแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกันได้ ตามกระบวนการทำงานเป็นของกลุ่ม
๑๐) ผลการประเมินโครงการ
ให้ระบุผลผลิต ผลลัพธ์ หรือผลพลอยได้ ตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ โดยนำเอาผลการประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จ ที่วัดด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม แบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ ฯลฯ มาเขียนรายงาน เป็นข้อ ๆ
๑๑) รายงานงบประมาณ
เขียนรายการและจำนวนเงินของแต่ละรายการ และรวมงบประมาณทั้งหมด ในกรณีของโครงการเสริมการเรียนรู้นี้ ไม่ต้องแนบหลักฐานใด ๆ เว้นแต่อาจารย์ผู้สอนจะกำหนดเพื่อให้ได้เรียนรู้วิธีการทางงบประมาณของหน่วยงานราชการไทย
รายการ
|
งบประมาณ (บาท)
|
1.
|
|
2.
|
|
3.
|
|
4.
|
|
รวม
|
๑๒) รายชื่อผู้จัดทำรายงาน
สุดท้ายนี้ ขอย้ำว่า รูปแบบการเขียนรายงานผลการประเมินโครงการนั้น ไม่มีรูปแบบตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการและนโยบายของหน่วยงานนั้น ๆ จะกำหนด จึงขอให้ผู้อ่าน ศึกษาเอาหลักการ เทคนิค และคำนึงถึงเหตุผลของการเขียนในแต่ละครั้งเสมอ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น