PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๕ : กระบวนการ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" ครูสอนภาษาอังกฤษ (มองเด็ก)
วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ CADL ไปช่วยท่าน ศน.กัญญารัตน์ ทำ PLC ครูภาษาอังกฤษสังกัด อบจ. ขอนแก่น ประมาณ ๘๐ ท่าน วัตถุประสงค์สำคัญที่ท่านอย่างให้สำเร็จคือ จัดกระบวนให้ครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระดมปัญหา และหาทางแก้ไขร่วมกัน หลังจาก PLC ปิดวง ผม AAR ว่าสิ่งที่เราคาดหวังน่าจะสำเร็จดีไม่มากก็ไม่น้อย เพราะขณะที่ผมกำลังสรุปบันทึกการเรียนรู้ของตนเองย้อนหลังนี้ ท่าน ศน.กัญญารัตน์ และคุณครูสมัครใจหลายท่าน กำลังรวมพลังกันทำเวที PLC เรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ NET-based Learning (ผมตั้งชื่อเอง ย่อมาจาก National English Test-based Learning)
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เราออกแบบกระบวนการเป็น ๔ ขั้นตอน (ดังรูป) ได้แก่ BAR มองเด็ก มองครู และ AAR โดยทุกขั้นตอนแทรกด้วยการสะท้อน (Reflection) และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนทั้งจากเพื่อนครูและผู้รู้ ในที่นี้คือ ศน.กัญญารัตน์ และ อาจารย์สาวิตรี ผู้เชี่ยวชาญจาก โรงเรียนศรีกระนวน วิทยาคม
BAR
อาจารย์ส่วนใหญ่คาดหวังตรงกัน มารวมกันวันนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาวิธีจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สิ่งที่อยากได้คือ แนวทางที่ชัดเจนในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ อยากได้วิธีการสอนที่หลากหลาย อยากได้เทคนิคการสอนใหม่ ๆ อยากเห็นนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น อยากเห็นักเรียนรัก/ชอบภาษาอังกฤษ ฯลฯ ขอสรุปไว้เฉพาะประเด็นที่ผมเห็นว่าน่าสนใจ ดังนี้ครับ
ขอนำรูปผลการระดมสมองมาไว้ในบันทึกนี้ทั้งหมด ดังภาพครับ
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เราออกแบบกระบวนการเป็น ๔ ขั้นตอน (ดังรูป) ได้แก่ BAR มองเด็ก มองครู และ AAR โดยทุกขั้นตอนแทรกด้วยการสะท้อน (Reflection) และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนทั้งจากเพื่อนครูและผู้รู้ ในที่นี้คือ ศน.กัญญารัตน์ และ อาจารย์สาวิตรี ผู้เชี่ยวชาญจาก โรงเรียนศรีกระนวน วิทยาคม
BAR
อาจารย์ส่วนใหญ่คาดหวังตรงกัน มารวมกันวันนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาวิธีจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สิ่งที่อยากได้คือ แนวทางที่ชัดเจนในการสอนวิชาภาษาอังกฤษ อยากได้วิธีการสอนที่หลากหลาย อยากได้เทคนิคการสอนใหม่ ๆ อยากเห็นนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น อยากเห็นักเรียนรัก/ชอบภาษาอังกฤษ ฯลฯ ขอสรุปไว้เฉพาะประเด็นที่ผมเห็นว่าน่าสนใจ ดังนี้ครับ
- อยากยกระดับผลสัมฤทธิ์เด็ก ... อาจารย์ส่วนใหญ่เขียนบอกแบบนี้ เน้นไปที่ผลการสอน O-Net
- อยากได้วิธีสอนที่ทำให้เด็กมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ กล้าพูด กล้าแสดงออก
- อยากได้วิธีสอนที่ทำให้เด็กสนใจ ชอบ รัก การเรียนภาษาอังกฤษ แกัปัญหาสมาธิสั้น
- อยากได้วิธีแก้ปัญหานักเรียนกลัวการเรียนภาษาอังกฤษ
- รูปแบบวิธีการสอนที่นำไปใช้ได้จริง
- อยากรู้วิธีแก้ปัญหาการเรียนอ่อนและอ่านหนังสือภาษาอังกฤษไม่ออก
อาจารย์ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ท่านกำลังตีความถึงผลการทดสอบ O-net) สะท้อนถึงความตระหนักร่วมกันแล้วของครูไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
อย่างไรก็ดี วิธีที่สอนที่ครูต้องการคือ วิธีจัดการกับเจตคติด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เช่น ความกังวล ความกลัว ความไม่มั่นใจ ความไม่สนใจ ฯลฯ มีอาจารย์ชาวแคมมารูนท่านหนึ่ง บอกว่า ปัญหาสำคัญของเด็กคือ Anxiety to speak และ Shyness of student สิ่งที่ต้องทำคือ To make your class interesting so that the students can feel free: like games.
มองเด็ก
วิธีการคือให้แต่ละกลุ่มวาดรูป "เด็ก" ลงบนกระดาษปลู๊ฟแล้วระดมปัญหาซึ่งได้วอร์มคิดไว้แล้วในช่วง BAR มาจัดไว้ใน ๓ หมวดหมู่คือ ๑) ปัญหาการเรียนรู้บนฐานคิด เรียกสั้นๆ ว่า Head (ุพุทธิพิสัย Cognetive) ๒) ปัญหาฐานใจ เรียกแทนว่า Heart (จิตพิสัย Attitude) และ ๓)ปัญหาฐานกาย เรียกว่า Hand (ทักษะพิสัย Psychromotor) ...
ขอนำรูปผลการระดมสมองมาไว้ในบันทึกนี้ทั้งหมด ดังภาพครับ
- ไม่เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ .... เป็นด้านเจตคติ เป็นฐานใจครับ Heart
- ไม่เข้าใจคำศัพท์ คำสั่ง คำถาม ... อาจเป็นปัญหาด้านความรู้ ฐานคิด Head ถูกต้องครับ
- ไม่มีเป้าหมาย ... เป็นปัญหาทักษะทางปัญญา ฐานคิด Head ถูกต้องครับ
- ไม่มีความมั่นใจ ... เป็นฐานใจ Heart ครับ
- ควมอาย ความกลัว ไม่ชอบ ไม่กล้าแสดงออก ... อยู่ฐานใจครับใช่เลย
- ไม่อยากทำงาน... ไม่อยาก อยู่ฐานใจครับ ที่ไม่อยากทำงาน อาจเป็นเพราะ ทำไม่ได้ อยู่ฐานกาย ใช่เลยครับ
- ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ... ไม่ชัดครับว่าอยู่ฐานใด
- ขาดทักษะทั้ง ๔ ฟัง พูด อ่าน เขียน.... ฐานกาย Hand ใช่เลยครับ
- ไม่ตระหนักใสความสำคัญของภาษาอังกฤษ ... เป็น Heart ครับ ไม่ใช่ Head
- ไม่ใส่ใจก็เช่นครับ อยู่ที่ฐานใจ ไม่ใช่ฐานคิด
- เบื่อหน่าย...ฐานใจ
- ไม่สามารถฟังได้ ... ถือเป็นฐานคิดได้ครับ
- เด็กขาดโอกาส ... ไม่ใช่ปัญหาเด็กครับ เป็นปัญหาผู้ใหญ่
- เด็กขาดความรู้และคำศัพท์พื้นฐาน คือ ฐานคิดครับ Head
- ไม่ชอบทำข้อสอบที่เป็นกราฟ หรือ non-text ... อยู่ฐานใจครับ แต่ถ้าทำไม่ได้อยู่ฐานกายหรือฐานคิด
- เด็กพูดสนทนาเรื่องสถานที่ต่าง ๆ ไม่ได้ ... ใช่ครับฐานกาย ฟังไม่ได้อยู่ฐานคิด
- กลัว ไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงออก มีอคติ ... เป็นฐานใจ Heart ใช่เลยครับ
- ระดับสติปัญญาต่างกัน ... แน่นอนครับอาจารย์ แต่อาจจะเป็นพหุปัญญาของศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ว่าไว้ชัด ... อย่าเพิ่งท้อครับ
- ไม่สามารถคิดวิเคราะห์... ใช่ครับ ฐานคิด Head
- ทัศคติเชิงลบต่อภาษาอังกฤษ... เป็นฐานใจครับ Heart
- ไม่กล้า ไม่มั่นใจ ไม่ภูมิใจ กลัว ... ฐานใจ ใช่เลยครับ
- ไม่สนใจ ไม่ทำ ไม่เข้าใจ น่าจะอยู่ฐาน Heart ครับ แต่หากทำไม่ได้หรือทำไม่ได้ดี เรียกฐานกาย Hand
- ขาดความรู้พื้นฐาน อ่านไม่ออก แปลไม่ได้ ... เป็นฐานคิด Head ถูกต้องครับ
- ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อสอบ วิเคราะห์ได้ไม่ชัดเจน โครงสร้างประโยค ... เป็นฐานคิด Head ถูกต้องครับ แต่ทักษะการอ่านอยู่ฐานกาย
- ความมั่นใจ ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ เจตคติไม่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ เชื่อมั่นในสถาบัน (ติว?) มากกว่าโรงเรียน ... ทั้งหมดนี้คือฐานใจใช่เลยครับ
- มองว่ายาก ไม่ฝึกปฏิบัติ ... อยู่ฐานใจครับ ไม่ใช่ฐานกาย Hand
- ทราบปัญหาแต่ไม่ลงมือทำ ... อยู่ฐานใจครับ ไม่ใช่ฐานกาย
- พึ่งพาแต่เทคโนโลยี ไม่เกิดความรู้ ความจำ
- ไม่มีความพากเพียร มองอุปสรรคเป็นปัญหาใหญ่ (ท้อแท้?) ... อยู่ฐานใจครับ ไม่ใช่ฐาน Hand
- ขาดความมั่นใจ ปิดกั้นตนเอง ... เป็นปัญหาฐาน Heart ครับ ไม่ใช่ Head
- ขาดความรู้พื้นฐาน ไวยากรณ์ คำศัพท์ ... เป็นฐานคิด Head ถูกต้อง
- ประหม่า กลัว ขาดแรงจูงใจ ทั้งหมดนี้คือปัญหาฐานใจ ใช่เลยครับ
- หนีเรียน ไม่เข้าร่วมกิจกรรม ไม่กล้าแสดงออก ... เป็นปัญหามาจากฐานใจครับ
- ใช้ศัพท์ไม่เหมาะสมในการสื่อสาร ... เป็นปัญหาฐานคิดฐานกาย ใช่เลยครับ
- ไม่มีความรู้พื้นฐาน ... เป็น Head ใช่ครับ
- แต่ไม่เห็นความสำคัญกับ ไม่กล้าแสดงออก เป็นปัญหาฐานใจ Heart ครับ
- การใช้เทคนิคใหม่ ๆ หลากหลายช่องทาง อาจจะปรับเจตคติได้จริงครับ
- การสอนปรับพื้นฐาน ... ทั้งสามฐาน Head Heart Hand ช่วยได้แน่ครับ แต่บ่อยซ้ำย้ำทวนเพียงพอ
- การเรียนรู้ฐานกายที่หลากหลาย ใน English Club การเรียนรู้ฐานกาย และการบ่อยซ้ำย้ำทวน คือปัจจัยแห่งความสำเร็จประการหนึ่ง
- ขาดความจำ และ คิดไม่เชื่อมโยง เป็นปัญหาฐานคิด Head ถูกต้องครับ
- คิดว่ายาก คิดว่าทำไม่ได้ ไม่กล้า กลัว อาย ไม่ชอบ ไม่เห็นความสำคัญ ...เหล่านี้ฝึงลึกในฐานใจ Heart
- ไม่เขียน ไม่ทำตาม ไม่ฝึกฝน ... อาจเป็นปัญหาฐานใจ ... แต่ถ้าทำไม่ได้เป็นปัญหาฐานกาย
- Brain size (not same), Tilted eyes, Short sighted, Autism(Autistic), Dentition problem, Hearing problem เหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาเด็ก และไม่ใช่ปัญหาครู และไม่ใช่ปัญหาฐานคิด Head ที่เราหมายถึงด้วยครับ เว้นแต่ Phonics problem ที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากร่างกาย
- Nervous, Shy, Child abuse, Affraid, Attitude emotion/ mood เหล่านี้เกี่ยวข้องกับฐานใจ ใช่เลยครับ
- ส่วน Lack of Skill, Low mother tongue เป็นปัญหากายหรือฐานคิดก็เป็นได้
- Disability, Inactive เป็นปัญหาฐานกาย ส่วน lack of interest เป็นปัญหาฐาน Heart ครับ
- คำศัพท์ แกรมม่า คิดวิเคราะห์ ... เป็นปัญหาฐานคิด Head ถูกต้องครับ
- ส่วนคิดว่ายาก คิดว่าต้องทำไม่ได้ หนัก ... น่าจะมาจากฐานใจครับ
- กลัว ขาดความมั่นใจ ไม่เปิดใจ ... ถูกต้องครับ เป็นปัญหาฐานใจ
- ไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่พูด ไม่เขียน ไม่ชอบค้นุคว้า... เหล่านี้มาจากฐานใจครับ ไม่ใช่ฐานกาย
- จำศัพท์ไม่ได้ ... คือปัญหาด้านคิด ใช่เลยครับ รวมเอาความรู้จำด้วย ส่วนการคิดว่ายาก น่าจะเกี่ยวกับฐานใจ
- เบื่อ หนีเรียน ไม่ชอบภาษาอังกฤษ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีเป้าหมาย เหล่านี้ อยู่ที่ฐานใจ Heart ครับ
- ไม่พูด ไม่พยายามฝึก ก็เป็นปัญหาฐานใจครับ
- ไม่สามารถออกเสียงศัพท์ได้อย่างถูกต้อง ... เป็นปัญหาฐานกาย ถูกต้องครับ
- พูดติดอ่าง ... อยู่ฐานกาย Hand ถูกต้องครับ
เมื่อถอดบทเรียนถึงตรงนี้ ผมมีความเห็นว่า การวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียนของเกือบทุกกลุ่มยังไม่ถูกต้องนัก สังเกตว่า สิ่งที่ครูส่วนใหญ่คาดหวังคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งเป็นเป้าหมายในฐานคิด (Head) แต่ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาฐานใจ (Heart)
ผมมีความเห็นว่า เราต้องวิเคราะห์ปัญหาให้ชัดเจนเสียก่อน และมุ่งแก้ไขไปที่ต้นเหตุของปัญหา จึงนำเอา Bloom's Taxonomy ที่ผมวาดจากองค์ความรู้มาตรฐาน ที่ท่านเรียนผ่านมาแล้วทุกท่าน มาแลกเปลี่ยน ดังภาพ
แน่นอนว่า ต้องวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล เบื้องต้นอย่างน้อยต้องคัดกรองออกเป็น ๓ กลุ่ม ดังที่ท่านทำกันอยู่ และตอนนี้ทราบว่า อบจ. ขอนแก่น ชัดเจนแล้วกับกลุ่มเก่ง แต่ปัญหาคือจะต้องไม่ทิ้งกลุ่มอ่อน ซึ่งปัญหาของกลุ่มอ่อนคือปัญหาฐานใจ (Heart) ต้องเริ่มแก้ปัญหาที่ฐานใจ ... บันทึกต่อไปมาดูผลการระดมสมองของคุณครูเพื่อศิษย์กันครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น