CADL_เครือข่ายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป _ ๐๒ : เป้าหมายของ PLC_GE-MSU

วัตถุประสงค์ของการสร้าง PLC อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป 

ความมุ่งหมายของการสร้างเครือข่ายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หรือ PLC_GE-MSU  คือ เพื่อให้เกิดชุมชนเรียนรู้ที่จะร่วมมือกันพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกันอย่างลงตัวกับอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของนิสิตที่มหาวิทยาลัยกำหนด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ๓ ประการได้แก่

๑) สร้างกระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อ่านได้ที่นี่)
๒) พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป (อ่านได้ที่นี่)
๓) สร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ สื่อ และนวัตกรรมการเรียนรู้ สำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑


โดยกำหนดบทบาทของแกนนำเครือข่าย ในที่นี้คือผู้บริหารและกรรมการประจำสำนักฯ ไว้เบื้องต้น ๔ ประการ ได้แก่ ๑) สื่อสารนโยบายการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป  ๒) อำนวยการให้เกิดการพัมนาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ๓) กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน และ ๔) พัฒนาสื่อและเอกสารประกอบการสอน

สถานการณ์ปัจจุบันของเครือข่าย

เบื้องต้นคือการสำรวจตนเองทั้งความรู้ ความเห็น และสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ ซึ่งพอจะสรุป จากการกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และโครงการกิจกรรมความร่วมมือที่ผ่านมา โดยเฉพาะการปรับปรุงหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๘) การดำเนินการที่ผ่านมา สรุปดังแผนผังด้านล่าง


แม้จะพูดไม่ได้เต็มที่ว่า ได้ดำเนินการมาอย่างมีส่วนร่วม แต่ก็ไม่สามารถบอกว่าทำมาแบบ top-down  เพราะมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ประสานงานรายวิชา (ที่นี่และที่นี่) และอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาอย่างต่อเนื่อง จนได้ข้อเสนอของการพัฒนารายวิชาศึกษาทั่วไปที่เคยเสนอไว้ที่นี่ และเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งให้เกิดการปฏิรูปรายวิชาแบบบูรณาการเป็นหลักสูตรปัจจุบัน และสามารถสรุปสถานการณ์หรือสถาวะการณ์สำคัญๆ เกี่ยวกับเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสำนักฯ กับคณะวิทยาลัย ดังนี้
  • สำนักศึกษาทั่วไปได้รับความร่วมมือจากคณะ-วิทยาลัยต่างๆ ในการอนุญาตให้มาเป็นอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป  โดยสำนักศึกษาทั่วไปเป็นผู้บริหารจัดการและดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่ ลงทะเบียน จัดตารางเรียนตารางสอน และงานวัดผลประเมินผล และดูแลห้องเรียน
  • ฝ่ายวิชาการและฝ่ายเครือข่ายวิชาการร่วมกับอาจารย์ผู้สอน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการระดมสมองเพื่อการกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในวิชาที่เกี่ยวข้อง (อ่านที่นี่)
  • ฝ่ายพัฒนานิสิตและเครือข่ายวิชาการ ได้ร่วมมือกับคณาจารย์ประธานหลักสูตรจากคณะต่างๆ จำนวน ๑๑ รับนิสิตในโครงการ "เด็กดีมีที่เรียน" โดยร่วมกันกำหนดแนวทางคัดเลือก และเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ดังกล่าว 
  • มีการถอดบทเรียนของแต่ละรายวิชา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกปีการศึกษา 
  • มีการจัดสัมมนาประจำปี เพื่อเป็นการสะท้อนบทเรียน และระดมสมองเพื่อพัฒนารายวิชาต่างๆ ร่วมกัน (จะรายงานให้ทราบในบันทึกต่อไป)

บันทึกต่อๆ ไป มาดูผลงานความพยายามในการสร้างเครือข่ายของเราครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"