CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_11: โครงการคืนถิ่นทำดี ครั้งที่ ๑ โรงเรียนโพนทองวิทยายน จ.ร้อยเอ็ด
วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ทีม CADL นำทีมตัวแทนกลุ่มนิสิตโครงการ "เดกดีมีที่เรียน คืนถิ่นทำดี" จำนวน ๑๐ คน ไปเยี่ยมน้องๆ ชั้น ม.๕ โรงเรียนโพนทองวิทยายน อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด หนึ่งในโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ"โครงการเด็กดีมีที่เรีย"
คุณภานุพงศ์ คงสวัสดิ์ พนักงานใหม่ในศูนย์ CADL ที่เข้ามาเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้เขียนข้อมูลผ่านบันทึกกิจกรรมและนำเสนอมุมมองไว้น่าสนใจมาก (อ่านได้ที่นี่ครับ) ผมเห็นบางประเด็น ที่น่าจะเป็นร่องรอยว่า เหตุใดเราจึงต้องไปให้ถึงพื้นที่จริงๆ แบบนี้
นักเรียนสนใจเพียง ๑๔ อาชีพเท่านั้น
จากการสำรวจแบบตื่นตัว (Active Assesment) ด้วยการแจกกระดาษโพสท์อิท แล้วตั้งคำถามว่า "อีก ๖ ปีข้างหน้า (กะว่าจบปริญญาตรีพอดี) เราจะมีอาชีพอะไร?" ให้นักเรียนทั้ง ๑๐๐ คน เขียนอาชีพในอนาคตของตนลงบนกระดาษ แล้วทุกคนเดินออกมาแปะติดคำตอบของตนให้ชิดติดกับคนที่เหมือนกัน
กระบวนการแบบนี้ นอกจากจะเป็นการสำรวจแบบตื่นตัวรายคนแล้ว ยังเน้นให้ทุกคนได้ซ้ำทวนหวนคิดไปมา ในขณะที่กำลังหาว่าจะแปะติดตรงไหน ... หากใครเรียนรู้ด้วยฐานใจ จะเห็นความรู้สึกเปลี่ยนแปลงชัดเจน...
ที่น่าสนใจคือผลสำรวจ บอกว่า มีเพียง ๑๕ อาชีพเท่านั้นที่ทุกคนอยากเป็น และถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นข้อค้นพบที่สะท้อนสถานการณ์ด้าน "ค่านิยม" และ "โลกทัศน์" ของนักเรียน อยากให้ท่านพิจารณาผลการ(จากบันทึกของคุณ) อีกครั้ง ดังนี้ครับ
การลงพื้นที่ของนิสิตไม่ได้มุ่งไปที่การ "แนะแนว" แต่มุ่งไปที่การทำให้นักเรียน "รู้จักตนเอง" รู้จักความชอบและความถนัดของตนเอง โดยใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาเป็นเครื่องมือให้ทุกคนรู้ว่าตนเองเป็นคนลักษณะอย่างไร หากความชอบประกอบกับถนัดก็จัดพัฒนาและดำเนินชีวิตได้ง่ายและดีกว่า แต่ถ้าชอบแต่ไม่ถนัด คือไหลไปตามกระแสค่านิยมของทุน หรือหากถนัดแต่ไม่ชอบแล้วต้องเรียนไปตามคำตอบที่ผู้ปกครองมอบให้ ก็ต้องทุกข์ใจไปอีกนาน
หลังจากกิจกรรมประเมินแบบตื่นตัว ซึ่งหวังให้นักเรียนรู้ตัวเบื้องต้นว่า ตนอยากเป็นอะไร ซึ่งก็คือการตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้ก่อน กิจกรรมถัดมาคือการทำให้นักเรียนรู้ว่าตนเองถนัดอะไร โดยใช้กิจกรรม "ผู้นำ ๔ ทิศ" หนึ่งในกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษายอดนิยม (ผู้สนใจอ่านได้ที่นี่และที่นี่ครับ)
ช่วงสุดท้ายคือการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรุ่นพี่ๆ เด็กดีมีที่เรียน โดยให้เวียนขึ้นไปนำเสนอเชิงเล่าเรื่อง โดยมีคุณภาณุพงศ์ จับประเด็นให้นักเรียนเห็นจุดสำคัญๆ ให้ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน
ความจริงการตรวจสอบว่าตนเองถนัดอะไร มีหลากหลายวิธี ที่ง่ายที่สุดคือใช้แบบสอบถาม หรือแบบประเมินตนเองที่มีให้ทดสอบออนไลน์ที่ไหนก็ได้ทันที เชิญลองได้ที่นี่ ครับ (แต่ผมทำดูแล้วไม่ตรงเท่าไหร่นะ..ฮา)
คุณภานุพงศ์ คงสวัสดิ์ พนักงานใหม่ในศูนย์ CADL ที่เข้ามาเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้เขียนข้อมูลผ่านบันทึกกิจกรรมและนำเสนอมุมมองไว้น่าสนใจมาก (อ่านได้ที่นี่ครับ) ผมเห็นบางประเด็น ที่น่าจะเป็นร่องรอยว่า เหตุใดเราจึงต้องไปให้ถึงพื้นที่จริงๆ แบบนี้
นักเรียนสนใจเพียง ๑๔ อาชีพเท่านั้น
จากการสำรวจแบบตื่นตัว (Active Assesment) ด้วยการแจกกระดาษโพสท์อิท แล้วตั้งคำถามว่า "อีก ๖ ปีข้างหน้า (กะว่าจบปริญญาตรีพอดี) เราจะมีอาชีพอะไร?" ให้นักเรียนทั้ง ๑๐๐ คน เขียนอาชีพในอนาคตของตนลงบนกระดาษ แล้วทุกคนเดินออกมาแปะติดคำตอบของตนให้ชิดติดกับคนที่เหมือนกัน
กระบวนการแบบนี้ นอกจากจะเป็นการสำรวจแบบตื่นตัวรายคนแล้ว ยังเน้นให้ทุกคนได้ซ้ำทวนหวนคิดไปมา ในขณะที่กำลังหาว่าจะแปะติดตรงไหน ... หากใครเรียนรู้ด้วยฐานใจ จะเห็นความรู้สึกเปลี่ยนแปลงชัดเจน...
ที่น่าสนใจคือผลสำรวจ บอกว่า มีเพียง ๑๕ อาชีพเท่านั้นที่ทุกคนอยากเป็น และถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นข้อค้นพบที่สะท้อนสถานการณ์ด้าน "ค่านิยม" และ "โลกทัศน์" ของนักเรียน อยากให้ท่านพิจารณาผลการ(จากบันทึกของคุณ) อีกครั้ง ดังนี้ครับ
๑ | ครู | ๒๐ | คน |
๒ | พยาบาล | ๑๓ | คน |
๓ | ตำรวจ | ๑๓ | คน |
๔ | ทหาร | ๘ | คน |
๕ | วิศกร | ๕ | คน |
๖ | แพทย์ | ๕ | คน |
๗ | นักกีฬา | ๔ | คน |
๘ | ธุรกิจส่วนตัว | ๒ | คน |
๙ | ดีไซน์เนอร์ | ๑ | คน |
๑๐ | แอร์ฮอสเตรส | ๑ | คน |
๑๑ | พนักงานธนาคาร | ๑ | คน |
๑๒ | ศิลปิน | ๑ | คน |
๑๓ | เภสัชกร | ๑ | คน |
๑๔ | นักคอมพิวเตอร์ | ๑ | คน |
๑๕ | เกษตรกร | ๑ | คน |
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/586196
ข้อสังเกต
- นักเรียนสนใจ(นักเรียนรู้จักและต้องการเป็น) อยากเป็นเพียง ๑๕ อาชีพเท่านั้น จากอย่างน้อย ๑๐๐ อาชีพ ที่กระทรวงแรงงานทำหนังสือออกมาเผยแพร่ (ดาวน์โหลดที่นี่) และเว็บไซต์แนะนำอีกมาก เช่น ที่นี่ ฯลฯ
- ข้อมูลดิบนี้สะท้อนว่า "ค่านิยม" รับราชการ หรือเป็น "มนุษย์เงินเดือน" ยังสูงลิ่ว
- อยากเป็นสูงที่สุดคือ อยากเป็นครู ถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์
- เกือบทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องการเรียนเพื่อไปเป็นลูกจ้าง ในอีก ๖ ปีข้างหน้า
- หมายเลข ๘, ๙,๑๕ น่าสนใจมาก
- มีเพียงคนเดียวที่อยากเป็น "เกษตรกร" ทั้งๆ ที่ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้คือเกษตรกรรม
การลงพื้นที่ของนิสิตไม่ได้มุ่งไปที่การ "แนะแนว" แต่มุ่งไปที่การทำให้นักเรียน "รู้จักตนเอง" รู้จักความชอบและความถนัดของตนเอง โดยใช้กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาเป็นเครื่องมือให้ทุกคนรู้ว่าตนเองเป็นคนลักษณะอย่างไร หากความชอบประกอบกับถนัดก็จัดพัฒนาและดำเนินชีวิตได้ง่ายและดีกว่า แต่ถ้าชอบแต่ไม่ถนัด คือไหลไปตามกระแสค่านิยมของทุน หรือหากถนัดแต่ไม่ชอบแล้วต้องเรียนไปตามคำตอบที่ผู้ปกครองมอบให้ ก็ต้องทุกข์ใจไปอีกนาน
หลังจากกิจกรรมประเมินแบบตื่นตัว ซึ่งหวังให้นักเรียนรู้ตัวเบื้องต้นว่า ตนอยากเป็นอะไร ซึ่งก็คือการตั้งเป้าหมายในชีวิตไว้ก่อน กิจกรรมถัดมาคือการทำให้นักเรียนรู้ว่าตนเองถนัดอะไร โดยใช้กิจกรรม "ผู้นำ ๔ ทิศ" หนึ่งในกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษายอดนิยม (ผู้สนใจอ่านได้ที่นี่และที่นี่ครับ)
ช่วงสุดท้ายคือการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับรุ่นพี่ๆ เด็กดีมีที่เรียน โดยให้เวียนขึ้นไปนำเสนอเชิงเล่าเรื่อง โดยมีคุณภาณุพงศ์ จับประเด็นให้นักเรียนเห็นจุดสำคัญๆ ให้ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน
ความจริงการตรวจสอบว่าตนเองถนัดอะไร มีหลากหลายวิธี ที่ง่ายที่สุดคือใช้แบบสอบถาม หรือแบบประเมินตนเองที่มีให้ทดสอบออนไลน์ที่ไหนก็ได้ทันที เชิญลองได้ที่นี่ ครับ (แต่ผมทำดูแล้วไม่ตรงเท่าไหร่นะ..ฮา)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น