ความรู้เรื่อง Infographics จากมืออาชีพ

วันนี้ (๙ มกราคม ๒๕๖๒) มาสอนวิชาความเป็นมนุษย์และการเรียนรู้ครั้งแรกของภาคเรียน กำลังจะกลับ พบภาคิชากำลังอบรมเรื่อง Infographics คว้าโอกาสทันที เข้าร่วมอบรม และจับประเด็นฝากท่านครับ



อะไรคือ Infographics
  • แปลงข้อมูลเป็นภาพ
  • ต้องจบในหน้าเดียว  ข้อมูลทุกอย่างบรรจุอยู่ในหน้าเดียว
  • มีหลากหลายแบบเช่น แบบภาพนิ่ง เป็นอินเตอร์แอ็คทีฟ แบบโมชั่นอินโฟกราฟฟิค ฯลฯ 
  • เอาแต่ข้อมูลแบบสำคัญ ๆ เนื้อ ๆ 
วิธีการมาตรฐาน

  • ควรแบ่งชิ้นงาน (กระดาษ)เป็น  ๓ ส่วน คือ 
    • Headline  หัวข้อ
    • Body  คือจุดโฟกัส เด่นสุด  สักหนึ่งภาพพอ 
    • Footer ควรเป็นสีเดียวกับ Headline 
  • ควรมีการออกแบบเลย์เอาท์ (Layout) หรือ ไทม์ไลน์ (Timeline) หรือเป็นโร๊ดแม๊ป (Road Map)
  • ควรใช้สีตามสูตรการใช้สีคือ 
    • 60%  สีกราวน์ แบคกราวน์ 
    • 30% สีภาพ สีกราฟฟิค ถ่ายทอดข้อมูล
    • 10% สีเด่น สีเน้น สีข้อมูลตัวเลขเด่น ๆ  
  • ตัวอักษร พื้นเข้มตัวหนังสือต้องอ่อน พื้นอ่อนตัวหนังสือต้องเข้ม สีต้องตัดกัน เช่น แดง-ขาว เขียว-ส้ม ฯลฯ
เทคนิคหรือเคล็ดลับ

  • สี...  การใช้สีที่จัดจ้าน
    • ถ้า object สีเข้ม แบ็คกราวน์ต้องสีอ่อน แต่ไม่ใช่ถึงขั้นกระดาษเปล่า ต้องให้ทีลายน้ำ บาง ๆ เป็นต้น
    • ต้องทำความเข้าใจเรื่องสี สีร้อน สีเย็น ต้องรู้เรื่องพาเรดสี 
    • เมื่อเลือกพาเรดสีแล้ว ไม่ควรหยิบมาใช้เกิน ๓ สี
    • เรื่องพืชต้องไปสีเขียว 
    • เรื่องมหาวิทยาลัยต้องใช้สีอะไร
    • สีพาสเทล จะทำให้เกิดความรู้สึกมีระดับ 
    • ไม่ควรใช้แม่สีทั้งหลาย (color box)
  • สัญลักษณ์ ...  ดูปุ๊ปรู้ปั๊ป
  • สุดยอดของการดีไซด์คือ เรียบง่ายและบางเบา
  • ตัวอักษรต้องด่น การทำเงาจะทำให้เด่นขึ้น
  • ตัวเลขที่สำคัญที่สุด ต้องการให้รู้ที่สุด ให้ตัวใหญ่ที่สุด  สีเดียวกับสี Headline

สิ่งที่ทำให้ไม่มีประสิทธิภาพ

  • ใช้กราฟฟิคหลากหลายเกินไป
  • ใช้ชุดสีที่ไม่เข้ากัน
  • การแปลงภาพที่ไม่สื่อความหมาย
  • การออกแบบที่ไม่มีประโยชน์
  • ใช้ตัวหนังสือมากเกินไป
  • มีพื้นที่ว่างมากเกินไป หรือไม่มีเลย
  • ขาดจุดโฟกัส
  • ใส่เอฟเฟคที่ไม่จำเป็น
  • ออกแบบไม่สอดคล้องกับข้อมูล
  • ทำงานโดยไม่มี Refence
แนะนำวิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง

  • ดูงานของคนอื่นให้มาก ๆ  แล้วถามตัวเองว่าเราชอบแบบไหน.... เชิญเถิด






เสียดายจริง ๆ ไม่ได้อยู่เรียนรู้ภาคปฏิบัติ อาจารย์ผู้จัดบอกว่าจะเอาคลิปวีดีโอการบรรยายไปวางไว้ที่เว็บไซต์ของภาควิชาชีววิทยา ผู้สนใจโปรดค้นหาเถิดครับ

สิ่งที่ประทับใจ ได้เรียนรู้ใหม่ และจะนำไปปฏิบัติ

  • ต้องใช้สีใน (ขบวน) พาเลทสีเดียวกัน ... จะสวย สบายตา น่าอ่าน ... และ มีระดับ
  • ต้องใช้สัดส่วนสี ๖๐ ต่อ ๓๐ ต่อ ๑๐  (สีพื้นหรือกราวน์ ต่อ สีภาพ ต่อสีอักษรหรือสีเน้น)   จะสวยดี อ่านง่าย ได้โฟกัส 
ขอขอบคุณภาพวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่จัดงานดี ๆ แบบนี้ครับ ครูอาจารย์ทุกคนควรทำ infographic เป็น 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"