PLC_CADL_044 : หารือแนวทางการวิจัย GE-Learning Outcome กับ ERTEC

วันนี้ (๑๗ พ.ย. ๒๕๕๗) CADL ขอเข้าพบอาจารย์ ดร.ญาณภัทร สีหะมงคล และ ผศ.ดร.ประเสริฐ เรือนนะการ นักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยทดสอบและประเมินผลการศึกษา (Educational Research Testing and Evaluation Center) หรือ ERTEC เพื่อหารือถึงการทำวิจัยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Learning Outcome) ของรายวิชาศึกษาทั่วไป ในปีการศึกษานี้

ผมเสนอท่านท้้งสองถึงกรอบวิจัยของสำนักศึกษาทั่วไป ของปีการศึกษา ๒๕๕๘ ที่เน้นไปที่ ๑) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ผ่านมา และ ๒) นวัตกรรมการเรียนการสอน    และบอกถึงจุดประสงค์ที่มาพบท่านในวันนี้ ๒ ประการ คือ ๑) ขอเชิญท่านให้เป็นแกนหลักสำคัญในการทำวิจัยด้าน GE-Learning Outcome ซึ่งมีทั้งส่วนที่กำลังดำเนินการอยู่ในปีนี้ และส่วนที่กำลังจะดำเนินต่อไปในปีหน้า (๕๘) และ ๒) เชิญชวนเชิงประชาสัมพันธ์ให้ท่านทั้งสองมาของบวิจัยที่กำลังจะประกาศรับข้อเสนอเร็วๆ นี้


เรากลับมาทำ AAR กันตอนบ่าย ว่าได้ข้อสรุปอะไรบ้าง อะไรชัด อะไร ไม่ชัด ต่อไปจะดำเนินการอย่างไร สรุปประเด็นเห็นดังนี้ครับ

๑) ท่านทั้งสองยินดีให้ความช่วยเหลือ ในการทำวิจัยเกี่ยวกับ Learning Outcome ที่มีเป้าหมายให้เสร็จภายในสิงหาคมปีหน้า แต่เรายังไม่ได้เรียนถามท่านว่าจะเสนอโครงการวิจัย Learning Outcome สำหรับงบประมาณปี ๒๕๕๘ ในรูปแบบใด 

๒) เรากำหนดกระบวนการวิจัยในพีการศึกษานีออกเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
  • ระยะที่ ๑ มี ๒ กิจกรรมได้แก่ ๑)วิเคราะห์หลักสูตร ให้ดำเนินการต่อเนื่องจากที่ทำมาแล้วได้ทันที ในวันที่ ๒๔ พ.ย. นี้ เป้าหมายคือ สังเคราะห์ให้ได้ว่าอะไรคือเป้าหมายของ GE ในรายวิชาตามหลักสูตรที่เรามีในปัจจุบัน ๒) วิพากษ์หลักสูตร ดำเนินการช่วงเดือนธันวาคมนี้ มุ่งเป้าไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารสำนักศึกษาทั่วไป และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งท่านทั้งสองจะช่วยแนะนำรายชื่ออีกที เป้าหมายคือ ได้เป้าหมาย (คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของรายวิชาศึกษาทั่วไป) ตามนโยบายของผู้บริหารของมหาวิทยาลัยซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ
  • ระยะที่ ๒ พัฒนาเครื่องมือ ใช้เวลาประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัด ผู้รับผิดชอบในส่วนนี้คือ ERTEC
  • ระยะที่ ๓ คือนำเครื่องมือไปใช้ภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ น่าจะได้ผลวิจัยนำเสนอต่อไปในเดือนแรกที่เปิดเทอม
๓) ผลงานวิจัยผลสัมฤทธิ์นี้ จะใช้ประกอบในการพิจารณาหารือท่านในการทำวิจัยพัฒนา Input และ Process รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"