PLC_CADL_027 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานสารสนเทศ (๓)

บันทึก ๑ ....
บันทึก ๒ ....

หลังจากท้าทายให้ "หลุดกรอบ" ด้วยกิจกรรม "สมองใส" ในวันแรก และได้ร่วมกันระดมและวิเคราะห์ปัญหา กิจกรรมที่เราทำถัดมาคือ ให้หาทางแก้ไขปัญหา (ให้เลือกปัญหาเอง) ด้วยตนเอง โดยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ตามลักษณะของงาน ได้แก่ กลุ่ม บร. กลุ่ม "๓ ปร." (ประกันฯ ประชาสัมพันธ์ และ โปรแกรมเมอร์ รวมกัน) และกลุ่ม "รลส." (รถและสวน)  สรุปได้วิธีการที่ ผู้ทำงานคิดเองได้ดังนี้...

กลุ่ม บร. บอกว่า...
  • ปัญหาที่ติดต่อ บร. ไม่ได้ จะแก้ไขโดยการจัดทำคู่มือการใช้อุปกรณ์ และ จัดทำป้ายบอกเบอร์ติดต่อ ทั้งเบอร์ตรง เบอร์บัดดี้ และเบอร์ที่ติดต่อประสานงานกลาง 
  • ปัญหาบรรยากาศไม่น่าเรียนไม่น่าอยู่ จะกลับมา กำกับดูแลการทำงานของแม่บ้านเรื่องความสะอาด ตนเองจะเก็บกวาดวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้วและสายไฟให้เป็นระเบียบ และจัดทำป้ายบอกนิสิตไม่ให้นำอาหารเครื่องดื่มเข้ามาในห้องเรียน 
กลุ่ม รลส. บอกว่า... ไม่ได้เสนอวิธีแก้ไข... แต่อยากได้อุปกรณ์ไปแก้เอง... ดังนี้ 
  • อยากได้เครื่องไดโว่สูบน้ำด่วน เพราะที่มีอยู่ ๒ เครื่อง ชำรุดแล้ว หากไม่มี จะทำให้ไม่สามารถสูบน้ำทิ้งได้ ซึ่งจะทำให้ห้องน้ำราดไม่ลง ส่งกลิ่นแน่นอน ....
  • ต้องการ "ดิน" สำหรับปลูกต้นไม้ จะได้มีสวนสวยๆ แบบประหยัด...เดี๋ยวจะจัดให้เอง....
  • อยากให้วางแผนเรื่องการจัดซื้อรถตู้คัดใหม่ เพราะกว่าจะซื้อได้จริงคงอีกหลายปี  และคันเก่านี้ก็เคยประสบอุบัติเหตุแล้ว
กลุ่ม ๓ ปร. บอกว่า
  • ปัญหาการส่งต้นฉบับ (ลงวารสาร) ล่าช้า .... บอกว่า จะขอต้นฉบับล่วงหน้า ๒ เดือน.... 
  • ปัญหาเรื่องตามเอกสารงานประกัน .... บอกว่า จะทำหน้งสือติดตาม ๒ รอบ และติดตามทวงถามรายบุคคล...
ผม AAR  กับตนเองว่า... การท้าทายให้คิดนอกกรอบด้วยกิจกรรม "สมองใส" ยังไม่มีใครนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเท่าใดเลย... (ไม่เป็นไร นี่เป็นเพียง KMI ครั้งแรกนี่นา...ไว้ปรารถนาต่อไปในครั้งหน้า)

ผมสรุป (เชิงขับเคลื่อน) ให้ทุกคน "ตกลง และ ลงใจ" ว่า กลับไปจะต้องช่วยกันแก้ไข โดยอย่างน้อยต้องทำดังนี้

๑)  บร. ดำเนินการที่เองได้เสนอวิธีแก้ไขไว้ คือ ซ่อมแซมและจัดการให้วัสดุอุปกรณ์ในห้องเรียนให้เรียบร้อย
๒) หัวหน้าสำนักงานฯ ดำเนินการจัดซื้อไดโว่สูบน้ำ ๒ เครื่องให้ฝ่าย รลส. ทันที ส่วนเรื่องซื้อรถใหม่ ให้นำไปพิจารณาต่อไปใน KM ผู้บริหาร
๓) ให้ บร. เข้าพบอาจารย์ผู้สอนทุกชั้นเรียนใน ๒ อาทิตย์แรกของภาคการศึกษาหน้า เพื่อทำการบริการ/แนะนำ/สอน วิธีการใช้อุปกรณ์และสือการเรียนการสอน จนอาจารย์สามารถเปิดใช้งานได้ด้วยตนเอง
๔) จัดให้มีการ KM ย่อย ของทีม บร. ทุกเดือน 
๕) ให้หัวหน้า บร. จัดทำระบบ QC โดยจัดให้มีแบบฟอร์มตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์ตลอดจนคุรุภัณฑ์ แล้วให้ บร.ประจำห้องเรียนตรวจสอบ ส่งมอบข้อมูลให้ในที่ประชุม KM ย่อยของ บร. ก่อน หัวหน้าฯ ส่งต่อและรายงานต่อหัวหน้าสำนักงานฯ เพื่อสั่งการหรือคุยใน KM ผู้บริหารต่อไป
๖) ให้ทุกคนยึดแนวทาง "ยิ้ม" "พูดจาไพเราะ" ปฏิบัติต่อ อจ. อย่างเคารพน้อบน้อม

ก่อนจบเราช่วยกันคิด เป้าหมายเชิงปรัชญา ที่เราจะยึดเหมือนเป็นวิสัยทัศน์ของ บร. GE สำหรับห้องเรียนว่า ต้อง "เปิดง่าย ใช้ดี มีสำรอง"
  • เปิดง่าย คือ อุปกรณ์โสตและสื่อต่างๆ ต้องจัดให้เปิดใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน 
  • ใช้ดี คือ อุปกรณ์ต่างๆ ใช้ได้ดี มีคุณภาพดี ภาพคมชัด เสียงแจ๋ว ฯลฯ 
  • มีสำรอง คือ หากชำรุดเสียหาย สามารถซ่อมแซมได้รวดเร็ว มีอาไหร่สำรอง stock เสมอ 
๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖๖
ขอจบบันทึกไว้ ณ ตรงนี้ครับ





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"