PLC_CADL_033 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานบริหารและยุทธศาสตร์ (๓)

บันทึกที่ ๑ ...
บันทึกที่ ๒ ...

ก่อนจะเลิกวงในวันแรก (๑๗ เมษายน ๒๕๕๗) หลังจากนำเสนอ "วิกฤตกับโอกาส" แล้ว ผมพยายามเติมเครื่องมือคิดสำหรับการฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ๔ เครื่องมือ ได้แก่ การคิดแบบอ่างน้ำ การคิดแบบ I-We-IT การทำกราฟความสำเร็จ และการประยุกต์ใช้ ปศพพ. ในชีวิตประจำวัน (ผู้สนใจโปรดคลิกอ่านตามสบายตามอัธยาศัยเถิด)  แล้วมอบหมายตกลงกันว่า ทุกกลุ่มย่อยจะนำเครื่องมือเหล่านี้ไปทดลองคิด แล้วเขียนลงในกระดาษนำมาส่งอ ๓ ชิ้นงาน คือ
  • Stock หรือคิดแบบอ่างน้ำ 
  • กราฟวิเคราะห์ความสำเร็จ และกราฟความสุข 
  • วิธีการแก้ไขวิกฤตที่คิดกันไปก่อนในตอนแรกโดยยังไม่ได้ใช้เครื่องมือเหล่านี้ 
ผมเองในฐานะกระบวนกร รู้ในขณะนั้นทันทีว่า เติมเครื่องมือมากเกินไป ไม่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด และ "เติม" ความรู้และเครื่องมือใหม่ให้เร็วเกินไป จึงเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจ กอปรกับเวลาที่มีอย่างจำกัด เพราะเราต้องเร่งรัดให้จบก่อน ๑๖:๓๐  น. จึงมอบเป็นการบ้านและนำมาเสนอพรุ่งนี้ก่อนเที่ยง

ทำให้ไม่สามารถที่จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้นำเสนอสิ่งที่ทำเป็นการบ้านได้ทั้งหมด แต่โดยภาพรวมแล้วก็ค่อนข้างพอใจ แม้ว่าจะไม่สามารถเปิดใจเปิดหมวกของบุคลากรกลุ่มแผนฯได้มากนัก แต่ก็ถือว่าได้มาพักร่วมกัน ทำใหเราเข้าใจกันมากขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งจากราฟความสุขของ ๒ คนที่มีโอกาสได้นำเสนอ เป็นแบบขึ้นๆ ลงๆ  ซึ่งคงต้องไปหาคำตอบกันต่อไปครับว่า ทำไมจึงเป็นเช่นน้้น





ขอพักเรื่องงานไว้สักครู่ มาดูแหล่งเรียนรู้ใกล้เขื่อนอุบรัตน์ ที่เราจัดให้บุคลากรกันครับ เริ่มจากบรรยากาศริมน้ำพองที่ถ่ายจากระเบียงของวารีวัลเลย์  ไปถ่ายภาพตะวันชิงพบ ณ จุดชมวิวภูเกล้า-ภูพานคำ ไปซื้อปลาหน้าเขื่อน และไปกราบพระใหญ่ที่วัดพระธาตุภูพานคำ



















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"