PLC_CADL_026 : AAR เพื่อพัฒนาบุคลากร GE ปี ๕๗ กลุ่มงานสารสนเทศ (๒)

บันทึก ๑ ....

บ่ายของวันแรกเรา "มองปัญหา" จากสายตาของทุกคน (เน้นว่าทุกคน) วิธีการง่าย ๆ ที่เราใช้คือ นั่งล้อมเป็นวงกลม แล้ว "ระดม" กันแบบ "เรียงไมค์" ท้าทายทุกคน "...ดูซิ ว่าจะได้สักกี่รอบ.." โดยให้แต่ละคนบอกเพียง ๑ ปัญหาโดยไม่ซ้ำกัน ถ้าคิดไม่ออก ก็ให้บอกเพียงว่า "ข้าม" ...แต่ก่อนจะเริ่มกิจกรรม เราทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมของงาน บร. (คร่าวๆ) โดยให้ "หัวหน้ากลุ่มฯ" เล่าให้ฟัง...

ผมฟังว่า ....

งานของกลุ่มงานสารสนเทศ  คือ การสนับสนุนฝ่ายวิชาการในการจัดการเรียนการสอนให้ดีที่สุด น่าจะแบ่งได้เป็น ๓ ส่วนหลัก ได้แก่ ๑) ส่วนห้องเรียน ๒) ส่วนบรรยากาศการเรียนรู้นอกห้องเรียน และ ๓) ส่วนสนับสนุนระบบประเมินผลและเครือข่ายวิชาการฯ... จาก KM สองวันนี้ ผมมีข้อสังเกตว่า ทุกคนจะเข้าใจเพียงหน้าที่ข้อ ๑) และ ๓) เท่านั้น และแยกย่อยกันชัดเจน คือ งานศูนย์ทดสอบ (E-Testing) ศูนย์ภาษา ศูนย์พัฒนาวิชการฯ ส่วนข้อ ๒) คงต้องไปหาโอกาสคุยกันต่อ ....

ส่วนการเตรียมความพร้อมห้องเรียน เขียนเป็นผังได้ดังภาพด้านล่าง  โดยเปรียบ "ห้องเรียน" เป็นกรอบสีน้ำตาล ซึ่งจะเชื่อมโยงกับส่วนงานและระบบอื่นในกล่องสีน้ำเงิน ดังนี้



  • บอร์ดบริหารอนุมัติการเปิดรายวิชาในภาคการศึกษานั้นๆ 
  • วิชาการดำเนินการจัดตารางเรียนตารางสอน กำหนดจำนวนนิสิตที่ลงทะเบียนในแต่ละกลุ่มเรียน กำหนดห้องเรียน กำหนดอาจารย์ผู้สอน ... นิสิตและอาจารย์สามารถใช้ระบบระเบียนของมหาวิทยาลัยในการดำเนินการ ตั้งแต่รับลงทะเบียนจนถึงทดสอบประเมินผล ซึ่งระบบ E-Testing คือหนึ่งในหน้าที่ของกลุ่มงานฯ ด้วย
  • แต่ละอาคารเรียนจะมี เจ้าหน้าที่บริการ "บร." ทำหน้าที่ ดูแลและเตรียมความพร้อมของห้องเรียน ซึ่งต้องเช็คให้พร้อม 
    • เก้าอี้เรียนเพียงพอและอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี 
    • อุปกรณ์โสตทัศน์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์+อินเตอร์เน็ต โปรเจ็คเตอร์ วีชั่นไลเซอร์ ไมโครโฟน+ระบบเสียง  
    • อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ แอร์ฯ พัดลม ม่านบังแดด 
    • กำกับดูแลความสะอาด ร่วมกับแม่บ้าน (มบ.) ประจำตึก 
  • เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอน (อจ.) สามารถโทรศัพท์ไปที่ ๑ คือเบอร์ บร. ที่เขียนติดโชว์รอไว้บนโต๊ะ อจ. นั่นเอง  บร. ก็จะทำงานร่วมกับ มบ. ในการให้บริการต่อไป 
  • หรือหากโทรติดต่อ บร. ไม่ได้ อจ. ก็สามารถโทรศัพท์ไปยังเบอร์ที่ ๒ Call Center ที่ หัวหน้า บร. ประจำอยู่ ซึ่งจะแจ้งให้ บร. ที่อยู่ใกล้ที่สุด ได้เร่งรุดไปให้บริการต่อไป 
  • ทุกๆ เดือน กลุ่มงานฯ จะมี KM ย่อย เพื่อตรวจสอบพัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้สอย ซ่อมแซมในห้องเรียน โดย บร. จะสำรวจตรวจตรา ตามตารางเวลาที่กำหนด  หัวหน้า บร. รวบรวมเสนอต่อฝ่ายบริหาร เพื่อแจ้งสั่งอย่างเป็นทางการให้ฝ่ายพัสดุจัดซื้อทำ Stock สำรอง และส่งสิ่งของนั้นให้ บร. ไปดำเนินการต่อไป ..... 
  • อีกกรณีที่พบมีบ่อยคือ อจ. ขอใช้ห้องเรียนนอกตารางเวลาที่จัดให้  โดย GE ได้พัฒนาระบบ "สำรองห้องเรียนรวม" มาเพื่อให้ความสะดวกกับ อจ. ที่สุด ตามขั้นตอนดังนี้ 
    • อจ. แจ้งจองห้องเรียนผ่านระบบได้ที่ www.genedu.msu.ac.th ล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ วันทำการ
    • รอแจ้งผลการอนุมัติผ่านระบบออนไลน์ 
    • ถ้าได้รับการอนุมัติ บร. เตรียมความพร้อมของห้อง โดยแจ้ง มบ. ให้เปิดห้องและทำความสะอาด 
  • ฯลฯ  ... (หากสงสัยเรื่องการทำงาน โทรไปที่ หัวหน้า บร. ก็แล้วกันครับ เบอร์อยู่ที่หน้าโต๊ะสอน)
ผลการระดมปัญหา เชิญท่านพิจารณา แผนผังความคิดด้านล่าง


ผมสังเคราะห์ (หลังจากวิเคราะห์เป็น ๓ ประเภท ตามเทคนิคนี้) เอาส่วนสำคัญได้ว่า ปัญหาใหญ่ๆ ที่บุคลากรสะท้อนมา แบ่งได้เป็น ๔ ประการ ที่ต้องแก้ไขแบบเร่งด่วน ได้แก่
  • ปัญหาเรื่องห้องเรียน
  • ปัญหาเรื่องห้องน้ำตึก RN
  • ปัญหาเรื่องลิฟท์ (Lift) ตึก RN
  • ปัญหาอินเตอร์เน็ต
ซึ่งบุคลากร บร. ระดับปฏิบัติการ ดำเนินการได้เพียงเรื่องแรก เรื่องห้องเรียนเท่านั้น ส่วน ๓ ปัญหา ต้องเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายบริหาร+หัวหน้าสำนักงานฯ+หัวหน้า บร. ที่ดูงานอาคารฯ .... ซึ่งผมเองจะนำไปคุยกับ ผอ. โดยด่วนครับ

สำหรับปัญหาเรื่องห้องเรียน ผมได้เสนอภาพถ่ายเชิงพากษ์ ที่ได้จากการตรวจเยี่ยม  เช่น ภาพต่อไปนี้ ...






เป็นต้น....

ช่วงท้ายของบ่ายวันเดียวกัน.. เราช่วยกันเสนอหาวิธีแก้ปัญหา เท่าที่ "หน้างาน" ของเราจะทำได้ เสนอดังในแผนผังเดียวกัน ...

เราตกลงว่า จะกลับมาทำหลายอย่าง เพื่อให้ห้องเรียน "เปิดง่าย ใช้ดี มีสำรอง" ซึ่งจะขอยกไปเขียนไว้ในบันทึกหน้าครับ...


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"