รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๕) ผู้นำ ๙ ประเภท
วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๙ ผศ.ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มาบรรยายพิเศษเรื่อง "ภาวะผู้นำ" ในชั้นเรียนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ เป็นการบรรยายพิเศษจากผู้นำจริง ภาษาสมัยนี้ เรียกว่า "ผู้นำตัวเป็น ๆ " เป็นพื้นที่เรียนรู้จากประสบการณ์ของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจริง ๆ ถ้านิสิต "ฟังเป็น" จะเห็นตัวอย่างของ การวางตัว บุคลิกผู้นำ การพูดสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งนิสิตน่าจะนำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองได้ไม่มากก็ไม่น้อย ... การบรรยายของท่านน่าเป็นแบบ บรรยายเชิงรุก (Active Lecture) ถือเป็นตัวอย่างการบรรยายสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ควรจะนำไปบอกเล่าต่อไป
ผู้นำคือใคร ?
ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารหน่วยงาน หรือได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและมีหน้าที่ในการบริหารหน่วยงาน มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ๆ นอกจากนี้ ผู้นำยังหมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นในกลุ่ม มีบทบาทในการชี้นำและบังคับบัญชาให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้ (พชวิทย์ จันทร์ศิริสิร)
แสดงว่า ผู้นำมี ๒ ประเภท ได้แก่
ผู้บริหารที่ดีนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้นำ แต่ผู้นำนั้นบางครั้งอาจไม่ได้มีตำแหน่งเป็นทางการหรือไม่ได้รับเลือกด้วยกลไกของกลุ่มให้เป็นผู้บริหาร มีความแตกต่างระหว่างลักษณะเด่นหรือจุดเน้นระหว่าง "ผู้นำ" กับ "ผู้บริหาร" แสดงดังภาพด้านล่าง
ตีความได้ว่า พฤติกรรมสำคัญ ๆ ของ "ผู้นำ" ๕ ประการ คือ ๑) เป็นตัวของตัวเอง ๒) ริเริ่มสร้างใหม่ ๓) มีเป้าหมายท้าทายสถานภาพ ๔) มองการณ์ไกล และ ๕)มุ่งพัฒนาจิตใจของผู้ตาม
คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของ "ผู้นำ" คือส่วนสำคัญที่ทำให้บุคคลนั้น สามารถจูงใจหรือโน้มน้าวผู้อื่นให้ปฏิบัติตามเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้น ดังความหมายที่ ผศ.ดร.พชรวิทย์ ได้สรุปเป็นความหมายดังสไลด์ด้านล่าง
จบตรงนี้ครับ ....
ผู้นำคือใคร ?
ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารหน่วยงาน หรือได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและมีหน้าที่ในการบริหารหน่วยงาน มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ๆ นอกจากนี้ ผู้นำยังหมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นในกลุ่ม มีบทบาทในการชี้นำและบังคับบัญชาให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้ (พชวิทย์ จันทร์ศิริสิร)
แสดงว่า ผู้นำมี ๒ ประเภท ได้แก่
- ๑) บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารหน่วยงาน หรือ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่ในการบริหารหน่วยงาน มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ๆ
- ๒) บุคคลที่มีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นในกลุ่ม มีบทบาทในการชี้นำและบังคับบัญชาให้บุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้
ผู้บริหารที่ดีนั้นจำเป็นต้องเป็นผู้นำ แต่ผู้นำนั้นบางครั้งอาจไม่ได้มีตำแหน่งเป็นทางการหรือไม่ได้รับเลือกด้วยกลไกของกลุ่มให้เป็นผู้บริหาร มีความแตกต่างระหว่างลักษณะเด่นหรือจุดเน้นระหว่าง "ผู้นำ" กับ "ผู้บริหาร" แสดงดังภาพด้านล่าง
ตีความได้ว่า พฤติกรรมสำคัญ ๆ ของ "ผู้นำ" ๕ ประการ คือ ๑) เป็นตัวของตัวเอง ๒) ริเริ่มสร้างใหม่ ๓) มีเป้าหมายท้าทายสถานภาพ ๔) มองการณ์ไกล และ ๕)มุ่งพัฒนาจิตใจของผู้ตาม
คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของ "ผู้นำ" คือส่วนสำคัญที่ทำให้บุคคลนั้น สามารถจูงใจหรือโน้มน้าวผู้อื่นให้ปฏิบัติตามเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้น ดังความหมายที่ ผศ.ดร.พชรวิทย์ ได้สรุปเป็นความหมายดังสไลด์ด้านล่าง
"...สุดยอดของผู้นำ คือ ผู้บริหารที่สามารถทำให้งานบรรลุผลได้ด้วยฝีมือคนอื่นอย่างเต็มใจ..."
"...คนทุกคนเป็นผู้นำได้... คนทุกคนต้องเป็นผู้นำตนเอง... คนที่เป็นผู้นำต้องมีภาวะผู้นำ..."
กิจกรรมเรียนรู้ภาวะผู้นำของตนเองด้วย ๒ คำถาม
คำถามที่ ๑ คือ หลังจากนิสิตสำเร็จการศึกษา นิสิตประสงค์จะทำงานกับผู้นำประเภทใด ? ให้เลือก ๑ ใน ๙ แบบต่อไปนี้
- ผู้นำแบบเพชร คือ เข้มแข็ง เฉียบคม มีสติปัญญาเฉียบแหลม
- ผู้นำแบบตาชั่ง คือ ผู้นำที่ยึดมั่นในความเป็นธรรม ต้องยุติธรรม ในที่นี้ไม่ได้แปลว่า "เท่ากัน" เหมือนในตำราที่เขียนกันทั่วไป แต่ แปลว่า "เหมือนกัน" ยกตัวอย่างเช่น อุปมาเหมือนการทานข้าว บางคนกินมาก บางคนกินน้อย ทุกคนกิ่นพอแค่อิ่มของตนเอง กินไม่เท่ากัน แต่ไม่มีใครรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมหรือไม่ยุติธรรม เพราะทุกคนอิ่มเหมือนกัน ทุกคนพอใจ
- ผู้นำแบบกำปั้น คือ ผู้นำที่เผด็จการ ใช้การบังคับบัญชา ผู้นำต้องตัดสินใจ
- ผู้นำแบบเจดีย์ คือ ผู้นำที่เอาคุณงามความดีเป็นตัวตั้ง
- ผู้นำแบบดวงอาทิตย์ คือ ผู้นำที่ให้ความอบอุ่น ไม่ห่างไปให้หนาว ไม่ใกล้ไปให้ร้อน ผู้นำจะรักษาระยะห่างกับลูกน้อง
- ผู้นำแบบดวงบัว คือ ผู้นำที่ไต่เต้ามาด้วยความสามารถของตนเอง เกิดผ่านตมขึ้นมาจนพ้นน้ำ เป็นผู้นำที่สั่งสมความเชี่ยวชาญของตนเองมาอย่างดี
- ผู้นำแบบต้นไม้ คือ เป็นเหมือนร่มโพธิ์ร่มไทร เป็นร่มเงาให้ลูกน้องได้พักพิง
- ผู้นำแบบบันได คือ ผู้นำที่ใส่ใจส่งเสริมลูกน้อง สนับสนุนให้ได้รับความเจริญก้าวหน้า
- ผู้นำแบบเทียน คือ เสียสละ เป็นผู้ให้ ที่ประเทศเกาหลีใต้จะเน้นเรื่องนี้มาก โรงเรียนผู้นำของเกาหลี เน้นปลูกฝังให้ผู้นำทำ ๓ อย่างเสมอคือ ลงมือทำก่อน ปรนนิบัติหรือให้บริการก่อน และสุดท้ายคือ ต้องเป็นผู้เสียสละก่อน
- ผู้นำแบบนกอินทรีย์ คือ ผู้มองการณไกล มีวิสัยทัศน์ แม่นยำ
- ผู้นำแบบภูเขา คือ มั่นคง หนักแน่นดังขนเขา แต่แม้สูงเสียดฟ้า ยังต่ำกว่าหญ้า ไม่ลืมตัว
- ผู้นำแบบอิสระ คือ มีหลายรูปแบบ ณ เวลาหนึ่งจะเป็นผู้นำแบบหนึ่ง เป็นผู้นำตามสถานการณ์ หรือตามสภาวะการ
จบตรงนี้ครับ ....
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น