ทำไมทุกคนต้องพยายามทำ "ความดี" (จินตมยปัญญา)
คำถาม : ทำไมทุกคนต้องพยายามทำ "ความดี" ?
คำตอบ : เพราะความดีเป็น "มรรค" ไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือ "นิพพาน"
ความรู้ที่จำเป็นต้องมีสำหรับความเข้าใจนี้มีอย่างน้อย ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ๒) รู้ว่าเราเกิดมาทำไม ๓) รู้วิธีที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมายนั้น
พระพุทธเจ้าไม่ใช่เจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ความจริงของธรรมชาติ (อริยสัจ ๔) จึงมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นบนโลก (สังเกตว่าใช้คำว่า "อุบัติ" ไม่ใช่ "กำเนิด") ตามตำรา พระสมณโคดมหรือพระโคดมพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าพระองค์แรก แต่เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วนับไม่ถ้วนและจะมีอีกจำนวนประมาณไม่ได้ในอนาคตกาล ในการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ทรงตรัสว่า โอวาทปาฏิโมกข์นั้นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย .... ประเด็นนี้น่าทึ่งสุด ๆ ครับ แสดงว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสอนในสิ่งเดียวกัน
ต่อไนี้เป็นโอวาทปาฏิโมกข์ มี ๓ คาถา (ที่มา : วิกีพีเดีย)
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ชาวพุทธทำพิธีรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณนี้ในวันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี
พระพุทธเจ้าสอนอะไร
ขอนำเสนอแบบ ถาม-ตอบ ตนเอง ดังนี้ครับ
ถาม : พระพุทธเจ้าสอนอะไร ?
ตอบ : ทรงสอนวิธีการพ้นทุกข์
ถาม : ทุกข์คืออะไร ? พ้นทุกข์คืออะไร ?
ตอบ :ขันธ์ทั้ง ๕ นั่นแหละคือทุกข์ ทั้งรูปทั้งนาม/ทั้งกายทั้งใจ ทั้งหมดคือทุกข์ การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของรูป-นาม กาย-ใจคือทุกข์ การพ้นทุกข์คือ การพ้นจากการเกิดอีก
ถาม : ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ?
ตอบ : ทำให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ ประการ วิธีการคือ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรจทำให้แจ้ง มรรคทำให้เจริญ
ถาม : ชาวพุทธต้องปฏิบัติอย่างไร จึงถือว่าเป็นพุทธศาสนิกชน
ตอบ : ศึกษาและปฏิบัติสีลสิกขา จิตสิกขา และปัญญาสิกขา เมื่อปฏิบัติถูกต้องจะเกิดศีล สมาธิ และปัญญา ปัญญาแจ้งอริยสัจนี้เองที่ทำให้พ้นทุกข์
เราเกิดมาทำไม
ถาม : เราเกิดมาทำไม ?
ตอบ : แล้วแต่... เกิดมามีความสุขมั้ง ...เอาเข้าจริง ๆ ทุกคนก็ทำสิ่งต่าง ๆ เพราะต้องการความสุข
ถาม : ความสุขคืออะไร ?
ตอบ : สำหรับชาวพุทธ ความสุขที่แท้จริงคือการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง เรียกว่า "นิพพาน"
ถาม : สรุปเราเกิดมาเพื่อเข้าถึง "นิพพาน" ใช่ไหม ?
ตอบ : สำหรับชาวพุทธส่วนใหญ่..ใช่ อีกส่วนหนึ่งเป็น "โพธิสัตว์" ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า จะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ก่อน
วิธีที่จะเดินไปสู่เป้าหมายนั้น
ถาม : ทำอย่างไรจะถึงซึ่งพระนิพพาน ?
ตอบ : เจริญมรรคมีองค์ ๘ วิธีการคือ
ถาม : ถ้าไม่หวังจะถึงซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ล่ะ ?
ตอบ : ก็ควรจะเจริญมรรคไปเรื่อย ๆ หรือก็คือ ทำความดี นั่นเอง
ตามตำราและคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ นิพพานเป็นสภาวะที่ดับสิ้นกิเลส เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง เหนือกฎแห่งไตรลักษณ์ พ้นไปทั้งดีทั้งชั่ว .... อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคนที่ปรารถนาต้องพยายามทำความดีและพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ
คำตอบ : เพราะความดีเป็น "มรรค" ไปสู่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตคือ "นิพพาน"
ความรู้ที่จำเป็นต้องมีสำหรับความเข้าใจนี้มีอย่างน้อย ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑) รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร ๒) รู้ว่าเราเกิดมาทำไม ๓) รู้วิธีที่จะเดินทางไปสู่เป้าหมายนั้น
พระพุทธเจ้าไม่ใช่เจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ความจริงของธรรมชาติ (อริยสัจ ๔) จึงมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นบนโลก (สังเกตว่าใช้คำว่า "อุบัติ" ไม่ใช่ "กำเนิด") ตามตำรา พระสมณโคดมหรือพระโคดมพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าพระองค์แรก แต่เคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วนับไม่ถ้วนและจะมีอีกจำนวนประมาณไม่ได้ในอนาคตกาล ในการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ทรงตรัสว่า โอวาทปาฏิโมกข์นั้นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย .... ประเด็นนี้น่าทึ่งสุด ๆ ครับ แสดงว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสอนในสิ่งเดียวกัน
ต่อไนี้เป็นโอวาทปาฏิโมกข์ มี ๓ คาถา (ที่มา : วิกีพีเดีย)
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ชาวพุทธทำพิธีรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณนี้ในวันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปี
พระพุทธเจ้าสอนอะไร
ขอนำเสนอแบบ ถาม-ตอบ ตนเอง ดังนี้ครับ
ถาม : พระพุทธเจ้าสอนอะไร ?
ตอบ : ทรงสอนวิธีการพ้นทุกข์
ถาม : ทุกข์คืออะไร ? พ้นทุกข์คืออะไร ?
ตอบ :ขันธ์ทั้ง ๕ นั่นแหละคือทุกข์ ทั้งรูปทั้งนาม/ทั้งกายทั้งใจ ทั้งหมดคือทุกข์ การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของรูป-นาม กาย-ใจคือทุกข์ การพ้นทุกข์คือ การพ้นจากการเกิดอีก
ถาม : ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ?
ตอบ : ทำให้เห็นแจ้งในอริยสัจ ๔ ประการ วิธีการคือ ทุกข์ให้รู้ สมุทัยให้ละ นิโรจทำให้แจ้ง มรรคทำให้เจริญ
ถาม : ชาวพุทธต้องปฏิบัติอย่างไร จึงถือว่าเป็นพุทธศาสนิกชน
ตอบ : ศึกษาและปฏิบัติสีลสิกขา จิตสิกขา และปัญญาสิกขา เมื่อปฏิบัติถูกต้องจะเกิดศีล สมาธิ และปัญญา ปัญญาแจ้งอริยสัจนี้เองที่ทำให้พ้นทุกข์
เราเกิดมาทำไม
ถาม : เราเกิดมาทำไม ?
ตอบ : แล้วแต่... เกิดมามีความสุขมั้ง ...เอาเข้าจริง ๆ ทุกคนก็ทำสิ่งต่าง ๆ เพราะต้องการความสุข
ถาม : ความสุขคืออะไร ?
ตอบ : สำหรับชาวพุทธ ความสุขที่แท้จริงคือการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง เรียกว่า "นิพพาน"
ถาม : สรุปเราเกิดมาเพื่อเข้าถึง "นิพพาน" ใช่ไหม ?
ตอบ : สำหรับชาวพุทธส่วนใหญ่..ใช่ อีกส่วนหนึ่งเป็น "โพธิสัตว์" ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า จะช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ก่อน
วิธีที่จะเดินไปสู่เป้าหมายนั้น
ถาม : ทำอย่างไรจะถึงซึ่งพระนิพพาน ?
ตอบ : เจริญมรรคมีองค์ ๘ วิธีการคือ
- เห็นถูกต้อง คือ เห็นตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ ที่สุดคือเห็นอริยสัจ
- คิดถูกต้อง คือ คิดทางที่ดี คิดละความพอใจในกาม ดำริละเว้นจากพยาบาลและการเบียดเบียน
- วาจาถูกต้อง คือ ละเว้นจากการพูดเท็จ คำหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ
- ปฏิบัติถูกต้อง คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และประพฤติผิดในกาม
- เลี้ยงชีพถูกต้อง คือ ทำมาหากิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
- เพียรชอบ คือ ปฏิบัติธรรม ละปาบ เจริญกุศล
- มีสติที่ถูกต้อง คือ มีสัมมาสติ คือสติปัฎฐาน คือมีสติรู้กายรู้ใจ
- มีสมาธิที่ถูกต้อง คือ มีสมาธิตั้งมั่น เป็นผู้รู้ผู้ดู
- ถือศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ)
- ทำสมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ)
- เจริญปัญญา (สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ)
ถาม : ถ้าไม่หวังจะถึงซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ล่ะ ?
ตอบ : ก็ควรจะเจริญมรรคไปเรื่อย ๆ หรือก็คือ ทำความดี นั่นเอง
ตามตำราและคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ นิพพานเป็นสภาวะที่ดับสิ้นกิเลส เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง เหนือกฎแห่งไตรลักษณ์ พ้นไปทั้งดีทั้งชั่ว .... อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคนที่ปรารถนาต้องพยายามทำความดีและพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น