รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๒-๒๕๕๙ (๑)
บันทึก(ที่คาดว่าจะเขียน) ๑๕ ตอน ต่อไปนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management :KM) เรื่อง "ภาวะผู้นำ" ด้วยการนำเอาเครื่องมือ KM มาใช้ในการสกัดองค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติที่ดี (BP) ทั้งจากการฟังวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่รับเชิญบรรยายพิเศษในหัวเรื่องต่าง ๆ จากการร่วมกันคิดพิจารณาแลกเปลี่ยนกันกับนิสิตในห้องเรียน และจากผลงานการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองของนิสิตที่ลงทะเบียนเรียน ประจำภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๙ เป้าหมายของบันทึก ๑๕ ตอนนี้ คือการจัดทำเอกสารประกอบการสอนรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ "ภาวะผู้นำ" ที่จำนำไปใช้ในการเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนถัดไป
จากการสืบค้นและเตรียมตัวก่อนการรับงานเป็นผู้ประสานงานรายวิชานี้ ผมเองทราบดีว่าตนเองไม่มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในทฤษฎีหลายประการ แต่มีความมั่นใจว่า สามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นิสิตได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ และคาดหวังว่าการเข้ามาทำงานประสานงานรายวิชานี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการรายวิชาสำนึกศึกษาทั่วไปเข้ากับการทำกิจกรรมนิสิตทั้งในระดับคณะ-วิทยาลัย (สโมสรนิสิต) และระดับมหาวิทยาลัย (องค์กรนิสิต)
แนวคิดการพัฒนารายวิชา
รายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ เป็นวิชาเลือกเพิ่มเติมสำหรับนิสิตที่สนใจและประสงค์จะเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมพัฒนานิสิตในมหาวิทยาลัยในระดับต่าง ๆ เช่น ทำงานสโมสรนิสิต ทำงานชมรมนิสิต หรือทำงานองค์กรนิสิต ฯลฯ อาจารย์ผู้สอนควรมี ๓ กลุ่มหลัก ได้แก่ ๑) ผู้นำโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ประสบผลสำเร็จในการทำงานผู้นำองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัท เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง ๒) อาจารย์โค้ช (Coach) คืออาจารย์ฝึก ทำหน้าที่ฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ดูแล กำกับ ติดตาม ตรวจงาน และสะท้อนวิพากษ์ผลงานของนิสิต และ ๓) อาจารย์ฟา (Facilitator) ทำหน้าที่อำนวยให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่สุด และประสานงานให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ คือทำหน้าที่ "จัดการห้องเรียนด้วย" (Class Management) อาจารย์โค้ชและอาจารย์ฟา ต้องทำหน้าที่ออกแบบและประเมินผลการศึกษาเพื่อให้มั่นใจว่า นิสิตดจะมีพัฒนาการด้าน "ภาวะผู้นำ" และด้านทักษะที่จำเป็นที่กำหนดด้วย ... หากแนวคิดนี้ดำเนินไปโดยไร้อุปสรรค นิสิตที่เรียนวิชานี้ จะเป็นแกนนำสำคัญของนิสิตหรือเป็นบัณฑิตที่สามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคมได้ตรงตามอัตลักษณ์นิสิตของมหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์และรายละเอียดของรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ
รายละเอียดของรายวิชาฯ หรือ มคอ.๓ สำหรับภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๙ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ สาระสำคัญที่ควรนำมาแสดงคือ จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และคำอธิบายรายวิชา ดังนี้
สัปดาห์ที่ ๑ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
เป็นการเริ่มต้นการออกแบบการเรียนรู้ที่ต่างไปจากแนวปฏิบัติเดิมที่อาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดและออกแบบทุกขั้นตอนการเรียนรู้ หลังจากละลายพฤติกรรมด้วยกิจกรรม และนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรม "IF I WERE" (อ่านได้ที่นี่) ครูฟาได้ตั้งคำถาม ๕ คำถาม ให้นิสิตทุกคนเขียนตอบลงในกระดาษ (ใช้แล้ว/หน้าเดียว) ที่ละข้อคำถาม ดังนี้
อย่างไรก็ตาม แผนการเรียนการสอนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ต้องยึดเอาเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
ส่วนเรื่องการประเมินผลการศึกษานั้น ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดใน มคอ.๓ ที่ได้แชร์ลิงค์ไว้ หากมีข้อเสนอแนะอย่างไร หรือสงสัยอย่างไร นิสิตสามารถซักถามอาจารย์ได้ทางกลุ่มเฟสบุ๊คที่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้การสื่อสารการเรียนรู้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
จากการสืบค้นและเตรียมตัวก่อนการรับงานเป็นผู้ประสานงานรายวิชานี้ ผมเองทราบดีว่าตนเองไม่มีคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในทฤษฎีหลายประการ แต่มีความมั่นใจว่า สามารถออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นิสิตได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้ และคาดหวังว่าการเข้ามาทำงานประสานงานรายวิชานี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการรายวิชาสำนึกศึกษาทั่วไปเข้ากับการทำกิจกรรมนิสิตทั้งในระดับคณะ-วิทยาลัย (สโมสรนิสิต) และระดับมหาวิทยาลัย (องค์กรนิสิต)
แนวคิดการพัฒนารายวิชา
รายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ เป็นวิชาเลือกเพิ่มเติมสำหรับนิสิตที่สนใจและประสงค์จะเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมพัฒนานิสิตในมหาวิทยาลัยในระดับต่าง ๆ เช่น ทำงานสโมสรนิสิต ทำงานชมรมนิสิต หรือทำงานองค์กรนิสิต ฯลฯ อาจารย์ผู้สอนควรมี ๓ กลุ่มหลัก ได้แก่ ๑) ผู้นำโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ประสบผลสำเร็จในการทำงานผู้นำองค์กร หน่วยงาน หรือบริษัท เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง ๒) อาจารย์โค้ช (Coach) คืออาจารย์ฝึก ทำหน้าที่ฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ดูแล กำกับ ติดตาม ตรวจงาน และสะท้อนวิพากษ์ผลงานของนิสิต และ ๓) อาจารย์ฟา (Facilitator) ทำหน้าที่อำนวยให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพที่สุด และประสานงานให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ คือทำหน้าที่ "จัดการห้องเรียนด้วย" (Class Management) อาจารย์โค้ชและอาจารย์ฟา ต้องทำหน้าที่ออกแบบและประเมินผลการศึกษาเพื่อให้มั่นใจว่า นิสิตดจะมีพัฒนาการด้าน "ภาวะผู้นำ" และด้านทักษะที่จำเป็นที่กำหนดด้วย ... หากแนวคิดนี้ดำเนินไปโดยไร้อุปสรรค นิสิตที่เรียนวิชานี้ จะเป็นแกนนำสำคัญของนิสิตหรือเป็นบัณฑิตที่สามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคมได้ตรงตามอัตลักษณ์นิสิตของมหาวิทยาลัย
วัตถุประสงค์และรายละเอียดของรายวิชา ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ
รายละเอียดของรายวิชาฯ หรือ มคอ.๓ สำหรับภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๙ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ สาระสำคัญที่ควรนำมาแสดงคือ จุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ และคำอธิบายรายวิชา ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำของนิสิต ให้มีลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.เพื่อพัฒนาทักษะเรียนรู้ของนิสิต จากการทำโครงการ การวางแผน การเขียนข้อเสนอโครงการ การนำเสนอ และประเมินผลโครงการ 3.เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์และจิตวิญญาณการเป็นผู้นำชุมชนและสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน |
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
1.รายวิชานี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบและกลไก ที่สำนักศึกษาทั่วไป พยายามจะสร้างผู้นำนิสิตให้เป็นบัณฑิตที่มีภาวะความเป็นผู้นำ มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน มีอุดมการณ์ มีจิตวิญญาณของการเป็นที่พึ่งของชุมชนและสังคม 2.เพื่อเปิดพื้นที่ให้นิสิตได้พบปะแลกเปลี่ยนกับรองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิต หรือผู้นำของมหาวิทยาลัย หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ความสำเร็จในการเป็นผู้นำ อันจะเป็นการยกระดับความรู้ความเข้าใจของนิสิตกับผู้นำจากภายในโดยตรง |
3. คำอธิบายรายวิชา
การพัฒนาบุคลิกภาพ ความเป็นผู้นำ ลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ การเตรียมความพร้อมในการทำงานทักษะในการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้จากการทำโครงการ การวางแผน การเขียนข้อเสนอโครงการ การนำเสนอ และประเมินผลโครงการ Personality development, leadership, career preparation, team-working skill, project-based learning, planning, project proposal writing, presentation, and project evaluation |
สัปดาห์ที่ ๑ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
เป็นการเริ่มต้นการออกแบบการเรียนรู้ที่ต่างไปจากแนวปฏิบัติเดิมที่อาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้กำหนดและออกแบบทุกขั้นตอนการเรียนรู้ หลังจากละลายพฤติกรรมด้วยกิจกรรม และนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรม "IF I WERE" (อ่านได้ที่นี่) ครูฟาได้ตั้งคำถาม ๕ คำถาม ให้นิสิตทุกคนเขียนตอบลงในกระดาษ (ใช้แล้ว/หน้าเดียว) ที่ละข้อคำถาม ดังนี้
- คุณเลือกเป็นใครในกิจกรรม "IF I WERE" และคุณจะทำอะไรเมื่อเป็นคนนั้นจริง ๆ
- คุณอยากให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนอะไร อย่างไร ในการเรียนรายวิชานี้ และควรจะมีสมาชิกกลุ่ม ๆ ละกี่คน ถ้ามีการแบ่งกลุ่มทำงาน
- หากจะเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้นำมาบรรยายพิเศษ เกี่ยวกับ "ภาวะผู้นำ" คุณอยากให้เชิญใคร
- คุณต้องการทักษะอะไรมากที่สุดจากการเรียนการสอนรายวิชานี้
- คุณต้องการผลการศึกษาอะไรในรายวิชานี้
- นิสิตส่วนใหญ่เลือกสมมติเป็นผู้สบายหรือมีฐานะสูงกว่าตนเอง คือ เลือกเป็นผู้มีเงินร้อยล้าน เลือกเป็นเจ้าของมหาอาณาจักโรงแรม และเลือกเป็นเจ้าของที่ดินในย่านธุรกิจ มีเพียงส่วนน้อยมาก ที่เลือกสมมติเป็นผู้ลำบากหรือมีฐานะต่ำกว่าตนเอง คือ เป็นเด็กที่เพิ่งรู้ข่าวแอฟฟิกาขาดน้ำ เป็นคนที่อยู่ในสังคมห้ามเรียนหนังสือ
- ในกลุ่มที่เลือกสมมติเป็นผู้มีฐานะกว่าตนเอง นิสิตส่วนใหญ่คิดถึงตัวเองก่อนที่จะคิดถึงส่วนรวม สังเกตจากคำตอบที่ ต้องการจะทำสิ่งเหล่านั้นเพื่อความสุขของตนเอง มีเพียงส่วนน้อยมากที่คิดถึงการแบ่งปันหรือนำไปช่วยเหลือผู้อื่นเป็นอันดับแรก
- นิสิตส่วนใหญ่อยากให้มีกิจกรรมการเรียนรู้จาก "หนัง" หรือ "เพลง" (ดูหนัง ฟังเพลง) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขียนโน๊ตถึงเพื่อน และกิจกรรมสันทนาการ เช่น ถ้ำมังกร วาดรูป เป็นต้น และจิตอาสานอกสถานที่
- จำนวนนิสิตต่อกลุ่มเรียนส่วนใหญ่เสนอมาช่วง ๕-๑๕ คนต่อกลุ่ม และเป็นสาขาวิชาเดียวกัน
- วิทยากรที่อยากเชิญให้มาบรรยาย ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ อาจารย์ภีม (คณะแพทย์ศาสตร์) พระอาจารย์มหาสมปอง ตาลปุตโต คณบดีคณะแพทย์ คณบดีคณะสัตวแพทย์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฯลฯ
- ทักษะที่ต้องการมากที่สุดจากรายวิชานี้ ได้แก่ ทักษะการพูด ทักษะการเขียนหนังสือราชการ ทักษะเขียนโครงการ ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- เกือบทุกคนต้องการผลการศึกษา A
ครั้งที่
|
หัวข้อ/รายละเอียด
|
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
|
กิจกรรมการเรียนรู้/วิธีสอน
|
ผู้สอน
|
1
|
BAR
(Before Action Review) กำหนดเป้าหมายในการเรียน
และวางแผนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
(10
ม.ค. 2560)
|
1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
2. ชี้แจงจุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ของรายวิชา 3. ร่วมวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม |
1. ละลายพฤติกรรม ด้วยกิจกรรมสันทนาการ
2. สร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) สำหรับผู้นำ และกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม "IF I WERE" 3. สำรวจความคาดหวังและความต้องการการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้วยกิจกรรม 5 คำถาม |
อ.ดร.ฤทธิไกร
ไชยงาม
|
2
|
เครื่องมือจำเป็นในการเรียนรู้
(17 ม.ค. 2560)
|
1.
"ฟัง" ได้
2. "จำประเด็น" ได้ 3. "ถอดบทเรียน" ตนเอง ได้ |
1. ทำความสงบ ผ่อนคลายก่อนเรียน เจริญสติอย่างถูกต้อง
2. ชมคลิป "ครูใหญ่" 3. วิเคราะห์ตีความ ภาวะผู้นำของ "ครูใหญ่" 4. สรุป สะท้อน และถอดบทเรียนตนเอง |
อ.ดร.ฤทธิไกร
ไชยงาม
|
3
|
“ภาวการณ์เป็นผู้นำ”
(24 ม.ค. 2560) |
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำ
|
1. ฟังบรรยายพิเศษจาก คณบดีคณะศึกษาศาสตร์
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
ผศ.ดร.พชรวิทย์
จันทร์ศิริสิร
|
4
|
ภาวะการเป็นผู้นำ
(วิเคราะห์ตนเอง)
(31
ม.ค. 2560)
|
1. รู้จักภาวะผู้นำในตนเอง
2. มีแผนพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง |
1. สรุปการถอดบทเรียน ทฤษฎีภาวะผู้นำ จากการฟังบรรยาย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. กิจกรรม "สามเหลี่ยมตัวฉัน" วิเคราะห์ภาวะผู้นำในตนเอง 3. ทำแผนพัฒนาภาวะผู้นำในตนเอง |
อ.ดร.ฤทธิไกร
ไชยงาม
|
5
|
“กิจกรรมพัฒนานิสิต”
(7 ก.พ. 260)
|
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนานิสิต
ได้แก่ เป้าประสงค์ แนวปฏิบัติ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อบังคับ
ในการทำกิจกรรมพัฒนานิสิต
|
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
อ.ดร.มลฤดี
เชาวรัตน์
|
6
|
ระดมปัญหา
วิเคราะห์ปัญหา กำหนดหัวข้อโครงการ (กิจกรรมพัฒนาภาวะผู้นำ)
(14 ก.พ. 2560)
|
1. พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
2. พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม |
1. กิจกรรม “ต้นไม้ปัญหา”
2. นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้หน้าชั้นเรียน |
อ.ดร.ฤทธิไกร
ไชยงาม
|
7
|
การเขียนโครงการ
และการประเมินโครงการ(ทฤษฎี)
(21
ก.พ. 2560)
|
มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการ
และการประเมินโครงการ
|
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
ผศ.ดร.จินดาพร
จำรัสเลิศลักษณ์
|
8
|
วิพากษ์ตัวอย่างโครงการ
(28 ก.พ. 2560)
|
มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนโครงการ
และการประเมินโครงการ
|
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
อ.ดร.ฤทธิไกร
ไชยงาม
|
9
|
ทดสอบกลางภาคเรียน
(11
มี.ค. 2560)
16:00 น. – 17:00 น.
|
ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ
การเขียนโครงการ การบริหารโครงการ และการประเมินโครงการ
|
ทดสอบกลางภาคเรียน
|
สำนักศึกษาทั่วไป
|
10
|
“การเรียนรู้ในศตวรรษที่
21”
(21 มี.ค. 2560)
|
มีความรู้และเข้าใจในการวิธีการเรียนรู้และฝึกฝนตนเองสู่การเป็นผู้นำในศตวรรษที่
๒๑
|
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
ผศ.ดร.ฉันทนา
เวชโอสถศักดา
|
11
|
การเขียนหนังสือราชการ
(28 มี.ค. 2560)
|
สามารถอธิบายวิธีการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้องได้
|
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (อ.ดร.โสภี อุ่นทะยา)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
อาจารย์
ดร.โสภี อุ่นทะยา (กำลังประสาน)
|
12
|
การพูดในที่สาธารณะ
(4 เมษายน 2560) |
สามารถบอกหลักการและวิธีการของการพูดในที่สาธารณะที่ดีได้
|
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (รศ.วีณา วีสะเพ็ญ)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
รศ.วีณา
วีสะเพ็ญ (กำลังประสาน)
|
13
|
ระเบียบราชการเกี่ยวกับการเงินและพัสดุ
(11 เม.ย. 2560)
|
สามารถอธิบายวิธีการและบอกระเบียบ
ขั้นตอน ของการจัดการเกี่ยวกับการเงินและพัสดุได้
|
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (เจ้าหน้าที่การเงิน ของมหาวิทยาลัย)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญการเงินและพัสดุ
|
14
|
เรียนรู้จากผู้นำ
(นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม)
(18 เม.ย. 2560)
|
1. สามารถบอกปัจจัยของความสำเร็จของวิทยาการซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับในสังคม
2. สามารถอธิบายหลักการและวิธีการในการทำงานของวิทยากร ซึ่งเป็นผุ้นำที่ได้รับการยอมรับได้ |
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ )
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
นพ.กิตติศักดิ์
คณาสวัสดิ์
และอาจารย์ประจำกลุ่มเรียน
|
15
|
เรียนรู้จากผู้นำ
(ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม)
(25 เม.ย. 2560)
|
1. สามารถบอกปัจจัยของความสำเร็จของวิทยาการซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับในสังคม
2. สามารถอธิบายหลักการและวิธีการในการทำงานของวิทยากร ซึ่งเป็นผุ้นำที่ได้รับการยอมรับได้ |
1. ฟังบรรยายจากวิทยากร (นายสเน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม)
2. ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากร |
นายสเน่ห์
นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน
|
16
|
นำเสนอผลงาน
(กำหนดวันเวลา สถานที่ภายหลัง)
|
นิสิตได้ฝึกทักษะการนำเสนอ
กล้าคิด กล้าแสดงออก
|
1. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานการทำโครงการ
2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนบทเรียน |
อาจารย์ประจำกลุ่มเรียน
|
อย่างไรก็ตาม แผนการเรียนการสอนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ต้องยึดเอาเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
ส่วนเรื่องการประเมินผลการศึกษานั้น ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดใน มคอ.๓ ที่ได้แชร์ลิงค์ไว้ หากมีข้อเสนอแนะอย่างไร หรือสงสัยอย่างไร นิสิตสามารถซักถามอาจารย์ได้ทางกลุ่มเฟสบุ๊คที่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้การสื่อสารการเรียนรู้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น