ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_31 : ร่วมด้วยช่วย ดร.นุชรัตน์ (๕) วิพากษ์การเลือกปัญหาและวิธีแก้ไข
บันทึกที่ (๔) คลิกที่นี่ครับ
บันทึกนี้ ผมเอาภาพชิ้นงานของคุณครูจากบันทึกที่แล้วมาวิพากษ์ และเสนอคำแนะนำต่อเพื่อนครู เมื่อนำไปใช้จริง
ผมขอเสนอวิธีตีความโดยใช้เกณฑ์เป็นหลักในการคิด ๒ ประการ คือ ๑) พิจารณาความท้าทาย เป็นประโยชน์ส่วนรวม และความยั่งยืน ๒) พิจารณาความสร้างสรรค์ของวิธีแก้ไขปัญหา
๑) เลือกปัญหาที่ท้าทาย ดีต่อคนส่วนใหญ่ และเป็นการแก้ไขที่ยั่งยืน
หลังจากที่ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ จนได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ ครูควรจะออกแบบให้นักเรียนได้สำรวจปัญหามากกว่า ๑ รอบ โดยจัดให้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดขึ้นตามลำดับและเป็นระบบมากขึ้น แล้วให้ ๑) ระดมปัญหาที่พบเป็นข้อ ๆ โดยให้มีหมายเลขกำกับ ต่อไปใหเ ๒) ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาและระดมสมองถึงวิธีการแก้ไขปัญหาไปทีละข้อ ๆ จากนั้นให้วาดสามห่วงร้อยกันดังภาพ ห่วงแรกให้ดูว่า
๒) พิจารณาวิธีการแก้ไขว่าสร้างสรรค์หรือไม่ หรือใช้วิธีเดิม ๆ ที่มีใคร ๆ ทำมาแล้ว
ให้พิจารณาเทียบเคียงกับระดับความคิดสร้างสร้างสรรค์ที่เสนอโดย ศ.กิลฟอร์ด ดังภาพ
อย่างน้อยที่สุดควรเป็นการแก้ไขระดับ ๒ ต่อยอด จะให้ดี ต้องหนุนให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม ระดับ ๔ ไปเลยครับ ...
ลองวิพากษ์การเลือกปัญหา
ต่อไปลองวิพากษ์การเลือกปัญหาของคุณครูในการครั้งนี้ครับ
บันทึกนี้ ผมเอาภาพชิ้นงานของคุณครูจากบันทึกที่แล้วมาวิพากษ์ และเสนอคำแนะนำต่อเพื่อนครู เมื่อนำไปใช้จริง
ผมขอเสนอวิธีตีความโดยใช้เกณฑ์เป็นหลักในการคิด ๒ ประการ คือ ๑) พิจารณาความท้าทาย เป็นประโยชน์ส่วนรวม และความยั่งยืน ๒) พิจารณาความสร้างสรรค์ของวิธีแก้ไขปัญหา
๑) เลือกปัญหาที่ท้าทาย ดีต่อคนส่วนใหญ่ และเป็นการแก้ไขที่ยั่งยืน
หลังจากที่ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ จนได้ข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ ครูควรจะออกแบบให้นักเรียนได้สำรวจปัญหามากกว่า ๑ รอบ โดยจัดให้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดขึ้นตามลำดับและเป็นระบบมากขึ้น แล้วให้ ๑) ระดมปัญหาที่พบเป็นข้อ ๆ โดยให้มีหมายเลขกำกับ ต่อไปใหเ ๒) ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาและระดมสมองถึงวิธีการแก้ไขปัญหาไปทีละข้อ ๆ จากนั้นให้วาดสามห่วงร้อยกันดังภาพ ห่วงแรกให้ดูว่า
- สามารถทำได้จริงหรือไม่ มีความเป็นไปได้หรือไม่ หากแก้ไขตามวิธีที่ได้จากการระดมสมองกัน มีความพอประมาณกับศักยภาพ เวลา และทรัยากรที่มีหรือไม่ (ห่วงความพอประมาณ และ เงื่อนไขความรู้)
- ดีสำหรับคนส่วนใหญ่ในชุมชนหรือไม่ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือไม่ เป็นที่ต้องการของชุมชนหรือไม่ (ห่วงความมีเหตุผล และ เงื่อนไขคุณธรรม)
- ปัญหานั้นและการแก้ปัญหาด้วยวิธีนั้น จะเกิดผลอย่างยั่งยืนพอ ทำให้เกิดความสมดุลมากขึ้น หรือไม่? ปลอดภัยหรือไม่ มีผลเสียหรือผลกระทบใด ๆ หรือไม่ ถ้ายั่งยืนให้อยู่ในพื้นที่ห่วงนี้ (ห่วงภูมิคุ้มกันที่ดี)
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาที่ผมสมมติขึ้นเพื่อประกอบการอธิบาย นักเรียนกลุ่มนี้เลือกปัญหา เรื่องหนี้สิน โดยกำหนดว่า จะขับเคลื่อนให้เพื่อน ๆ ในโรเรียน น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตนเอง โดยเริ่มจากการลดรายจ่ายของตนเอง ช่วยพอแม่ทำบัญชีครัวเรือนทุกวัน และช่วยพ่อแม่แบ่งเบาภาระเท่าที่ตนเองทำได้
๒) พิจารณาวิธีการแก้ไขว่าสร้างสรรค์หรือไม่ หรือใช้วิธีเดิม ๆ ที่มีใคร ๆ ทำมาแล้ว
ให้พิจารณาเทียบเคียงกับระดับความคิดสร้างสร้างสรรค์ที่เสนอโดย ศ.กิลฟอร์ด ดังภาพ
อย่างน้อยที่สุดควรเป็นการแก้ไขระดับ ๒ ต่อยอด จะให้ดี ต้องหนุนให้นักเรียนสร้างนวัตกรรม ระดับ ๔ ไปเลยครับ ...
ลองวิพากษ์การเลือกปัญหา
ต่อไปลองวิพากษ์การเลือกปัญหาของคุณครูในการครั้งนี้ครับ
- กลุ่มนี้เลือกปัญหา ผลผลิตทางการเกษตรน้อย เหตุเพราะน้ำน้อย ศัตรูพืช ต้นเป็นโรค วิธีการแก้ไขคือ ต้องกำจัดศัตรูพืชและบำรุงดิน ด้วยน้ำหมักชีวภาพ ปลูกในท่อซีเมนต์ ใช้ระบบน้ำหยด และเทคนิคการตัดกิ่งให้งอกใหม่
- ปัญหานี้และวิธีแก้ไขนี้ เหมาะสำหรับการเป็นงานการแก้ปัญหาในรายวิชาการงานอาชีพฯ ครับ แต่ยังไม่เหมาะสมให้เป็นปัญหาตามแนวคิด 3PBL นัก เพราะประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ชัดเจนทันที ต้องรอไปขยายผล ซึ่งทำสำเร็จได้ยากสำหรับนักเรียน และที่สำคัญ มีการเผยแพร่วิธีเหล่านี้อยู่ทั่วไป จึงน่าจะจัดอยู่ในระดับ ๑.๐ ลอกเลียนหรือเลียนแบบ
- กลุ่มนี้เลือกปัญหาการขาดแคลนใบตองสำหรับใช้ห่อปลาส้ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้าน
- นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการเลือกปัญหาที่มองไปยังสาเหตุของปัญหา นี่คือสาเหตุของปัญหารายได้น้อย หรือนี่อาจเป็นปัจจัยที่กลุ่มนี้อาจมองหาวิธีที่จะพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำปลาส้ม ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละกลุ่ม ... กลุ่มนี้ไม่มองแบบผิวเผิน แต่ได้ขอมูลจากการสัมภาษณ์ และฉลาดเลือกหยิบปัญหาซึ่งดูเหมือนจะเล็กน้อย แต่ผมคิดว่า นี่คือปัญหาที่ดีมาก ท้าทาย ถ้าทำได้จะยั่งยืน และจะเป็นประโยชน์ส่วนใหญ่ให้ชุมชน
- แต่การแก้ไขด้วยการรณรงค์ ไม่โอเคครับ เป็นเพียงการลอกเลียน (ระดับ ๑.๐๐) เว้นแต่จะทำได้อย่างต่อเนื่องและน่าสนใจ แต่การตั้งกลุ่มผู้เพาะปลูกต้นกล้วย ใหชุมชนมีส่วนร่วม เพิ่มจำนวนต้นกล้วย เหล่านี้น่าสนใจ ควรเชียร์ให้นักเรียนไปศึกษาหาความเป็นไปได้
- ปัญหาของกลุ่มนี้คือ ถนนในชุมชนสกปรก เป็นปัญหาเชิงประจักษ์ที่ได้จากการสำรวจด้วยการสังเกต สาเหตุคือมูลสัตว์ที่ขับถ่ายไม่เป็นที่
- แม้จะมองปัญหาง่าย ๆ แต่วิธีการแก้ปัญหาดีมาก ผมคิดว่านักเรียนทำได้ ท้าทาย หากทำสำเร็จ จะเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนมาเรียนรู้และทำตาม จึงคิดว่า วิธีนี้เป็นโครงงานแบบ 3PBL ได้ ดังเช่นกลุ่มนี้ที่คิดจะทำ "ธนาคารมูลสัตว์" ตอนฝาก ๆ เป็นกิโลกรัม เมื่อขายได้กลายเป็นเงินต่อกิโลกรัมที่เคยฝากไว้เป็นต้น หรือหากนำมูลสัตว์ไปลงทุนโดยการทำก๊าซ ดอกเบี้ยที่ได้อาจจ่ายเป็นก๊าซหุงต้มก็ได้
- แต่การปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนรับผิดชอบเรื่องมูลสัตว์ เป็นเรื่องนามธรรมที่ทำได้ยาก ... ผมเล่าเรื่อง "พ่อใหญ่ดาให้ครูฟัง (ตอนนั้นนึกชื่อไม่ออกเลย จึงบอกว่ามีตาคนหนึ่ง) พ่อใหญ่ดาเป็นคุณตาแก่ ๆ ธรรมดา ๆ คนหนึ่งในหมู่บ้าน ในสมัยที่ใคร ๆ ก็เลี้ยงวัวควายในหมู่บ้าน ที่ไม่ธรรมดา คือคุณตาดา จะไม่ยอมให้ใครเอาขี้วัวควายของแก้ได้เลย ขี้วัวตกถึงพื้นไม่ทันถึงนาที แกจะ "กอบ" (เป็นภาษาอีสาน แปลว่า ใช้มือกวาดและตัก) ใส่ใน "ถุงปุ๋ย" ทิ้งไว้ และนำรถเข็นมาเก็บไปใส่ใน "คอกปุ๋ย" ๑ ปีผ่านไป กลายเป็นตาดา มีปุ๋ยไปใส่นามาก มากจนชาวบ้าน "งึด" (ทึ่ง) ตานาทำแบบนี้อยู่เพียง ๒ ปี ชาวบ้านเริ่มทำตามกันใหญ่ ตั้งแต่ตอนนั้น ก็ไม่มีมูลควายมูลวัวสกปรกบนถนนอีกเลยครับ
- กลุ่มนี้เลือกปัญหาถนนในหมู่บ้านไม่สะอาด เป็นปัญหาที่ยากจะพัฒนาให้ยั่งยืน ดังนั้น ถ้าจะอนุมัติให้นักเรียนทำจริง ๆ จะต้อง มีวิธีที่เจ๋งจริง ๆ
- วิธีที่จะสร้างถ่ายจากมูลสัตว์ของกลุ่มนี้ดูเหมือนจะดี แต่น่าจะทำได้อย่างคุ้มค่าหรือดีกว่าถ่ายจากไม้ได้ยาก
เป็นต้นครับ
ผม AAR ว่า การอบรมครูคราวนี้ สำเร็จมาก ๆ ในตอนท้าย ที่มีการสร้างข้อตกลงร่วมกัน ถึงขั้นกำหนดวันเวลาที่จะจัดงานจัด "ตลาดนัดความรู้" รายกลุ่มโรงเรียนในอำเภอเดียวกัน หากมีอำเภอใดจัดงาน อย่าลืมชวนนะครับ ถ้าไม่ติดอะไร จะไปขอชื่นชมด้วยครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น