CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_21: Clearing House มาแล้ว ปี ๖๑ เด็กดีเตรียมตัว
วัน ๑๘-๒๐ พฤษภาคม สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดค่ายอาสาพัฒนาตนกล้าพันธุ์ดี ครั้งที่ ๑ โดยรุ่นพี่ในโครงการเด็กดีมีที่เรียน ซึ่งตอนนี้มีศูนย์รวมเป็นชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี ก่อนจะเดินทางไปร่วมค่าย ผมได้รับจดหมายด่วนให้ไปร่วมประชุม เรื่อง "แนวทางการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" หลังจากนั่งฟังการนำเสนอของ ผอ.กองบริการการศึกษา ผอ.อ้อย (ท่านดูดีจริง ๆ) ผมรู้สึกว่า น่าจะนำเอาสาระในการประชุม มาแบ่งปันนักเรียนที่กำลังจะมาร่วมค่ายฯ เกือบร้อยคนที่รออยู่ที่ดงใหญ่ พร้อม ๆ กับการอธิบายถึงกระบวนการรับนิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียนประจำปี ๒๕๖๑ ... นี่คือแรงบันดาลใจให้เขียนบันทึกนี้ครับ
ปีการศึกษา ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่ดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน ๑๕๗ แห่ง จะคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้วยระบบ เอนทรานซ์ ๔.๐ (Entrance 4.0) สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนมาเป็นเอนทรานซ์แบบใหม่ เพราะแบบเดิมที่ใช้โควตารับตรงและแอดมิทชั่น (Admission) มีปัญหาการ "กั๊กที่นั่ง" นักเรียนบางคนไปสมัครไว้ ๕ มหาวิทยาลัย กั๊กไว้ ๕ ที่นั่ง สุดท้ายเลือกมหาวิทยาลัยได้ อีก ๔ มหาวิทยาลัยเลยกลายเป็น "เก้าอี้ว่าง" ทำให้แผนการรับของมหาวิทยาลัยไม่เป็นไปตามแผน มหาวิทยาลัยแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ บางที่มีข้อบังคับให้เสียเงินลงทะเบียนพร้อมรายงานตัวก่อนเวลาที่มหาวิทยาลัยอื่นจะประกาศผล คนที่ลำบากที่สุดคือพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง เพราะนอกจากจะเสียเงินพาลูกวิ่งรอกสอบหลายสนามแล้ว เพื่ออนาคตลูกหลายคนยอมจ่ายเงินรายงานตัวเอาชัวร์กับมหาวิทยาลัยสักแห่งก่อน นอกจากนี้ระบบเดิมที่นักศึกษาส่วนใหญ่ได้จากระบบโควต้ารับตรงซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจัดวันเวลาสอบไม่พร้อมกัน ข้อสอบก็ของเฉพาะมหาวิทยาลัย ทำให้เกิด "ฤดูสอบ" ไม่เป็นอันเรียน โรงเรียนกลายเป็น "โรงติว" นักเรียนที่ได้ที่เรียนแล้วก็ไม่สนใจเรียนชั้น ม.๖ เทอมสอง ซึ่งเนื้อหาหลายอันเป็นพื้นฐานสำคัญจำเป็นต้องมี (เว็บไซต์ Eduzone ทำคลิปเล่าเหตุผลและวิวัฒนาการของเอนสะท้านได้ดีมากครับ คลิกที่นี่)
ปีการศึกษา ๒๕๖๑ นี้ ทุกมหาวิทยาลัยใช้ระบบการรับนักศึกษาแบบใหม่ กลับไปใช้ระบบเอนทรานซ์ แต่ปรับใหม่และใส่ชื่อเอนทรานซ์ ๔.๐ (จะให้รับกับ "ประเทศไทย ๔.๐" ไหม?) ยกเลิกการสอบโควตารับตรงเองของทุกมหาวิทยาลัย แล้วมาใช้ข้อสอบกลางร่วมกัน สอบเพียงครั้งเดียว และให้ความสำคัญกับผลการสอบมาตรฐานกลางของสำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ได้แก่ O-NET, GAT, PAT, ่และ ทดสอบ ๙ วิชาสามัญ ตามความจำเพาะของแต่ละสาขา อย่างไรก็ดี ระบบนี้ยังเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาเองได้ทั้งแบบไม่มีสอบข้อเขียน โดยพิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) และรับตรงอิสระได้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่า ต้องไม่มีการทดสอบ ยกเว้นแต่บางสาขาที่มีความจำเพาะจริง ๆ ... รายละเอียดสืบค้นกูเกิลได้ง่ายมาก คลิกข่าวของช่องวันอธิบายได้ชัดมาก (คลิกที่นี่)
สิ่งที่ใหม่มาก ๆ อีกประการสำคัญในระบบเอนทรานซ์ ๔.๐ คือการนำการ Clearing House มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ นักเรียนจะต้องทำการยืนยันสิทธิ์การเข้าเรียนภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด หากไม่ยืนยัน จะถูกตัดสิทธิ์การเข้าเรียนทันที มหาวิทยาลัยก็จะทราบทันทีว่าตนเองมีที่ว่างสำหรับการรับสมัครต่อไปจำนวนเท่าใด
ต่อไปนี้เป็นปฏิทินการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นมติของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในวันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา (เอกสารต้นฉบับมี ๔ หน้า ดูได้ที่นี่ ๑ ๒ ๓ ๔) ผมเอามาวาดใหม่ ให้ดูง่ายขึ้น (ไหม? ใครที่ไม่ส้นทัดวิธีนี้ อีกวิธีหนึ่งที่ดีมากในการนำเสนออยู่ที่นี่ครับ) ดังรูป
การรับนิสิตใหม่ปี ๒๕๖๑ มีทั้งหมด ๕ รอบ ดังนี้
ปีการศึกษา ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยของรัฐ ที่ดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน ๑๕๗ แห่ง จะคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีด้วยระบบ เอนทรานซ์ ๔.๐ (Entrance 4.0) สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนมาเป็นเอนทรานซ์แบบใหม่ เพราะแบบเดิมที่ใช้โควตารับตรงและแอดมิทชั่น (Admission) มีปัญหาการ "กั๊กที่นั่ง" นักเรียนบางคนไปสมัครไว้ ๕ มหาวิทยาลัย กั๊กไว้ ๕ ที่นั่ง สุดท้ายเลือกมหาวิทยาลัยได้ อีก ๔ มหาวิทยาลัยเลยกลายเป็น "เก้าอี้ว่าง" ทำให้แผนการรับของมหาวิทยาลัยไม่เป็นไปตามแผน มหาวิทยาลัยแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ บางที่มีข้อบังคับให้เสียเงินลงทะเบียนพร้อมรายงานตัวก่อนเวลาที่มหาวิทยาลัยอื่นจะประกาศผล คนที่ลำบากที่สุดคือพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง เพราะนอกจากจะเสียเงินพาลูกวิ่งรอกสอบหลายสนามแล้ว เพื่ออนาคตลูกหลายคนยอมจ่ายเงินรายงานตัวเอาชัวร์กับมหาวิทยาลัยสักแห่งก่อน นอกจากนี้ระบบเดิมที่นักศึกษาส่วนใหญ่ได้จากระบบโควต้ารับตรงซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจัดวันเวลาสอบไม่พร้อมกัน ข้อสอบก็ของเฉพาะมหาวิทยาลัย ทำให้เกิด "ฤดูสอบ" ไม่เป็นอันเรียน โรงเรียนกลายเป็น "โรงติว" นักเรียนที่ได้ที่เรียนแล้วก็ไม่สนใจเรียนชั้น ม.๖ เทอมสอง ซึ่งเนื้อหาหลายอันเป็นพื้นฐานสำคัญจำเป็นต้องมี (เว็บไซต์ Eduzone ทำคลิปเล่าเหตุผลและวิวัฒนาการของเอนสะท้านได้ดีมากครับ คลิกที่นี่)
ปีการศึกษา ๒๕๖๑ นี้ ทุกมหาวิทยาลัยใช้ระบบการรับนักศึกษาแบบใหม่ กลับไปใช้ระบบเอนทรานซ์ แต่ปรับใหม่และใส่ชื่อเอนทรานซ์ ๔.๐ (จะให้รับกับ "ประเทศไทย ๔.๐" ไหม?) ยกเลิกการสอบโควตารับตรงเองของทุกมหาวิทยาลัย แล้วมาใช้ข้อสอบกลางร่วมกัน สอบเพียงครั้งเดียว และให้ความสำคัญกับผลการสอบมาตรฐานกลางของสำนักทดสอบทางการศึกษา (สทศ.) ได้แก่ O-NET, GAT, PAT, ่และ ทดสอบ ๙ วิชาสามัญ ตามความจำเพาะของแต่ละสาขา อย่างไรก็ดี ระบบนี้ยังเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาเองได้ทั้งแบบไม่มีสอบข้อเขียน โดยพิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) และรับตรงอิสระได้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่า ต้องไม่มีการทดสอบ ยกเว้นแต่บางสาขาที่มีความจำเพาะจริง ๆ ... รายละเอียดสืบค้นกูเกิลได้ง่ายมาก คลิกข่าวของช่องวันอธิบายได้ชัดมาก (คลิกที่นี่)
สิ่งที่ใหม่มาก ๆ อีกประการสำคัญในระบบเอนทรานซ์ ๔.๐ คือการนำการ Clearing House มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ นักเรียนจะต้องทำการยืนยันสิทธิ์การเข้าเรียนภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด หากไม่ยืนยัน จะถูกตัดสิทธิ์การเข้าเรียนทันที มหาวิทยาลัยก็จะทราบทันทีว่าตนเองมีที่ว่างสำหรับการรับสมัครต่อไปจำนวนเท่าใด
ต่อไปนี้เป็นปฏิทินการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นมติของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ในวันศุกร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา (เอกสารต้นฉบับมี ๔ หน้า ดูได้ที่นี่ ๑ ๒ ๓ ๔) ผมเอามาวาดใหม่ ให้ดูง่ายขึ้น (ไหม? ใครที่ไม่ส้นทัดวิธีนี้ อีกวิธีหนึ่งที่ดีมากในการนำเสนออยู่ที่นี่ครับ) ดังรูป
การรับนิสิตใหม่ปี ๒๕๖๑ มีทั้งหมด ๕ รอบ ดังนี้
- รอบที่ ๑) ระบบโควตาพิเศา สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ เช่น โควตากีฬา โควตาศิลปวัฒนธรรม และโครงการเด็กดีมีที่เรียน แบ่งเป็น ๒ ตอน ได้แก่
- รอบที่ ๑.๑) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน ไม่มีสอบข้อเขียน ไม่ใช้คะแนนสอบ O-Net, GAT/PAT ฯลฯ เริ่มรับตั้งแต่ตุลาคมถึงพฤศจิกายน ประกาศผลวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๐ Clearing House วันที่ ๑๕-๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๐โครงการเด็กดีมี่ที่เรียนอนู่ในรอบนี้
- รอบที่ ๑.๒) พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน ไม่มีสอบข้อเขียน แต่อาจใช้คะแนนสอบ ๙ วิชาสามัญ GAT/PAT หรือการทดสอบบางประการ เริ่มตั้งแต่ ๒๒ ธันวาคม ถึง ๒๘ กุมภาพันธ์ Clearing House ๑๙-๒๒ มีนาคม ประกาศผลวันที่ ๒๖ มีนาคม กรณีนี้สำหรับหากการรับที่ยังไม่เป็นไปตาแผน
- รอบที่ ๒) ระบบรับตรงร่วมกัน สำหรับนักเรียน ๒๐ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น พิจารณาจากผลการทดสอบด้วยข้อสอบกลาง (GAT/PAT ๒๔-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑) มมส.ไม่ได้ใช้ ๙ วิชาสามัญมาพิจารณา นักเรียนต้องจบชั้น ม.๖ แล้ว แต่สามารถมาสมัครไว้ก่อนได้ เริ่มตั้งแต่ธันวาคม ๒๕๖๐ จนถึงพฤษภาคม ๒๕๖๑ Clearing House วันที่ ๓-๖ พฤษภาคม ประกาศผลวันที่ ๘ พฤษภาคม รอบนี้นักเรียนสามารถเลือกสาขาและมหาวิทยาลัยได้อย่างอิสระ ๔ อันดับ
- รอบที่ ๓) ระบบรับตรงร่วมกัน สำหรับนักเรียนทั่วไป โครงการ กสพท. (สำหรับผู้สมัครสาขาแพทย์) และโครงการพิเศษอื่น ๆ ไม่มีการทดสอบใด ๆ อีก ใช้ข้อมูลจากรอบที่ ๒ รอบนี้ เลือกได้ ๔ ลำดับการเลือก แต่ไม่ยึดลำดับ
- รอบที่ ๔) ระบบ Admission (เหมือน Admission เดิม) สำหรับบุคคลทั่วไป Clearing House วันที่ ๑-๔ มิถุนายน ประกาศผลวันที่ ๒๕ กรกฎาคม
- รอบที่ ๕) รับตรงอิสระ สำหรับนิสิตตกหล่นที่ยังไม่มีที่เรียน ช่วงเดินกรกฎาคม
บันทึกต่อไป จะมาว่ากันเรื่องแนวทางการรับนิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียน ประจำปี ๒๕๖๑ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น