3 บทบาทสำคัญของ CADL ในการขับเคลื่อน ปศพพ.พศ.


พันธกิจหลักของ CADL ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยคือ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการศึกษา (ปศพพ.พศ.) ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เป็นที่พึ่งด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของสังคมและชุมชน โดยดำเนินการด้วยหลัก “7 ประการ” ได้แก่
  1. ส่งเสริมการบริหารจัดการเชิงราบ 
  2. พัฒนาระบบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรด้วยการจัดการความรู้ (นิเทศแบบ KMยกกำลังสอง) 
  3. ใช้จิตวิทยาเชิงบวก 
  4. เน้นเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้
  5. สร้างชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Commnunity) หรือ PLC 
  6. พัฒนาระบบมาตรฐานการประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้ และ 
  7. สร้างเครือข่าย LLEN

CADL กำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองออกเป็น 3 บทบาทหลัก ครอบคลุมหลักทั้ง 7 ประการ

บทบาทนักขับเคลื่อน

ในบทบาทนักขับเคลื่อน CADL ทำหน้าที่เป็นทั้ง "กระบวนกร" เอื้ออำนวยให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ เป็นทั้ง "วิทยากร" ในการเติมเต็มความรู้ เป็นทั้งครูผู้สอน (ทอลองสอน) กับนักเรียนจริงๆ ในห้องเรียนจริง โดยเน้นลงพื้นที่จริง สัมผัสปัญหาจริง สามารถติดตามเบันทึกและรายงานผลการดำเนินแต่ละกิจกรรมไว้ในเว็บไซต์ของมูลนิธิสยามกัมมาจล และบล็อกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ในหน้าบันทึกของหัวหน้าทีมขับเคลื่อนฯ http://www.gotoknow.org ซึ่งมีรายงานภาพบรรยากาศ วิธีการขั้นตอนดำเนินกิจกรรม ผลการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม และองค์ความรู้จากการสังเคราะห์การดำเนินงาน รายละเอียดในรายงานความก้าวหน้าฉบับนี้จะกล่าวโดยสรุปเพียงเพื่อให้เห็นภาพรวมของการดำเนินงานและผลสำเร็จที่สำคัญเท่านั้น

บทบาทการสร้างเครือข่ายหนุนเสริมการขับเคลื่อน ฯ

เครือข่ายการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่สุดคือ ความช่วยเหลือกันและกันระหว่างโรงเรียนพี่เลี้ยงกับโรงเรียนในเครือข่าย ซึ่งเป็นไปตามความคาดหมายของการขับเคลื่อนด้วยรูปแบบพี่เลี้ยง ความก้าวหน้าของเครือข่ายฯ ในวงรอบการรายงานนี้ คือ มีความร่วมมือในลักษณะข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับ สพม. 26 สพป.เขต 1, 2, 3 มหาสารคาม และความร่วมมือกับ อบจ. ในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษา และภายใต้ความร่วมมือนี้ สพม. 26 มหาสารคาม ได้เริ่มกิจกรรมขับเคลื่อน ปศพพ. เพื่อการศึกษาอย่างเป็นทางการแล้ว ในวันที่ 5 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา นอกจากนี้แล้ว การจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างพื้นที่อีสานตอนบน และเขตอีสานตอนล่าง โดยการสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล ทำให้เราสามารถบูรณาการงานระหว่างสองพื้นที่ได้ ดังที่ได้เสนอไว้ในแผนการดำเนินงานในรอบต่อไปที่แนบมาพร้อมนี้

บทบาทนักวิชาการ

การเขียนบันทึกสะท้อนผล (feedback) และการเขียนบทสังเคราะห์ ในประเด็นปัญหาสำคัญของการขับเคลื่อนฯ น่าจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนฯ ก้าวไปได้ หากพิจารณาเป็น ตามลำดับของการพัฒนาตามพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ปัญหาและอุปสรรคที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

  • เข้าใจผิดว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้องเกี่ยวข้องกับการเกษตร ไม่เข้าใจในตัวทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือเกษตรทฤษฎีใหม่
  • เข้าใจว่าหลักความพอเพียง คือต้อง “ประหยัด ใช้แต่น้อย ใช้ของในพื้นถิ่น อดออม รีไซเคิล” สังเกตจากโครงงานของนักเรียนที่เน้นเรื่องประหยัด ใช้ของที่ไม่ได้ซื้อ แต่มักอธิบายไม่ได้ว่า คุ้มค่าหรือไม่อย่างร
  • เข้าใจว่าการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นงานของในหลวง เข้าใจว่าทำไปเพื่อในหลวง เพื่อถวายความจงรักภักดี เข้าไม่ถึงคุณค่าของหลักปรัชญา เข้าไม่ถึงเป้าหมายของในหลวงที่ท่านทรงพระราชทานหลักปรัชญาฯ แก่ประชาชน
  • เข้าใจว่างานขับเคลื่อนฯ เป็นงานเพิ่มเติมจากงานหลัก เข้าใจว่าเป็นโครงงานล่ารางวัล เข้าใจว่าเป็นงานชั่วคราว เข้าใจว่าเป็นงานที่สามารถเตรียมนักเรียนหรือโรงเรียนตามเกณฑ์การประเมินได้ เข้าไม่ถึงแก่นของความยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญของการขับเคลื่อนฯ
  • ไม่เข้าใจว่ามูลนิธิสยามกัมมาจล กำลังขับเคลื่อนให้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีอุปนิสัยพอเพียง อันจะทำให้ได้เยาวชนที่มีคุณภาพแก่สังคม
  • การขับเคลื่อนฯ ในโรงเรียนขาดความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการจัดการเรียนการสอนในห้อง กิจกรรมในโรงเรียน และชีวิตจริง
  • การขับเคลื่อนฯ หลายโรงเรียนอาจสามารถทำให้นักเรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น แต่ยังมีน้อยมากที่ สามารถขับเคลื่อนให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ หรือ เรียนรู้ด้วยตนเองเป็น กล่าวคือ สามารถนิยาม ตีความ และนำไปใช้ได้ แต่ยังไม่สามารถออกแบบสร้างสรรค์ได้
  • ยังเข้าไม่ถึงความเชื่อมโยงบูรณาการระหว่าง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทักษะในศตวรรษที่ 21 และ อาเซียน ว่า ทั้งหมดได้รวมไว้แล้วในหลักสูตรแกนกลาง ปี 2551 หรืออาจกล่าวสั้นๆ ว่า ไม่เข้าใจหลักสูตรแกนกลาง
  • ปัญหาสำคัญของการขับเคลื่อนฯ คือ ผู้บริหารหรือครูแกนนำที่ไม่เข้าใจ ไม่ต่อเนื่อง ไม่ใส่ใจในรายละเอียด และมานะอัตตาของครู
  • ฯลฯ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"