PLC_CADL_040 : สัมมนาบุคลากร GE ประจำปี '๕๗ (๒)
สิ่งที่ประทับใจอันดับ ๑ (ไม่นับเรื่องเกี่ยวกับงาน) ในการเดินทางไปสัมมนาครั้งนี้เกิดจากความ "อิ่มใจ" ที่ได้กราบนมัสการ "พระ" ตลอดทางที่ไป ขอขอบคุณหัวหน้าสำนักงานฯ และทีมจัดงานที่ได้วางแผนฯส่งเสริมการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาไว้ในใจบุคลากรของเรา บุญกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อรำลึกถึงและอนุโมทนาบุญกับทุกคนอีกครั้ง จึงอยากบันทึกความทรงจำนี้ไว้อีกครั้งหนึ่ง
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
"พระ" องค์แรกที่เราเข้ากราบนมัสการคือหลวงพ่อวัดบ้านแหลม การสืบค้นประวัติของหลวงพ่อบ้านแหลม (เช่นจากที่นี่ หรือ ที่นี่) ทำให้ได้รู้ประวัติของอีก ๔ "พระ" ได้แก่ หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต (วัดบางพลีใน) และหลวงพ่อ(ทอง)วัดเขาตะเครา จากตำนาน "หลวงพ่อลอยน้ำ ๕ พี่น้อง" หรือ "พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหารย์" พบว่า บางอย่างก็สมเหตุสมผล บางอย่างก็ยากจะเชื่อ ดังจะตีความให้"ฟัง" ดังต่อไปนี้ครับ
มี "พระ" หลายองค์ หลายแบบ แทบจะแยกได้ยากยิ่งว่า องค์ไหนที่ ลอยไหลมาตามน้ำตามตำนาน
หลวงพ่อวัดบ้านแหลมองค์จริงที่เอาขึ้นจากน้ำ น่าจะเป็นองค์นี้ครับ
บันทึกหน้าค่อยมาว่าต่อก็แล้วกันครับ...
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
"พระ" องค์แรกที่เราเข้ากราบนมัสการคือหลวงพ่อวัดบ้านแหลม การสืบค้นประวัติของหลวงพ่อบ้านแหลม (เช่นจากที่นี่ หรือ ที่นี่) ทำให้ได้รู้ประวัติของอีก ๔ "พระ" ได้แก่ หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต (วัดบางพลีใน) และหลวงพ่อ(ทอง)วัดเขาตะเครา จากตำนาน "หลวงพ่อลอยน้ำ ๕ พี่น้อง" หรือ "พุทธปัญจภาคีวารีปาฏิหารย์" พบว่า บางอย่างก็สมเหตุสมผล บางอย่างก็ยากจะเชื่อ ดังจะตีความให้"ฟัง" ดังต่อไปนี้ครับ
มี "พระ" หลายองค์ หลายแบบ แทบจะแยกได้ยากยิ่งว่า องค์ไหนที่ ลอยไหลมาตามน้ำตามตำนาน
หลวงพ่อวัดบ้านแหลมองค์จริงที่เอาขึ้นจากน้ำ น่าจะเป็นองค์นี้ครับ
- "พระ" ทั้ง ๕ องค์ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ (Bronze) หรือ "สำริด" (เป็นโลหะผสมที่มีทองแดงและดีบุกเป็นองค์ประกอบหลัก) ยกเว้นหลวงพ่อวัดบ้านแหลมที่หล่อด้วยทองเหลือง (Brass) (โลหะผสมระหว่างทองแดงและสังกะสีเป็นองค์ประกอบหลัก) มีพุทธลักษณะของสุโขทัย แตกต่างกันไปตามช่วงตอนของยุคสมัยสุโขทัย
- ตำนานบอกสมเหตุสมผลมากว่า ขณะที่กรุงศรีอยุธยากำลังถูกเผาในตอนเสียกรุงฯ ครั้งที่ ๒ ชาวไทยกลัวว่า "พระ" ทั้ง ๕ รูปจะถูกเผาทำลายหลอมเอาทองคำ จึงได้นำลงแพไม้ไผ่ล่องน้ำลงใต้ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วแต่ว่า "พระ" แต่ละองค์ท่านจะประสงค์ประดิษฐานลงที่ใด ก็จะปรากฏให้ชาวบ้านเห็นและรับอาราธนาอัญเชิญขึ้นได้ .... แต่ถ้าหากตำนานนี้เป็นจริง อาจจะมี "พระ" อีกหลายองค์ที่หลุดจากแพล่มจมอยู่ใต้ท้องแม่น้ำเจ้าพระยา ก็เป็นได้.....ลองศึกษาเส้นทางล่องแพจากแผนที่นี้ (ภาพจากเว็บไซต์นี้)
- องค์หนึ่งรับการอัญเชิญแบบเจาะจงจากวัดศาลาปูนวรวิหาร อ. เมือง จ.พระนครศรอยุธยา ไปประดิษฐานที่วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม ผมสงสัยว่าคงจะลากแพทวนน้ำขึ้นไปแล้วล่องลงมาทางแม่น้ำท่าจีน จริงเท็จอย่างไรไม่อาจทราบได้ เพราะจุดแยกของแม่น้ำสองสายไม่ได้อยู่ในจังหวัดอยุธยา ... ลองศึกษาจากแผนที่แม่น้ำนี้ดู (แผนที่จากเว็บไซต์นี้)
- ตำนานบอกว่า อีก ๓ องค์ แสดงปาฏิหารย์ คือ แสดงให้คนเห็นบริเวณ ต.สามเสน (ล่องผ่านมาตั้งไกลไม่มีใครเห็น) ชาวบ้านพยายามอัญเชิญขึ้นจากน้ำ ๓ วัน ๓ คืน ไม่สำเร็จ ก่อนจะจมน้ำหายไปอีก ใช้คนเป็นแสนคน (๓ แสนคน) จึงได้ชื่อว่า "สามแสน" และ เพี๊ยนมาเป็น "สามเสน" .... อันนี้เกินจริงไป ... ผมไม่เชื่อ
- องค์หนึ่งล่องลัดเลาะไปตามคลองพระโขนงไปลงแม่น้ำบางประกง และหยุดตรง "วัดหงษ์" หรือ "วัดโสธรวราราม" ในปัจจุบัน "พระ" องค์นี้ก็คือ หลวงพ่อโสธร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
- องค์หนึ่งล่องเรื่อยมาจนถึงปากน้ำสำโรง เมื่อพบเห็นชาวบ้านก็ช่วยกันฉุดเชิญขึ้น แต่ทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จ จึงเอาเรือแจวลากไปตามคลองน้ำสำโรงและอธิษฐานว่า ถ้าท่านประสงค์จะลงตรงที่ใด ก็ให้แพหยุด ณ ตรงนั้น และเมื่อถึงหน้าวัดบางพลีใหญ่ใน แพก็หยุด ไม่ว่าจะพายอย่างไร ก็ไม่ไปต่อ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน เรียกว่า "หลวงพ่อโต"
- ตำนานบอกว่า ชาวประมงอำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี ออกมาลากอวนหาปลาในทะเล มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยติดอวนมาด้วย ขณะนำกลับเข้าฝั่ง ได้แลเห็นพระเกศของหลวงพ่อวัดบ้านแหลมลอยอยู่ (ทั้งๆ ที่เป็นพระทองเหลืองซึ่งต้องจมน้ำ) จึงได้นำขึ้นเรืออีกลำ นำกลับขึ้นไปทางแม่น้ำแม่กลอง (ผมคิดว่า ชาวเมืองบ้านแหลมนี้คงมาพักแถว จ.สมุทรสงคราม) พอมาถึงหน้า "วัดศรีจำปา" เกิดอาเพทฝนตกพายุกระหน่ำ ทำให้หลวงพ่อวัดดบ้านแหลม หล่อนจมลงหายไป งมหา ๓ วัน ๓ คืน อย่างไรก็ไม่เจอ จึงนำเพียงองค์ที่เหลือ กลับไปประดิษฐานที่บ้านเขาตะเครา ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ถิ่นของตน เรียกพระองค์นี้ว่า "พระ(ทอง)เขาตะเครา" มีการปิดทองหนามากจนเกือบไม่เห็นพุทธลักษณะอันงดงามเดิม ... เล่ากันว่า มีช่างกล้อง ไปแกะทองบริเวณตาท่านออก วันต่อมา ตาบวมเป่ง ต้องมาขอขมา จึงหาย คงทำให้คนยิ่งไม่กล้าไปแกะออก...
- ต่อมา เมื่อได้ข่าวว่า ชาวบ้านศรีจำปา งมจนเจอหลวงพ่อวัดบ้านแหลม ชาวบ้านแหลมจึงมาทวงคืน จนเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง แต่ก็ตกลงกันได้ว่า ให้ประดิษฐ์อยู่ที่ "วัดศรีจำปา" ต่อไป แต่ต้องให้เปลี่ยนชื่อเป็น "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม" ตามที่เราได้กราบนมัสการในปัจจุบัน
- หลวงพ่อวัดบ้านแหลม เป็นพระพุทธรูปางอุ้มบาตร ขนาดสูง ๑๗๐ เซ็นติเมตร ตอนนำมาจากทะเล ไม่พบบาตร บาตรที่อุ้มอยู่ในปัจจุบันไม่ใช่ของเดิมแท้
- ระวัง !!! การกราบ "พระ" ทั้ง ๕ องค์ ห้ามไปขอพรหรือ "บน" ว่า ไม่ให้ "ติดทหาร" เพราะ ใครบนแบบนี้พบว่าจับได้ "สีแดง" (ติดทหาร) ทุกราย อีกอย่างคือ ห้าม "บน" ขอมีบุตร เพราะมักจะได้ลูกที่แขนขาด ขาขาด ไม่ครบ ๓๒ ประการ ... ผู้บันทึกทำนานบอกว่า ท่านอยากให้คนเป็นทหาร และ จะส่งทหารที่ไปออกรบมาให้มาเกิดกับคนที่ขอ... ฟังดูสมเหตุผลสำหรับคนที่เชื่อเรื่องชาตินี้ชาติหน้า เพราะอาจตีความได้ว่า "พระ" ทั้ง ๕ เป็น "พระหนีสงคราม" ก็ว่าได้
บันทึกหน้าค่อยมาว่าต่อก็แล้วกันครับ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น