PLC_CADL_039 : สัมมนาบุคลากร GE ประจำปี '๕๗ (๑)

หนึ่งอาทิตย์ก่อนเดินทางไป สัมมนาประจำปี ของชาว GE มมส. ผมนั่งสนทนา ทำ BAR (Before Action Review) กับ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ว่า ผมคาดหวัง ๓ ประการ จากการดำเนินโครงการสัมมนาประจำปี ๒๕๕๗ นอกสถานที่ปี้นี้ ได้แก่ ๑) นำปัญหาที่ได้จาก KM-กลุ่มงาน (ซึ่งสรุปบางส่วนไว้ที่นี่) มาอธิบายอย่างเชื่อมโยงประสานระหว่างกลุ่มงานให้เข้าใจในปัญหาร่วมกัน ๒) รวมกันหาวิธีแก้ไขให้ง่ายและบูรณาการสอดเสริมกันระหว่างกลุ่มงาน โดยใช้ฐานข้อมูลและเทคโนไอซีทีให้เข้ามามีบทบาทในการเชื่อมโยงระบบต่างๆ ๓) ทำให้เรารัก เข้าใจ และจริงใจ ไม่ให้มีกำแพงระหว่างกัน โดยเน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับ GE ที่ตึก RN  มาวันนี้ ผ่านวันสัมมนา (วันที่ ๒๘-๓๑ มิถุนายน ๒๕๕๗) มาแล้วหนึ่งอาทิตย์ ผม AAR (After Action Review) ว่า อาจจะยังไม่บรรลุสักข้อข้างต้น แต่น่าจะประสบผลสำเร็จในข้อที่ ๓) มากที่สุด ในเรื่องการบูรณาการ "คน GE" เข้าด้วยกัน ผมคิดว่า ความก้าวหน้าที่ว่านี้ จะเป็น "คีย์" สำคัญให้ ๒ ข้อข้างต้นประสบผลฯ ตามมา...
ผมตัดสินใจว่า จะไม่ "บังคับ" ให้ทุกคนต้องเขียน "เรื่องเล่า" เกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา (เพื่อที่จะรวบรวมไว้ในหนังสือ ๕ ปี GE มมส.) หลังจากที่ประเมินด้วยตนเองว่า ศรัทธาและแรงบันดาลใจในการใช้ "ฺBlog" ของบุคลากรยังไม่มากนัก  โดยหันมาชวนคุยและชวนเขียน "เรื่องเล่าเร้าพลัง" จากการเดินทางไปสัมมนาในครั้งนี้แทน (ดูตัวอย่าง BP ของจักรพงศ์ได้ที่นี่ครับ)

กิจกรรมที่ผมนำมาชวนทำคือ "กระดาษ ๓ ส่วนชวนเขียน" โดยพับกระดาษ A4 เป็น ๓ ส่วนแล้วให้เขียน "ความจริง" "ความคิด" และ "ความรู้สึก" ไว้คนละส่วน โดยชี้ประเด็นให้เห็นว่า วิธีการเริ่มเขียนบันทึกง่าย ดังนี้
  • ผู้เริ่มเขียนใหม่ๆ สามารถเขียนเล่าเรื่อง "ความจริง" ก็ได้ ไม่ต้องใส่ "ความคิด" หรือ "ความรู้สึก" ของตนเอง เพราะจะทำให้เกิดอุปสรรคที่สำคัญ "ความกลัว" และ "ลังเล" ต่อการเขียน ทำให้ไม่สามารถเริ่มต้นได้ 
  • การเขียน "ความคิด" และ "ความรู้สึก" นั้น โดยปกติจะยากกว่าการเขียน "ความจริง" เพราะ คนที่ "คิดมาก" และห่วง "ความรู้สึก" ของตนและคนอื่นมาก จะไม่กล้าเริ่มเขียน 
  • วิธีการเขียน "ความจริง" อาจเริ่มจาก "ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร และจะไปไหนต่อ" เป็นต้น เราเรียกเป็นภาษา KM ว่า Story Telling
  • วิธีการเขียน "ความคิด" อาจเริ่มจาก "เหตุเกิดเพราะใคร ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร น่าจะเป็นอย่างไรต่อไป" เป็นต้น 
  • วิธีการเขียน "ความรู้สึก" อาจเริ่มจาก "ชอบหรือไม่ชอบ รักหรือไม่รัก ประทับใจหรือไม่" ฯลฯ 
วัตถุประสงค์หลักในการทำกิจกรรมนี้คือ ฝึกแยกความแตกต่างระหว่าง "ความจริง ความคิด และความรู้สึก" ซึ่งผมบอกในตอนท้ายๆ ว่า ในการเขียนจริงๆ นั้น ทั้ง ๓ ส่วนนี้จะรวมกันอยู่อย่างเป็นเหตุเป็นผล เห็นภาพเห็นบรรยากาศเหตุการณ์อารมณ์ ในลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล.... ขอเพียงเริ่มเขียน "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ก็น่าจะอยู่ไม่ไกลนัก

แม้ไม่บรรลุตาม BAR  แต่ว่าไปสัมมนาคราวนี้ "คุ้มค่า" มาก เพราะอะไรอย่างไรบันทึกต่อไป จะมาเขียนเรื่องเล่า "เว่าสู่ฟัง" ต่อนะครับ 














ดูรูปทั้งหมดที่นี่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"