PLC_CADL_038 : ประเมินคุณภาพภายใน วงรอบการศึกษา ๒๕๕๖

วันที่ ๑๖ มิถุนาย ๒๕๕๗ สำนักศึกษาทั่วไป ต้อนรับคณะผู้ประเมินภายใน ได้แก่ ดร.สุมลวรรณ ชุ่มเชื้อ จากคณะเทคโนฯ ผศ.ดร.สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์ จากคณะบัญชีฯ และ อ.พวงผกา คณาสิทธิ์ จาก มรภ. ดูข่าวย่อได้ที่นี่  ผมรับหน้าที่เป็นผู้นำเสนอภาพรวมต่อคณะกรรมการฯ ก่อนจะเริ่มกระบวนการประเมินฯ

สำนักศึกษาทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตบัณฑิต รับผิดชอบจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต ตามประกาศของกระทรวงฯ ภายใต้ พ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะวิชา กำหนดนโยบายและกำกับติดตามโดยบอร์ด GE  บริหารจัดการด้วยผู้บริหารที่นำโดยผู้อำนวยการสำนักฯ (เทียบเท่าคณบดี) ใช้ระบบประกันคุณภาพภายใน และให้ความร่วมมือเป็นผู้รับผิดชอบ KPI (Key Performance Index) บางตัวของประกันคุณภาพภายนอก (ตามกฎหมาย)

ปีการศึกษา ๒๕๕๖ สำนักศึกษาทั่วไป มีตัวชี้วัดตามเกณฑ์ประกันภายในทั้งสิ้น ๑๔ ตัว ใน ๗ องค์ประกอบ


เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ผมขอเปลี่ยนเป็นภาษา "คำถาม"  ดังนี้

องค์ฯที่ ๑.๑  มีเป้าหมายชัดเจน แผนที่ดี และพัฒนาแผนอย่างเป็นกระบวนการอย่างมีส่วนร่วมหรือไม่?
องค์ฯที่ ๒.๔ มีระบบ กลไก และกระบวนการพัฒนาบุคลากรหรือไม่ อย่างไร?
องค์ฯที่ ๖.๑ มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพให้เอื้อต่อการทำงานดี มีสุนทรียะหรือไม่?
องค์ฯที่ ๗.๑ บอร์ดทำหน้าที่หรือเปล่า?
องค์ฯที่ ๗.๒ ทำ KM เพื่อพัฒนาองค์กรสู่การเป็น LO (Learning Organization) หรือไม่?
องค์ฯที่ ๗.๔ มีการจัดการความเสี่ยงมีหรือไม่ มีระบบและติดตามหรือไม่?
องค์ฯที่ ๗.๖ ผู้บริหารได้คะแนนประเมินเท่าไหร่
องค์ฯที่ ๘ เงินงบโอเคไหม? การเงินและงบทำตามระเบียบหรือเปล่า เบิกจ่ายตามแผนหรือไม่ เป็นหนี้ไหม
องค์ฯที่ ๙ ระบบและกลไกงานประกันฯ เป็นอย่างไร มี PDCA หรือไม่
องค์ฯ ๑๐ ผลสัมฤทธิ์การทำงานของตนเอง (ตามอัตลักษณ์ของตนเอง หรือตามหน้าที่ของตนเอง) เป็นอย่างไร  ได้แก่
  • องค์ที่ ๑๐.๑ ระดับความสำเร็จ (คสร.) ของโครงการส่งเสริมและสืบสาน (สสลสส.) โครงการอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ
  • องค์ที่ ๑๐.๒ ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างให้นิสิตเรียนรู้และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 
  • องค์ที่ ๑๐.๓ ระดับความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอน 
  • องค์ที่ ๑๐.๔ ระดับความสำเร็จของการให้บริการของ GE 
  • องค์ที่ ๑๐.๕ ระดับความสำเร็จของการจัดการพัสดุและคุรุภัณฑ์ 

ผมศึกษาคู่มือประกันฯของ GE ปีต่างๆ (ที่นี่) พบว่า เกณฑ์ประการสร้างขึ้นโดยคณะกรรมการดำเนินงานประกันฯ ของ GE เอง และเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยในแต่ละปี และเกณฑ์ประกันเกือบทั้งหมดเน้น ให้ทำงานตามวงจรคุณภาพ Deming cycle คือ PDCA (Plan Do Check Act) (คุณปราณีเขียนไว้ที่นี่) จึงทำให้โดยมากจะตรวจเช็คและนิยามความก้าวหน้าและความสำเร็จของงานที่ กระบวนการ หรือ Process  จะมีก็เพียงองค์ฯที่ ๑๐ ที่ "ดูเหมือน" จะเน้นที่ "ผลลัพธ์" คือ "ระดับความสำเร็จ" แต่ศึกษาดูแล้ว เป็น PDCA ที่เน้น "ความสำเร็จ" ของการทำโครงการ ซึ่งยังไม่ใช่ "ผลลัพธ์" ตามเจตนารมณ์ของการ "ประกันฯเพื่อพัฒนา"  เว้นแต่ องค์ฯ ที่ ๑๐.๑ ที่กำหนดไว้ว่า โครงการนั้นๆ จะต้องบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ด้วย... อย่างไรก็ดี ผมมีความเห็นว่า เกณฑ์ประกันฯ ควรจะเน้นไปให้ครอบคลุมถึงความสำเร็จเชิง "ผลลัพธ์" (Ends) มากขึ้น

ความคิดรวบยอด (concept) เกี่ยวกับการประกันฯ ภายใน (ที่ผมเข้าใจ) มีสิ่งที่ต้องทำ ๓ ประเด็นสำคัญคือ
  • ปีที่ผ่านมา กรรมการฯ ประเมินว่า ควรจะเพิ่มเติมปรับปรุงอะไร  ใน "แผนพัฒนาคุณภาพ" กำหนดไว้ว่าอย่างไร 
  • ได้ดำเนินการพัฒนาตามแผนพัฒนาคุณภาพหรือไม่ อย่างไร ประสบผลสำเร็จเพียงใด อะไรคือปัญหาอุปสรรค
  • การพัฒนาเชิงรุกอื่นๆ มีหรือไม่ อย่างไร เพราะอะไร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร 

ด้วยความเข้าใจดังกล่าว ผมจึงใช้สไลด์ที่คุณฝน (เจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันของเรา) เตรียมให้ ไว้ก่อนสไลดใดๆ ดังนี้












ในการนำเสนอ ผมเล่าเรื่องวิธีการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ GE  ที่มีการจัดกิจกรรม KM อย่างเป็นระบบ โดยมี "หลักคิด" และ "หลักปฏิบัติ" ดังภาพ



หลักสำคัญของการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามที่ผู้รู้ (ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ดู narrated ppt ที่นี่) มี ๕ ประการตามการเสนอของ ศ.ปีเตอร์ เซนเก (Peter Senge) หรือเป็นลักษณะ ๑๒ ที่ ดร.อารยา รวบรวมไว้ที่นี่ ผมนำมาปรับปรุงดัดแปลงให้ง่ายขึ้น โดยใช้ฐานพุทธ และให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของสำนักวิชาศึกษาทั่วไป ได้ ๕ ประการ ได้แก่ รู้จักตนเอง  เข้าใจผู้อื่น คิดเป็นระบบ มีวิสัยทัศน์ร่วม และ เรียนรู้จากการทำงานเป็นทีม

มีการจัด KM ใน ๓ ระดับ ได้แก่ KM-ผู้บริหาร KM-บุคลากร และ KM-กลุ่มงาน แต่ละระดับจะมีหัวเรื่อง จุดเน้น และกระบวนการแตกต่างกันไปตามแต่ จะผอนคลายและคุยสบายที่สุด โดยมีรายละเอียดหัวเรื่องอยู่ในภาพ 




ผมบอกกรรมการฯ ว่า ณ ขณะนี้ ยังเป็น KM ที่มี "รูปแบบ" หมายถึง การสร้างข้อตกลงเรื่องเวลา สถานที่ และหัวเรื่องกันขึ้นมาแบบ "จงใจ" เพื่อที่จะพัฒนาเรื่องๆ ใด ที่เราสนใจจะแก้ไข  หากบรรลุถึงปลายทางขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ความเป็น "รูปแบบ" จะไม่จำเป็น ภาษาวัยรุ่นคือ "เนียน" ไปกับเนื้องาน 

ขอจบแบบไม่มีขลุ่ยแบบนี้ก่อนะครับ ผลประเมินฯ ประกาศเมื่อไหร่ ค่อยมาว่ากันต่อ....

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"