PLC_CADL_017 : เมื่อ KM ยังถูกเรียกว่า KM ตอนที่ 1 (สำนักพิมพ์ มมส.)
วันที่ 28 ตุลาคม 2556 ทีม CADL จัด "KM" บุคลากรสำนักพิมพ์ มมส. (MSUP) เราสังเกตพบอย่างหนึ่งว่าตอนนี้ ทุกคนในสำนักศึกษาทั่วไปยังมีคำถามว่า "ทำไมต้องมาทำ KM" งานที่ทำในก็ "เต็มมือเต็มเวลา" ทุกคนยังเรียก "KM" ว่า "KM"... ไมแปลกที่ทุกคนแยก "KM" ออกมาเป็นงานเพิ่มแบบนี้ เพราะแม้แต่เกณฑ์ประกันฯ หรือกรรมการตรวจประกันฯ ก็แตกต่างตามตัวตนของแต่ละคนที่มาประเมินเลย....
ผมไม่ได้ร่วมเวทีนี้ด้วยเพราะติดภารกิจประชุมโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน วันถัดมาตอนเช้าเราทำ AAR สะท้อนผลจากการฟังคน MSUP และช่วยกันมอง "ระบบ" "ปัญหา" และ "ปัญญาปฏิบัติ" สรุปได้เป็นปลาตัวนี้ครับ (วาดภาพนี้โดยคุณ Arizz..)
สิ่งที่เราอภิปรายก่อนจะได้ภาพนี้ มีดังนี้ครับ
เย็นวันหนึ่งในเดือน มิถุนายน 2556 ผมเข้าไปคุยกับแกนนำหลายคนของ "ช่างศิลป์" ในสำนักพิมพ์ ผมได้เรียนรู้ระบบทำงานของ MSUP เลยขอคัดลอก "ปลาจาระเม็ด" ของคุณ "อริส" มาทำผัง ดังนี้ครับ
ระบบการทำงานดูง่าย ไม่ซับซ้อน แบ่งเป็น 3 ตอน ก่อนจะส่งเข้าโรงพิมพ์ ดังนี้ครับ
ผมไม่ได้ร่วมเวทีนี้ด้วยเพราะติดภารกิจประชุมโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน วันถัดมาตอนเช้าเราทำ AAR สะท้อนผลจากการฟังคน MSUP และช่วยกันมอง "ระบบ" "ปัญหา" และ "ปัญญาปฏิบัติ" สรุปได้เป็นปลาตัวนี้ครับ (วาดภาพนี้โดยคุณ Arizz..)
สิ่งที่เราอภิปรายก่อนจะได้ภาพนี้ มีดังนี้ครับ
- เป้าหมาย 3 ประการ ที่ผู้บริหารกำหนดแน่แต่ยังไม่ชัดในใจบุคลากรคือ
- อยากทำชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย ด้วยการสร้างสื่อผลิตหนังสือตำรา ที่เป็น "ปัญญาปฏิบัติ" ของคณาจารย์มหาวิทยาลัย หรือเรียกว่า "งานลิขสิทธ์"
- สำนักพิมพ์สามารถสร้าง "กำไร" และ "อยู่ได้" ด้วยตนเองได้ จากการรับงานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างๆ จากภายนอกหน่วยงาน
- งานบริการผลิตเอกสาร หนังสือ ตำรา บทความ หรือรวมถึงการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณา ต่างๆ ของสำนักศึกษาทั่วไป
- ส่วนสำนักพิมพ์รู้สึกว่า ยังไม่ได้โชว์ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ ต่างจากส่วนโรงพิมพ์ที่รู้สึกว่ามีงานมาไม่ขาด...
- อีกปัญหาคือระบบการรับงาน ติดตามงาน ที่ตอนนี้ใช้วิธี "Manual" ด้วยคนๆ เดียว หากพัฒนาเสริมด้วยระบบออนไลน์
- งานที่มีตอนนี้คือ ข้อสอบ ไอเอส ตำราเรียน และรับจ้างทั่วไป ....
เย็นวันหนึ่งในเดือน มิถุนายน 2556 ผมเข้าไปคุยกับแกนนำหลายคนของ "ช่างศิลป์" ในสำนักพิมพ์ ผมได้เรียนรู้ระบบทำงานของ MSUP เลยขอคัดลอก "ปลาจาระเม็ด" ของคุณ "อริส" มาทำผัง ดังนี้ครับ
ระบบการทำงานดูง่าย ไม่ซับซ้อน แบ่งเป็น 3 ตอน ก่อนจะส่งเข้าโรงพิมพ์ ดังนี้ครับ
- งานพิสูจน์อักษร มีบุคลากร 2 คน สมรรถนะในการรับงาน ประมาณ 2 เรื่องต่อเวลา 2 อาทิตย์ คนหนึ่งจะใช้เวลา 1 อาทิตย์ในการพิสูจน์ครั้งแรก และ 3 วัน และ 2 วันสำหรับการตรวจทานรอบที่ 2 และ 3 ตามลำดับ
- งานออกแบบ มีบุคลากร 6 คน มีศักยภาพตั้งแต่รับออกแบบกราฟฟิก รูปลักษณ์ ถึงการสร้างสรรค์ หรือเขียนงานด้วยตนเอง สมรรถนะในการผลิตอยู่ที่ อาทิตย์ละ 3 ชิ้นงาน
- ลูกค้าในที่นี้ส่วนใหญ่คืออาจารย์ในมหาวิทยาลัย ที่เป็นเจ้าของผลงาน ซึ่งต้องตรวจทาน อนุมัติผ่านแต่ละขั้นตอนด้วยตนเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น