CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_05: สรุปมติที่ประชุม 7 ต.ค. 56 "ปรับกระบวนการคัดเลือกใหม่"

วันที่ 7 ตุลาคม 2556 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยสำนักศึกษาทั่วไป ได้เรียนเชิญประชุมผู้อำนวยการโรงเรียน และอาจารย์ฝ่ายแนะนำ จากโรงเรียนมัธยมในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และตัวแทนจาก 3 สังกัดคือ สพม. อบจ. และเทศบาล และโรงเรียนในโครงการขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานตอนบน เพื่อชี้แจงประชาสัมพันธ์ การคัดเลือกนักเรียนตามโครงการเด็กดีมีที่เรียน ที่ได้เขียนบันทึกที่ และ

เป็นการประชุมแบบกึ่ง KM มีการเปิดเวทีให้มีการ "โสเหร่" อภิปราย ร่วมกัน ทำให้นอกจะได้ข้อสรุปแนวทางจากการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายแล้ว ยังทำให้ผู้ที่อยู่ในห้องประชุมได้ทำความเข้าใจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคนที่ไม่เข้าใจก็ได้ถามและพูดคุย ผู้ที่เข้าใจก็ได้อธิบาย ข้อดีที่สำคัญที่สุดคือ มีการปรับแก้ปัญหาที่เคยเกิดด้วยการปรับปรุงข้อเสียเดิม เพิ่มเติมวิธีหรือกระบวนการใหม่

มีมติเปลี่ยนแปลงกระบวนการคัดเลือกใหม่ จากที่ให้โรงเรียนคัดเลือกเบื้องต้น แล้วส่งมาให้ตันสังกัดพิจารณาคัดอีกหรือ 3 เท่าของโควต้า แล้วให้คณะวิชา/สาขาวิชาจัดสอบสัมภาษณ์ เปลี่ยนเป็น ให้โรงเรียนคัดเลือกตามจำนวน(ไม่เกิน)โควต้าที่มหาวิทยาลัยกำหนดในแต่ละสาขา แล้วส่งมาให้คณะกรรมการร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่จะตั้งขึ้น ต่อไปนี้ เป็นผู้พิจารณากำหนดแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกต่อไป

1) รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ เป็นประธาน
2) ผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไป เป็นรองประธาน
3) ตัวแทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26  3 ท่าน เป็นกรรมการ
4) ตัวแทนจากกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เป็นกรรมการ 3 ท่าน เป็นกรรมการ
5) ตัวแทนจากกองการศึกษา เทศบาลเมือง จังหวัดมหาสารคาม 1 ท่าน เป็นกรรมการ
6) ตัวแทนจากโครงการขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานบน 1 ท่าน
7) รองผู้อำนวยการสำนักศึกษาทั่วไปที่รับผิดชอบโครงการ และทีมทำงาน เป็นทีมกรรมการและเลขานุการ

สรุป "กระบวนการคัดเลือก" เปลี่ยนไปเป็นดังแผนภาพครับ


สรุปขั้นตอนการดำเนินการต่อได้ ดังนี้
  1. ให้ทางโรงเรียนดำเนินการรับสมัครนักเรียนที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ ที่มีเกณฑ์ขั้นต่ำของ GPA ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สาขาวิชากำหนด และพิจารณาคัดเลือกให้เหลือจำนวนไม่เกินตามโควต้าที่กำหนด โดยใช้แบบฟอร์มใบสมัครที่มหาวิทยาลัยกำหนดในเอกสารประกอบการประชุม
  2. โรงเรียนส่งรายชื่อพร้อมหลักฐานและแฟ้มสะสมงานของนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก ไปยังต้นสังกัด ภายในช่วงเวลาที่กำหนด (ต้นสังกัดกำหนดวันเวลา) ตันสังกัดรวบรวมแล้วส่งข้อมูลให้สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  3. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยมีตัวแทนจากต้นสังกัดทั้ง 3 แห่ง และตัวแทนจากโครงการขับเคลื่อน ปศพพ. อีสานบน เป็นกรรมการ เพื่อประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทางการพิจารณาคัดเลือก และดำเนินการคัดเลือกให้เหลือตามจำนวนโควต้าที่กำหนด 

มติที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การกำหนดให้นักเรียนหนึ่งคน เลือกได้เพียงหนึ่งสาขาวิชาเท่านั้น ดังนั้นการกรอกในแบบฟอร์มใบสมัครเดิมที่แจ้งในวันนี้ จึงไม่ต้องเติมสาขาสำรอง


  





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"