CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_03: วิธีการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน ในโครงการฯ ของ สพฐ.

เกณฑ์ประเมิน

ขอนำแผนผังการกำหนดเกณฑ์เพื่อประเมินคุณธรรมของผู้เรียน จากบันทึกนี้ มาแสดงอีกครั้ง ดังภาพครับ


วิธีดูแผนผังนี้ต้องพิจารณาตามสี  เกณฑ์ประเมินแบ่งออกเป็น 3 หมวดๆ ละ 6 นั่นคือมีคุณธรรมที่จะนำมาเป็นเกณฑ์ = 18 ประการได้แก่ 
  • คุณธรรมเพื่อการพัฒนาตน สีม่วง  ประกอบด้วย 6 ประการ  ตามตัวหนังสือสีม่วงที่กระจายกันอยู่ในวงกลมทึบสีเทา 
  • คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการทำงาน สีเขียว ประกอบด้วย 6 ประการ เช่นกัน และ
  • คุณธรรมเพื่อการพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม สีส้ม  6 ประการ
โดย ได้"นิยามศัพท์" เพื่อกำหนด "ความหมายของความดี" ไว้แล้วในเอกสารแนวทางการประเมินคุณภาพผู้เรียนของ สพฐ. (ดาวน์โหลดได้ที่นี่
สรุปสิ่งที่จะประเมินคือ เกณฑ์ 3 ด้าน 18 ประการ 

ผู้ประเมิน สิ่งที่ประเมิน และผลการประเมินที่ต้องการ

พิจาณาจากแผนภูมิแสดงขั้นตอนการคัดเลือกนี้ครับ 


แม้จะเขียนเป็นผังลำดับขั้นตอนไว้ชัด แต่ในตอนปฏิบัติทาง สพฐ. บอกว่า สถานศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษา สามารถพิจารณาปรับปรุงแนวทางการประเมินได้...  แต่อย่างไรก็ตามปีนี้คงไม่ต่างจากแผนภูมินี้

วิธีประเมิน

การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน มี 4 ขั้นตอน ได้แก่

  • ประเมินความน่าเชื่อถือ ด้วยการดูความสอดคล้องยืนยันสภาพจริงและใบรับรองจาใครๆ ดังนี้ครับ
    • ระดับที่ ๑ ไม่สอดคล้อง ไม่มีใบรับรองจากใคร
    • ระดับที่ ๒ สอดคล้องเป็นส่วนน้อย มีใบรับรองจากญาติ
    • ระดับที่ ๓ สอดคล้องเป็นส่วนใหญ่ มีใบรับรองจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    • ระดับที่ ๔ สอดคล้องกันทั้งหมด มีใบรับรองจากผู้มีตำแหน่งหน้าที่ในการขับเคลื่อนกิจกรรมนั้นๆ ด้วย
  • แฟ้มสะสมคะแนนที่ได้คะแนนตั้งแต่ ระดับที่ ๓ ขึ้นไป ให้นำไปประเมินระดับคุณธรรมทั้ง 18 ประการ ตามแบบฟอร์มในเอกสารแนวทางการประเมินฯ ถ้าคะแนนต่ำกว่าระดับ 3 ให้ครูหรือกรรมการชี้แจงให้ปรับปรุงแก้ไข เพื่อดำเนินการต่อไปแล้วแต่ดุลพินิจ
  • นำคะแนนระดับคุณธรรม ไปเทียบกับเกณฑ์การประเมินระดับกลุ่มคุณธรรม หน้า 20 ของเอกสารการประเมิน  ที่จะบอกผลว่า ดีเยี่ยม ดี ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน ...... 
ผมสังเกตเห็นว่า ในเอกสารฉบับนี้ เน้นย้ำมากว่า สถานศึกษาหรือสถาบันอุดมศึกษาที่จะนำเกณฑ์นี้ไปใช้ ควรจะไปพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง......  

อย่างไรก็แล้ว ผมก็ยังคงคิดว่า..... การประเมินแบบที่ว่ามา ไม่น่าจะใช้การประเมินเพื่อพัฒนา ไม่สอดคล้องกับที่ว่ามาตั้งแต่ต้น....




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PLC มหาสารคาม : อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (ขยายผลครูตุ๋ม) _๔ :ขยายความสำเร็จสู่ สพป.มค.๑

รายวิชาศึกษาทั่วไป : ๐๐๓๖๐๐๖ ภาวะผู้นำ ๑-๒๕๖๐ (๑๐) กิจกรรม After Action Review (AAR)

PLC อบจ. ขอนแก่น _๐๔ : ถอดบทเรียน "การแก้ปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้"