CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_02: แนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน
สพฐ. จัดทำแนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการประเมินคุณธรรมตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร .... การอ่านเชิงจับประเด็น สิ่งที่เห็นต่อไปนี้น่าจะมีประโยชน์ยิ่งครับ....
หลักการ
หลักการในการประเมินใดๆ น่าจะสรุปรวมได้เพื่อ 3 วัตถุประสงค์ (ผมสังเคราะห์เองครับ) ได้แก่
สรุปแนวทางการประเมินความดีนี้เน้นที่การ "ประเมินเพื่อพัฒนา"...
กรอบแนวคิด
วิธีคิดในการสร้างแนวทางการประเมินฯ เป็นแบบมาตรฐาน คือ รวบรวมกรอบความดีที่มีอยู่ แล้วสังเคราะห์เป็นเกณฑ์ใหม่ในมุมมองใหม่ให้ทันสมัยทันกับปัญหามากขึ้น ดังนี้ครับ
(ไม่ขออธิบายใดๆ หากเป็นไปได้ คุณครูนำผังภาพนี้ไปให้นักเรียนอภิปรายและถอดบทเรียนกัน ว่าแต่ละคนนั้นอยู่ในระดับความดีใด จะได้ประโยชน์มากครับ)
หลักการ
หลักการในการประเมินใดๆ น่าจะสรุปรวมได้เพื่อ 3 วัตถุประสงค์ (ผมสังเคราะห์เองครับ) ได้แก่
- ประเมินเพื่อให้รู้ สำคัญที่สุดคือ ให้ผู้ถูกประเมิน (ในที่นี้คือนักเรียน) ได้รู้ระดับของตนเองเมื่อเทียบกับเกณฑ์ประเมิน รองลงมาคือ ให้ผู้ประเมิน (เช่น ครู ผอ. ศน.) ได้รู้ระดับความสำเร็จตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลของการประเมินจะนำไปสู่กระบวนการ "ควบคุม" เพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามเกณฑ์ต่อไป... การประเมินแบบนี้เรียกใหม่ให้เท่ห์ๆ ว่า "การประเมินเพื่อควบคุมคุณภาพ"
- ประเมินเพื่อให้ดู สำคัญที่สุดคือ ให้ลูกค้า (ในที่นี้คือ ผู้ปกครอง ประชาชน) ได้ทราบระดับคุณภาพตามเกณฑ์ ผู้ประเมินจะต้องตัดสิน ได้-ตก ตามกรอบที่กำหนด... การประเมินแบบนี้เรียกกันทั่วไปว่า "ประเมินเพื่อบ่งบอกคุณภาพ"
- ประเมินเพื่อพัฒนา จะเป็นประเมินแบบไหนก็ตาม หากท่านไปถามผู้ประเมินว่า "ประเมินทำไม" ท่านจะได้คำตอบทันทีว่า "ประเมินเพื่อพัฒนา" บางท่านอาจจะพูดเสริมอีกว่า "ประเมินเพื่อพัฒนาอย่างกัลยาณมิตร" ... ท่านเหล่านั้นจะพูดจริงหรือไม่นั้น ให้สังเกตดังนี้
- เปิดเผย อธิบายถ่ายทอด วิธีคิดของผู้ประเมิน
- ฟังมากกว่าพูดหรือไม่...
- ผู้ประเมินมีความรู้ ความเข้าใจ นำไปปฏิบัติกับตนเองหรือไม่.... เพราะหัวใจคือ ท่านจะแนะนำทันทีในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ถูกประเมิน...โดยที่..
- คำแนะนำของท่าน จะประกอบไปด้วยเหตุและผลอย่างเป็นเหตุเป็นผล ชัดเจนลงถึงระดับปฏิบัติ...
- ไม่ยึดติดกับตัวเกณฑ์เกินไป แต่ให้ความสำคัญกับ "เจตนารมณ์" ของเกณฑ์แต่ละข้อๆ
- ยืดหยุ่นเรื่องเวลา บอกล่วงหน้ากรณีที่ให้หาหลักฐาน
- ฯลฯ
สรุปแนวทางการประเมินความดีนี้เน้นที่การ "ประเมินเพื่อพัฒนา"...
กรอบแนวคิด
วิธีคิดในการสร้างแนวทางการประเมินฯ เป็นแบบมาตรฐาน คือ รวบรวมกรอบความดีที่มีอยู่ แล้วสังเคราะห์เป็นเกณฑ์ใหม่ในมุมมองใหม่ให้ทันสมัยทันกับปัญหามากขึ้น ดังนี้ครับ
- กรอบของคำว่า "เด็กดี" ที่อยู่ได้แก่
- คุณลักษณะของคนไทยที่ประเทศชาติต้องการ ซึ่งได้จาก แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ของกรมวิชาการ
- ค่านิยมพื้นฐาน ๕ ประการของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- คุณธรรมพิื้นฐาน ๘ ประการ ของกระทรวงศึกษาธิการ
- หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- คุณธรรม ๔ ประการ ตามพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการออกเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครอบ ๖๐ ปี
- หลักธรรมขั้นพื้นฐานของศาสนา
- คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑
- สังเคราะห์เป็นหมวดใหม่เพื่อ 3 วัตถุประสงค์คือ การพัฒนาตน พัฒนาการทำงาน และพัฒนาการอยู่ร่วมกันในสังคม
ลองพิจารณาแผน 4 ผัง ต่อไปนี้ ท่านจะเห็นวิธีคิดของผู้ใหญ่ที่ให้แนวทางฯ นี้ไม่ยากครับ
(ไม่ขออธิบายใดๆ หากเป็นไปได้ คุณครูนำผังภาพนี้ไปให้นักเรียนอภิปรายและถอดบทเรียนกัน ว่าแต่ละคนนั้นอยู่ในระดับความดีใด จะได้ประโยชน์มากครับ)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น